ริตสึเรียว

ริตสึเรียว (ญี่ปุ่น: 律令) เป็นระบบกฎหมายโบราณของญี่ปุ่นซึ่งอิงปรัชญาลัทธิขงจื๊อและนิตินิยมแบบจีน ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายอาญา เรียกว่า "ริตสึ" (律) และประมวลกฎหมายปกครอง เรียกว่า "เรียว" (令)ปลายยุคอาซูกะ (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึง ค.ศ. 710) และยุคนาระ (ค.ศ. 710–794) ราชสำนักเคียวโตะพยายามจะจำลองระบบการเมืองที่เข้มงวดแบบจีนจากราชวงศ์ถังมาโดยการตราและบังคับใช้ประมวลกฎหมายริตสึเรียวหลายชุด การปฏิรูปไทกะเมื่อ ค.ศ. 645 เป็นสัญญาณแรก ๆ ของการทำให้ระบบริตสึเรียวนี้เกิดผล[1] รัฐแบบริตสึเรียวผลิตข้อมูลมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมีการเก็บบันทึกไว้อย่างดีในช่วงหลายร้อยปี แต่ครั้นเวลาผ่านไป จนในยุคเฮอัง (ค.ศ. 794–1185) สถาบันแบบรึตสึเรียวได้กลายเป็นระบบการเมืองและวัฒนธรรมที่ไร้เสียงสะท้อน (feedback) อีกต่อไป[2] ประมวลกฎหมายแบบริตสึเรียวฉบับสุดท้าย คือ โยโรริตสึเรียว ซึ่งเมื่อมีการปฏิรูปเมจิเมื่อ ค.ศ. 1868 ก็ยังใช้บังคับอยู่กฎหมายริตสึเรียวชุดหลัก ๆ ได้แก่[3]

ใกล้เคียง