ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้_พ.ศ._2561–2562
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้_พ.ศ._2561–2562

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้_พ.ศ._2561–2562

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2561–2562 เป็นฤดูกาลในอดีตของวัฏจักรรายปีของการก่อตัวพายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อน ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลสร้างความเสียหายสูงที่สุดและยังเป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมากที่สุดในแอ่งฯ นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกสถิติในปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา รวมถึงยังเป็นฤดูที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากฤดูกาล พ.ศ. 2434–2435 ซึ่งเป็นปีที่เกิดเหตุการณ์พายุไซโคลนในมอริเชียส พ.ศ. 2435 สร้างความเสียหายเป็นอย่างมากต่อเกาะมอริเชียส[1] โดยฤดูกาลเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 และไปสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายน 2562 โดยมีข้อยกเว้นสำหรับมอริเชียสและเซเชลส์ ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 วันที่เหล่านี้เป็นช่วงเวลาตามธรรมเนียมนิยมซึ่งเป็นช่วงจำกัดของแต่ละปี ซึ่งมีพายุหมุนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนก่อตัวภายในแอ่ง ภายในทางตะวันตกของเส้น 90 °ตะวันออก และทางใต้ของเส้นศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนในแอ่งนี้จะได้รับการเฝ้าระวังโดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคในเรอูนียงพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกของฤดูกาลนี้คือพายุโซนร้อนกำลังปานกลางไม่มีชื่อ ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศมาดากัสการ์เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561 เป็นเวลาสองเดือนก่อนที่ฤดูกาลอย่างเป็นทางการจะเริ่มต้นขึ้น ในเดือนพฤศจิกายนมีพายุหมุนเขตร้อนจำนวนสองลูก ได้แก่ พายุไซโคลนรุนแรงอัลซีด์ ซึ่งก่อตัวขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน และพายุโซนร้อนกำลังแรงบูชรา เดือนธันวาคมมีพายุหมุนเขตร้อนจำนวนสองลูก มีความรุนแรงสูงสุดเป็นพายุไซโคลนรุนแรงทั้งสองลูก ได้แก่ ซีลีดา และ เกอนางา โดยพายุไซโคลนรุนแรงเกอนางาเคลื่อนตัวข้ามมาจากภูมิภาคออสเตรเลีย ส่วนชื่อ เกอนางา เป็นชื่อที่ตัวพายุได้รับมาจากศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนจาการ์ตา เดือนมกราคมมีพายุหมุนเขตร้อนจำนวนสองลูก มีความรุนแรงสูงสุดเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลางทั้งสองลูก ได้แก่ เดสมอนด์ และ เอเกตแซง ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมมีพายุหมุนเขตร้อนจำนวนสี่ลูก มีความรุนแรงสูงสุดเป็นพายุไซโคลนรุนแรงทั้งสี่ลูก ได้แก่ ฟูนานี, เจเลนา, ฮาเลฮ์ และ อิดาอี ต่อมา ซะแวนนาห์ ได้เคลื่อนตัวข้ามมาจากแอ่งภูมิภาคออสเตรเลียอีกหนึ่งลูก และกลายเป็นพายุไซโคลนรุนแรงลูกที่สองของเดือนมีนาคม ในบรรดาพายุเหล่านี้ ยกเว้น ฮาเลฮ์ และ ซะแวนนาห์ ล้วนมีผลกระทบต่อแผ่นดินทั้งสิ้น ซึ่งพายุอิดาอีทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 1,007 คนในประเทศโมซัมบิก ประเทศมาลาวี และประเทศมาดากัสการ์[2][3] ฤดูกาลนี้สร้างสถิติใหม่ของจำนวนพายุไซโคลนรุนแรง โดยมีจำนวนของพายุไซโคลนรุนแรงมากที่สุดนับตั้งแต่ยุคที่มีดาวเทียมครอบคลุมใน พ.ศ. 2510

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้_พ.ศ._2561–2562

พายุไซโคลนเขตร้อน 11 ลูก (สถิติสูงที่สุด)
• ความกดอากาศต่ำที่สุด 934 hPa (มิลลิบาร์)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด ทั้งหมด 1,086 คน
(สถิติสูงสุดอันดับสองในแอ่งฯ)
พายุโซนร้อนทั้งหมด 15 ลูก (สถิติสูงที่สุด)
• ลมแรงสูงสุด 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความแปรปรวนทั้งหมด 15 ลูก
ชื่อ เคนเนท
พายุไซโคลนรุนแรงมาก ไม่มี
พายุไซโคลนรุนแรง 10 ลูก (สถิติสูงที่สุด)
ความเสียหายทั้งหมด ≥ 3.201 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2019)
(สถิติความเสียหายสูงที่สุดในแอ่งฯ)
พายุดีเปรสชันทั้งหมด 15 ลูก
ระบบแรกก่อตัว 13 กันยายน พ.ศ. 2561
ระบบสุดท้ายสลายตัว 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558 ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2561 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้_พ.ศ._2561–2562 http://www.bom.gov.au/wa/forecasts/nwcyclone.shtml http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr...