พายุ ของ ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก_พ.ศ._2558

พายุโซนร้อนอันนา

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา8 – 11 พฤษภาคม
ความรุนแรง60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
998 mbar (hPa; 29.47 inHg)
  • วันที่ 6 พฤษภาคม พื้นผิวอากาศต่ำกำลังอ่อนมีความสัมพันธ์กับร่องอากาศกว้างระดับบน ซึ่งเป็นพื้นที่ฝนตกไม่เป็นระเบียบและมีพายุฝนฟ้าคะนองขยายไปทั่วทั้งรัฐฟลอริดา, เกาะบาฮามาส และพื้นทะเลที่อยู่ติดกัน[1]
  • วันที่ 8 พฤษภาคม มีการหมุนเวียนลมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใกล้กับศูนย์กลางของพื้นที่ความแปรปรวนของอากาศ และเวลา 03:00 UTC (หรือ 10:00 น. ตามเวลาในไทย) ระบบได้มีกำลังเพียงพอ และมีการประกาศเกี่ยวกับพายุกึ่งโซนร้อนอันนา[2] ท่ามกลางน้ำอุ่นและกระแสน้ำในอ่าวและความหนาวเย็นที่ผิดปกติในอากาศระดับบน[3] อันนา จึงมีความรุนแรงไปถึงจุดสูงสุดที่ความเร็วลม 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (60 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในช่วงปลายของวัน[4]
  • วันที่ 9 พฤษภาคม ระบบได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนเขตร้อนอย่างเต็มรูปแบบ[5] ต่อมาอันนามีกำลังลดลง จากกระแสน้ำเย็นและอากาศที่แห้ง[6]
  • วันที่ 10 พฤษภาคม เวลา 10:00 UTC (17:00 น. ตามเวลาไทย) ระบบได้เคลื่อนตัวไปทางเหนือ และขึ้นฝั่งที่ไมร์เทิลบีช, เซาท์แคโรไลนา ด้วยความเร็วลม 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (45 ไมล์ต่อชั่วโมง)[7] และอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา อันนา มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือกึ่งเหนืออย่างต่อเนื่อง พร้อมกับอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[8]

ระหว่างเขตแดนของรัฐนอร์ทและเซาท์แคโรไลนา อันนา ได้ทำให้มีปริมาณน้ำฝนสะสมอยู่ในระดับปานกลาง มากสุดที่ 6.7 นิ้ว (170 มิลลิเมตร) ในคิงส์ตัน, นอร์ทแคโรไลนา[9] เกิดน้ำท่วมในถนนขนาดเล็กในเมืองและเกิดการการกัดเซาะชายฝั่งชายหาดของทั้งสองรัฐที่ประมาณ 0.61-1.22 เมตร (2-4 ฟุต)[10][11] ซึ่งพลังลมจากพายุโซนร้อนถูกจำกัดอยู่ในพื้นที่ชายทะเล ด้วยความเร็วลมกระโชก 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (62 ไมล์ต่อชั่วโมง) จากการสังเกตการณ์ที่เซาท์พอร์ท, นอร์ทแคโรไลนา[12] และเมื่อพายุขึ้นฝั่ง มันกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่เก่าแก่ที่สุดที่ถูกบันทึกว่าโจมตีสหรัฐอเมริกา

พายุโซนร้อนบิลล์

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา16 – 21 มิถุนายน
ความรุนแรง70 ไมล์/ชม. (110 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
997 mbar (hPa; 29.44 inHg)

พายุโซนร้อนคลอเดตต์

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา13 – 15 กรกฎาคม
ความรุนแรง50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)

ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม แนวร่องคลื่นสั้นได้ฝังตัวอยู่ในลมตะวันตกที่พัดผ่านสหรัฐอเมริกา

