พายุ ของ ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้_พ.ศ._2561–2562

พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง 01

พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง (MFR)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา13 – 17 กันยายน
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)
  • วันที่ 13 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน (หรือพายุโซนร้อนตามมาตรา SSHWS) ก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของดีเอโกการ์ซีอา[4] ระบบมีเส้นทางเดินไปทางตะวันตกเฉียงใต้ค่อนใต้ การจัดระบบในพายุเป็นไปอย่างช้า ๆ เนื่องจากน้ำทะเลมีอุณหภูมิ 26 ถึง 27 องศาและลมเฉือนกำลังปานกลาง[5]
  • วันที่ 16 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนเริ่มอ่อนกำลังลง หลังจากที่ระบบเผชิญหน้ากับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย
  • วันที่ 17 กันยายน เมเตโอ-ฟร็องส์ และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมต่างออกประกาศฉบับสุดท้ายกับพายุ และพายุได้สลายตัวไปในที่สุด[6]

ในการวิเคราะห์หลังพายุ (Post-storm analysis) ระบบพายุได้ถูกปรับเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง แต่ไม่มีการตั้งชื่อให้กับพายุลูกนี้[7]

พายุไซโคลนรุนแรงอัลซีด์

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา5 – 11 พฤศจิกายน
ความรุนแรง165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
965 mbar (hPa; 28.5 inHg)
  • วันที่ 6 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือเฉตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์[8] โดยระบบพายุเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงใต้เฉตะวันตกก่อนจะเบนทิศทางไปทางใต้
  • วันที่ 7 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง และได้รับชื่อ อัลซีด์ (Alcide)[9] ต่อมาในเวลา 06:00 UTC อัลซีด์ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน[10]
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน เวลา 06:00 UTC อัลซีด์ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนรุนแรง โดยมีความเร็วลมใน 10 นาทีต่อเนื่อง 90 นอต (165 กม./ชม.)[11] และอ่อนกำลังลงเป็นพายุไซโคลนในอีก 6 ชั่วโมงต่อมา เนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่เย็นขึ้นและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมน้อยลง[12] อัลซีด์จึงอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง และเริ่มมีวังวนแอนไทไซโคลนขึ้นทางตะวันออกของปลายสุดด้านเหนือของมาดากัสการ์
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน อัลซีด์อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลางในเวลา 12:00 UTC[13]
  • วันที่ 11 พฤศจิกายน ระบบพายุทรุดลงอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นพายุจึงกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในเวลา 00:00 UTC และสลายตัวไปในที่สุด[14][15]

พายุโซนร้อนกำลังแรงบูชรา

พายุโซนร้อนกำลังแรง (MFR)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา9 – 19 พฤศจิกายน
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
990 mbar (hPa; 29.23 inHg)

พายุไซโคลนรุนแรงเกอนางา

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา16 (เข้ามาในแอ่ง) – 22 ธันวาคม
ความรุนแรง185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
942 mbar (hPa; 27.82 inHg)
  • วันที่ 14 ธันวาคม ความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะสุมาตรา ภายในภูมิภาคออสเตรเลีย จากนั้นมันทวีกำลังแรงขึ้น และได้รับชื่อว่า เกอนางา (Kenanga) โดยระบบมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
  • วันที่ 16 ธันวาคม เกอนางาเคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่งมหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้
  • วันที่ 19 ธันวาคม เกอนางานทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง

พายุไซโคลนรุนแรงซีลีดา

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา16 – 24 ธันวาคม
ความรุนแรง215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
940 mbar (hPa; 27.76 inHg)

พายุโซนร้อนกำลังปานกลางเดสมอนด์

พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง (MFR)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา17 – 22 มกราคม
ความรุนแรง65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
995 mbar (hPa; 29.38 inHg)

พายุโซนร้อนกำลังปานกลางเอเกตแซง

พายุโซนร้อนกำลังปานกลาง (MFR)
ระยะเวลา22 – 24 มกราคม
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
993 mbar (hPa; 29.32 inHg)

พายุไซโคลนรุนแรงฟูนานี

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา3 – 10 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
940 mbar (hPa; 27.76 inHg)

พายุไซโคลนรุนแรงเจเลนา

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา4 – 14 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
942 mbar (hPa; 27.82 inHg)

พายุไซโคลนรุนแรงฮาเลฮ์

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา28 กุมภาพันธ์ – 7 มีนาคม
ความรุนแรง175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
945 mbar (hPa; 27.91 inHg)

