ร่างรัฐบัญญัติชนโลกบาล

ร่างรัฐบัญญัติชนโลกบาล (อังกฤษ: Jan Lokpal Bill) หรือชื่อเต็มว่า ร่างรัฐบัญญัติเพื่อจัดให้มีการก่อตั้งสถาบันโลกบาลสำหรับสอบสวนข้อกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตและสำหรับการทั้งหลายที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องดังกล่าว (Bill to provide for the establishment of the institution of Lokpal to inquire into allegations of corruption against certain public functionaries and for matters connected therewith)[1] หรือ ร่างรัฐบัญญัติผู้ตรวจการแผ่นดินของพลเมือง (Citizen's Ombudsman Bill) เป็นร่างกฎหมายที่นักกิจกรรมประชาสังคมกลุ่มหนึ่งจัดทำขึ้น เพื่อให้มีการก่อตั้ง "ชนโลกบาล" หรือหน่วยงานอิสระสำหรับสืบคดีทุจริตขึ้น[2]ร่างรัฐบัญญัตินี้มุ่งหมายจะยับยั้งการทุจริต ทดแทนความเสียหายของพลเมือง และคุ้มครอง "ผู้แฉ" (whistle-blower) การทุจริต โดยให้มี "ชนโลกบาล" ขึ้นมาทำหน้าที่ดังกล่าว คำว่า "ชนโลกบาล" นั้น L. M. Singhvi สมาชิกรัฐสภา บัญญัติขึ้นระหว่างการอภิปรายใน ค.ศ. 1963 และคำว่า "ชน" ในชื่อดังกล่าว หมายความถึง หมู่ชน ซึ่งสื่อว่า พัฒนาการที่นำมาสู่ร่างรัฐบัญญัติฉบับนี้เป็นการริเริ่มของ "พลเมืองทั่วไป" ผ่านประชาพิจารณ์ที่มีนักกิจกรรมคอยผลักดันและปราศจากส่วนร่วมของภาครัฐ[3]ใน พ.ศ. 2554 นักเคลื่อนไหวทางสังคม อันนา ฮาซาเร เริ่มขบวนการสัตยาเคราะห์โดยเริ่มการอดอาหารไม่จำกัดเวลาในกรุงนิวเดลี เพื่อเรียกร้องให้ผ่านร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ขบวนการนี้ได้รับความสนใจจากสื่อ และผู้สนับสนุนนับหลายแสนคน[4] หลังการอดอาหารประท้วงเป็นเวลาสี่วันของฮาซาเร นายกรัฐมนตรีอินเดีย มานโมฮัน ซิงห์ ระบุว่า ร่างกฎหมายจะถูกนำเข้าสู่การพิจารณาในสมัยประชุมฤดูมรสุม พ.ศ. 2554 ของรัฐสภา[5] คณะกรรมการอันประกอบด้วยรัฐมนตรีห้าคนและนักเคลื่อนไหวทางสังคมอีกห้าคนพยายามร่างร่างกฎหมายประนีประนอม โดยรวมร่างกฎหมายสองฉบับเข้าด้วยกัน แต่ไม่สำเร็จ รัฐบาลอินเดียเดินหน้าเสนอร่างกฎหมายที่ตนร่างขึ้นในรัฐสภา ซึ่งนักเคลื่อนไหวปฏิเสธบนเหตุผลที่ว่า ร่างกฎหมายนั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ[6]

ใกล้เคียง

ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ ร่างรัฐบัญญัติงานวิจัย ร่างรัฐบัญญัติชนโลกบาล ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ร่างรัฐบัญญัติคุ้มครองไอพี ร่างรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนญี่ปุ่น ร่างกายมนุษย์ ร่างทรง (ภาพยนตร์) ร่างแหเอนโดพลาซึม