  • วันที่ 12 กรกฎาคม ระบบได้พัฒนาอยู่เหนือมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับเอาเทอร์แบงค์ ใน นอร์ทแคโรไลนา ไม่นานนักพื้นผิวต่ำก็ก่อตัวขึ้น
  • วันที่ 13 กรกฎาคม ภายในกระแสน้ำอุ่นกัฟสตรีม เกิดการพาความร้อนขึ้นอย่างกระทันหัน และส่งผลให้ในเวลา 06:00 UTC ได้เกิดพายุดีเปรสชันเขตร้อนขึ้น ห่างจากเคปแฮทต์ราสไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือกึ่งตะวันออก ที่ระยะ 255 ไมล์ (410 กิโลเมตร) หกชั่วโมงต่อมา พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและได้รับชื่อว่า คลอเดตต์ การพัฒนาขึ้นอย่างฉับพลันของพายุหมุนเขตร้อนถูกคาดการณ์ไว้อย่างไม่ดี[13] และคลอเดตต์ไม่ได้รับการดำเนินงานในขณะที่เป็นพายุโซนร้อน[14] ระบบได้ฝังตัวอยู่ภายในกระแสลมตะวันตกเฉียงใต้ก่อนแนวร่องละติจูดกลาง โดยทั่วไปพายุเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คลอเดตต์มีกำลังแรงสูงสุดในช่วงเวลาประมาณ 18:00 UTC ด้วยความเร็วลม 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) และความกดอากาศต่ำสุด 1003 มิลลิบาร์ (hPa, 29.62 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 14 กรกฎาคม ลมเฉือนที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ระบบอ่อนกำลังลง โดยสูญเสียการพาความร้อนที่ศูนย์กลาง
  • วันที่ 15 กรกฎาคม เวลา 00:00 UTC ระบบอ่อนกำลังลงไปจนเป็นเศษเล็กเศษน้อย และถูกดูดซึมเข้าสู่แนวหน้าปะทะอากาศ ทางใต้ของเกาะนิวฟันด์แลนด์[13] สภาพอากาศที่ปกคลุมไปด้วยหมอกและความชื้นในอากาศซึ่งเป็นผลจากแรงของคลอเดตต์ ส่งผลให้มีการยกเลิกเที่ยวบินและเกิดความล่าช้าในการเดินทางข้ามฝั่งในอีสเทิร์นนิวฟันด์แลนด์[15]

พายุเฮอริเคนแดนนี

พายุเฮอริเคนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา18 – 24 สิงหาคม
ความรุนแรง115 ไมล์/ชม. (185 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
974 mbar (hPa; 28.76 inHg)

พายุโซนร้อนเอริกา

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา25 – 29 สิงหาคม
ความรุนแรง50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
1003 mbar (hPa; 29.62 inHg)

พายุเฮอริเคนเฟรด

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา30 สิงหาคม – 6 กันยายน
ความรุนแรง85 ไมล์/ชม. (140 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
986 mbar (hPa; 29.12 inHg)
  • วันที่ 27 สิงหาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ (NHC) ได้เริ่มติดตามคลื่นลมในเขตร้อนทางตะวันตกของแอฟริกา[16]
  • วันที่ 30 สิงหาคม ฝนตกและพายุฝนฟ้าคะนองได้มีความรุนแรงขึ้นในพื้นที่ของความกดอากาศต่ำและเคลื่อนตัวเข้าสู่แอตแลนติกตะวันออก[17] และในที่สุดได้นำไปสู่การก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน เมื่อเวลา 05:30 UTC[18] ต่อมาพายุดีเปรสชันเขตร้อนหก ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนเฟรด ต่อมาเฟรดได้ทวีกำลังแรงขึ้นไปอีก เป็นพายุเฮอริเคน และมีการเตือนภัยสำหรับกาบูเวร์ดี

พายุโซนร้อนเกรซ

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา5 – 9 กันยายน
ความรุนแรง50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
1002 mbar (hPa; 29.59 inHg)

พายุโซนร้อนเฮนรี

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา9 – 11 กันยายน
ความรุนแรง40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
1008 mbar (hPa; 29.77 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนเก้า

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา16 – 19 กันยายน
ความรุนแรง35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
1006 mbar (hPa; 29.71 inHg)

พายุโซนร้อนไอดา

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา18 – 27 กันยายน
ความรุนแรง50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
1003 mbar (hPa; 29.62 inHg)

พายุเฮอริเคนวาคีน

พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา28 กันยายน – 8 ตุลาคม
ความรุนแรง155 ไมล์/ชม. (250 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
931 mbar (hPa; 27.49 inHg)

พายุโซนร้อนเคต

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา9 – 12 พฤศจิกายน
ความรุนแรง75 ไมล์/ชม. (120 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
983 mbar (hPa; 29.03 inHg)

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก_พ.ศ._2558 http://www.cbc.ca/news/canada/newfoundland-labrado... http://www.wbtw.com/story/29003823/forecasters-pos... http://www.wect.com/story/29031022/ana-causes-dama... http://www.nhc.noaa.gov http://www.nhc.noaa.gov/archive/2015/al01/al012015... http://www.nhc.noaa.gov/archive/2015/al01/al012015... http://www.nhc.noaa.gov/archive/2015/al01/al012015... http://www.nhc.noaa.gov/archive/2015/al01/al012015... http://www.nhc.noaa.gov/archive/2015/al01/al012015... http://www.nhc.noaa.gov/archive/2015/al01/al012015...