พายุไซโคลนรุนแรงอิดาอี

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา4 – 16 มีนาคม
ความรุนแรง195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
940 mbar (hPa; 27.76 inHg)
  • วันที่ 4 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันตกของชายฝั่งประเทศโมซัมบิก หลังจากนั้นพายุดีเปรสชันได้เคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางตะวันออกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ และขึ้นฝั่งที่ประเทศโมซัมบิกในเวลาต่อมา
  • วันที่ 6 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 11 ได้รับการเตือนการพัฒนาของพายุหมุนเขตร้อนระดับสีเหลืองจากศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม
  • วันที่ 7 มีนาคม พายุเคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางตะวันตกเฉียงใต้เฉตะวันตก และคงลักษณะความเป็นพายุเขตร้อนตลอดเวลาที่อยู่บนแผ่นดิน
  • วันที่ 8 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 11 อ่อนกำลังลง และเคลื่อนตัวเลี้ยวกลับไปทางตะวันออก
  • วันที่ 9 มีนาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลบริเวณช่องแคบโมซัมบิก และเริ่มการจัดระบบขึ้น ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ระบุว่าพายุมีแนวโน้มอย่างสูงท่จะพัฒนาขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน และต่อมาระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง และได้รับชื่อว่า อิดาอี (Idai)
  • วันที่ 10 มีนาคม อิดาอีเริ่มทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีความรุนแรงเป็นพายุไซโคลนเขตร้อนใกล้กับเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งระบบได้เรื่มเคลื่อนตัวเลี้ยวกลับไปทางตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง และจากนั้นจึงเปลี่ยนทิศทางไปทางตะวันตกเฉียงใต้
  • วันที่ 11 มีนาคม อิดาอีทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนรุนแรงลูกที่เจ็ดของฤดูกาล และมีกำลังสูงสุดเป็นพายุไซโคลนรุนแรงระดับ 3
  • วันที่ 12 มีนาคม อิดาอีอ่อนกำลังลงเนื่องจากระบบเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา
  • วันที่ 13 มีนาคม อิดาอีเริ่มเร่งเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก

เมื่อครั้งเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน อิดาอีส่งผลกระทบกับประเทศมาลาวีและประเทศโมซัมบิก ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 56 ราย และได้รับบาดเจ็บอีก 577 คน จากเหตุอุทกภัยในประเทศมาลาวี มีผู้ได้รับผลกระทบจากพายุประมาณ 83,000 คน ตอนใต้ของจังหวัดจิกวาวาและจังหวัดนซันเจถูกตัดขาดเนื่องจากอุทกภัย[16] ในประเทศโมซัมบิกมีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัย 66 ราย และมีประชาชนได้รับผลกระทบ 141,000 คน สภารัฐมนตรีโมซัมบิกได้ร้องขอเงินจำนวน 1.1 พันล้านเมติคัล (17.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อนำมาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย[17]

พายุไซโคลนรุนแรงซะแวนนาห์

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา17 (เข้ามาในแอ่ง) – 19 มีนาคม
ความรุนแรง165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
962 mbar (hPa; 28.41 inHg)

พายุไซโคลนรุนแรงจัวนินฮา

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา18 – 30 มีนาคม
ความรุนแรง185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
939 mbar (hPa; 27.73 inHg)

