ลักษณะ ของ ร้านต้มยำ

อาหารไทยมีความแตกต่างจากอาหารพื้นเมืองมาเลเซียซึ่งเป็นอาหารทำสำเร็จและเย็น ส่วนอาหารไทยนั้นปรุงใหม่และตามความต้องการของลูกค้า จึงทำให้กลายเป็นที่นิยมของคนเชื้อสายมลายูสัญชาติมาเลเซีย

ร้านอาหารมุสลิมในประเทศไทยจะเสิร์ฟอาหารมุสลิมซึ่งมักจะไม่เสิร์ฟอาหารไทย ขณะที่ร้านอาหารต้มยำในมาเลเซียจะเสิร์ฟอาหารไทยฮาลาล นอกจากนั้นร้านอาหารต้มยำยังเสิร์ฟอาหารมาเลเซียด้วย เช่น นาซีเลอมัก และนาซีจัมปูร์ เป็นต้น ร้านอาหารมาเลเซียจะมีคนนิยมมาใช้บริการในช่วงอาหารเช้าและกลางวัน ขณะที่ร้านอาหารต้มยำจะได้รับความนิยมในช่วงอาหารเย็น[1] เวลามาทำร้านก็จะเริ่มตั้งแต่สี่โมงเย็นจนถึงตีหนึ่งหรือตีสาม ลูกค้าร้านต้มยำจะเป็นครอบครัวใหญ่ พาพ่อแม่ลูกหลานมานั่งทานอาหาร

ร้านต้มยำส่วนใหญ่อยู่ในรัฐที่เจริญทางเศรษฐกิจ เช่น ทางฝั่งตะวันตกมากกว่าทางฝั่งตะวันออกที่ยังคงเป็นชนบทอยู่มาก[8]

แรงงานในร้านต้มยำสงวนไว้กับคนไทยเชื้อสายมลายู พ่อครัวที่แรงงานชาติอื่นไม่สามารถปรุงอาหารไทยได้รสชาติเหมือนคนไทย และเมื่อเป็นร้านอาหารฮาลาลซึ่งบริการแก่คนมาเลเซียมุสลิม คนครัวก็ควรเป็นมุสลิม ทำให้คนไทยมุสลิมย้ายถิ่นฐานมาทำงานที่ร้านอาหารต้มยำจำนวนมาก โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ทำให้เศรษฐกิจท้องถิ่นไม่ดี แต่การเข้าเมืองก็มักไม่มีใบอนุญาตทำงาน รวมถึงการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย[4] หากเจ้าของกิจการเป็นคนมาเลเซีย อาจได้รับค่าจ้างสูง มีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าร้านที่มีเจ้าของเป็นคนไทย และมักจะได้รับความช่วยเหลือในเรื่องข่าวสารการจับกุมของเจ้าหน้าที่ทางการ แต่หากเจ้าของกิจการเป็นคนไทย เมื่อมีการจับกุมจะเป็นผู้ที่มีความผิดทั้งสองฝ่าย[9]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ร้านต้มยำ https://thematter.co/social/tom-yum-kung-thai-work... https://pataninotes.com/tomyam-pertama/ https://www.thaiscience.info/journals/Article/TKJS... https://www.isranews.org/article/south-news/south-... https://lek-prapai.org/home/view.php?id=146 https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjou... https://wbns.oas.psu.ac.th/shownews.php?news_id=45... https://siamrath.co.th/n/409931 https://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/278472/825...