ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2557
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2557

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2557

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2557 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2557 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เป็นฤดูกาลที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย มีพายุโซนร้อนทั้งหมด 23 ลูก ในจำนวนนี้พัฒนาเป็นพายุไต้ฝุ่น 11 ลูก และมี 8 ลูกที่เป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น ช่วงสูงสุดของฤดูกาลคือเดือนสิงหาคมและกันยายน มีกิจกรรมขนาดเล็กเกิดขึ้นเนื่องจากการมีกำลังแรงอย่างผิดปกติ และระยะการลดลงอย่างติดต่อกันของความผิดปกติแมดเดน–จูเลียน (MJO) พายุที่ได้รับชื่อเป็นชื่อแรกของฤดูกาลนี้คือ พายุโซนร้อนเหล่งเหล่ง ก่อตัวเมื่อวัน 18 มกราคม ส่วนพายุลูกสุดท้ายที่ได้รับชื่อคือ พายุโซนร้อนชังมี สลายตัวในวันที่ 1 มกราคมของปีถัดไปฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุ จำนวนผู้เสียชีวิต และความเสียหายน้อยกว่าฤดูกาลที่แล้ว แต่ก็มีพายุไต้ฝุ่นทรงพลังที่เป็นที่มีความโดดเด่นเกิดขึ้น โดยเป็นฤดูที่พบพายุหลายลูกที่ทวีกำลังแรงจนถึงระดับ 5 ตามมาตราแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน (ได้แก่ นอกูรี, รามสูร, หะลอง, เจนิวีฟ, หว่องฟ้ง, นูรี และ ฮากูปิต รวมเจ็ดลูก) นับตั้งแต่ พ.ศ. 2540 พายุไต้ฝุ่นรามสูรเป็นพายุหนึ่งในสามลูก ที่สามารถเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 ได้ภายในทะเลจีนใต้ โดยอีกสองลูกคือ พายุไต้ฝุ่นแพเมลาในปี พ.ศ. 2497 และพายุไต้ฝุ่นเมอรันตีในปี พ.ศ. 2559 โดยพายุไต้ฝุ่นรามสูรทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 คน และสร้างความเสียหายมากกว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในประเทศจีนและประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนพายุเจนิวีฟ เป็นระบบพายุที่มีช่วงชีวิตยาวนานที่สุดระบบหนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542[1]ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2557

• ความกดอากาศต่ำที่สุด 900 hPa (มิลลิบาร์)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 576 คน
พายุโซนร้อนทั้งหมด 23 ลูก
• ลมแรงสูงสุด 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
พายุไต้ฝุ่น 11 ลูก
ชื่อ หว่องฟ้ง
ความเสียหายทั้งหมด 8.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2014)
พายุดีเปรสชันทั้งหมด 32 ลูก
ระบบแรกก่อตัว 10 มกราคม พ.ศ. 2557
ระบบสุดท้ายสลายตัว 1 มกราคม พ.ศ. 2558
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น 8 ลูก (ไม่เป็นทางการ)

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2543 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2557 http://www.smh.com.au/world/typhoon-halong-leaves-... http://www.abc.net.au/news/2014-10-12/japan-braces... http://www.artemis.bm/blog/2014/07/22/typhoon-matm... http://www.artemis.bm/blog/2014/08/12/typhoon-halo... http://english.cntv.cn/2014/07/18/VIDE140567807921... http://www.chinadaily.com.cn/china/2014-06/15/cont... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.abs-cbnnews.com/focus/07/15/14/watch-ty... http://www.abs-cbnnews.com/nation/regions/06/10/14...