พายุไซโคลนรุนแรงเคนเนท

พายุไซโคลนเขตร้อนรุนแรง (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา21 – 29 เมษายน
ความรุนแรง215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
934 mbar (hPa; 27.58 inHg)
  • วันที่ 21 เมษายน เมเตโอ-ฟร็องส์ (MFR) เริ่มออกคำแนะนำกับการแปรปรวนของอากาศเขตร้อน 14 ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมาดากัสการ์ จากนั้นระบบได้เลี้ยวไปทางตะวันตก
  • วันที่ 23 เมษายน ตอนต้นวันระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ต่อมาในเวลา 12.00 UTC พายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นอีกเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง และได้รับชื่อว่า เคนเนท (Kenneth) กลายเป็นพายุโซนร้อนลูกที่สิบสี่ของฤดูกาล
  • วันที่ 24 เมษายน เคนเนททวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน เคนเนทมีการจัดระบบขึ้นอย่างรวดเร็วขณะกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งโมซัมบิก โดยมีกำลังเป็นถึงพายุหมุนเขตร้อนระดับ 3 ได้ภายในเวลาหนึ่งชั่วโมง และคาดว่าเคนเนทจะพัดเข้าประเทศโมซัมบิกภายในวันดังกล่าวนี้ด้วย และจะนำมาซึ่งอุทกภัยและวาตภัยในประเทศโมซัมบิก ซึ่งในเดือนที่ผ่านมาพื้นที่ดังกล่าวเพิ่งถูกโจมตีโดยพายุไซโคลนอิดาอีไป ทำให้เกิดความกังวลว่าวิกฤติด้านมนุษยธรรมที่กำลังเกิดขึ้นอยู่จะเลวร้ายลงไปอีกเนื่องจากพายุ[18][19]
  • วันที่ 25 เมษายน เคนเนทมีกำลังสูงสุด เทียบเท่ากับพายุหมุนเขตร้อนระดับ 4 ขณะใกล้พัดขึ้นฝั่งประเทศโมซัมบิก อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นเคนเนทได้เข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตาและเริ่มอ่อนกำลังลงก่อนที่จะพัดขึ้นฝั่ง ต่อมาในเวลา 18.15 UTC เคนเนทพัดขึ้นฝั่งที่ทางเหนือของเมืองเปมบา ประเทศโมซัมบิกในฐานะเทียบเท่าพายุหมุนเขตร้อนระดับ 4 โดยมีความเร็วลมเฉลี่ยสูงสุดใน 1 นาทีที่ 220 กม./ชม.[18] การพัดขึ้นฝั่งนี้ทำให้เคนเนทกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงมากที่สุดที่พัดขึ้นฝั่งประเทศโมซัมบิก[20] การขึ้นฝั่งของเคนเนทยังเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ของประเทศโมซัมบิก ที่มีพายุหมุนเขตร้อนพัดขึ้นฝั่งถึงสองลูกในฤดูการเดียวกัน[21] เคนเนทอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเมื่อพัดขึ้นฝั่งแล้ว ถึงแม้ว่าลักษณะพื้นที่ราบทางตอนเหนือของประเทศโมซัมบิกค่อนข้างเอื้ออำนวยกับพายุก็ตาม ความเร็วลมสูงสุดใน 10 นาทีของพายุลดลงจาก 205 กม./ชม. เหนือ 65 กม./ชม. ภายในสิบชั่วโมงหลังจากขึ้นฝั่งแล้ว และอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน[22]
  • วันที่ 26 เมษายน เคนเนทอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะเคลื่อนที่ลงไปทางใต้
  • วันที่ 27 เมษายน เคนเนทเริ่มเคลื่อนที่เลี้ยวไปทางเหนือ และทำให้มีพายุฟ้าคะนองเกิดขึ้นนอกชายฝั่งประเทศโมซัมบิก[23]

เคนเนททำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสิบสองคน ในจำนวนนั้นเจ็ดคนอยู่ในเกาะคอโมโรส[24] และอย่างน้อยห้าคนในประเทศโมซัมบิก[25] ในประเทศโมซัมบิก เคนเนททำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขว้างในเมืองเปมบา โดยมีไฟฟ้าดับอย่างกว้างขวางและต้นไม้หักโค่นจำนวนมาก[26]

พายุไซโคลนโลร์นา

พายุไซโคลนเขตร้อน (MFR)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา21 เมษายน – 1 พฤษภาคม
ความรุนแรง150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
964 mbar (hPa; 28.47 inHg)
  • วันที่ 21 เมษายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 15 ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของมัลดีฟส์ ระบบเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนจะเคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางตะวันออกเฉียงใต้เฉใต้
  • วันที่ 23 เมษายน ระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง และได้รับชื่อว่า โลร์นา (Lorna) ทำให้ฤดูกาล 2561–2562 กลายเป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมากที่สุดในแอ่งฯ ในยุคดาวเทียม
  • วันที่ 24 เมษายน โลร์นาเปลี่ยนทิศทางไปทางตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้งในขณะที่พายุกำลังจัดระบบอย่างต่อเนื่อง
  • วันที่ 25 เมษายน โลร์นาทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับความกดอากาศต่ำเขตร้อนขนาดเล็กกว่าทางตะวันออกในแอ่งภูมิภาคออสเตรเลีย ก่อนจะดูดกลืนระบบนั้นเข้าไปในวันรุ่งขึ้น[27][28]
  • วันที่ 26 เมษายน โลร์นาเลี้ยวไปทางใต้

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2564 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้_พ.ศ._2561–2562 http://www.bom.gov.au/wa/forecasts/nwcyclone.shtml http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr...