ภาพรวมฤดูกาล ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2563

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
     พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)     พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)
     พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)     พายุไต้ฝุ่น (≥118 กม./ชม.)

ช่วงต้นถึงกลางปี พ.ศ. 2563 เป็นช่วงที่กิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนสงบเป็นอย่างมาก ไม่มีการก่อตัวขึ้นของพายุหมุนเขตร้อนใดเลยในเดือนมกราคมถึงเมษายน เป็นครั้งแรกนับแต่ฤดูกาลปี 2559 วันที่ 10 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกแรกของฤดูกาลได้ก่อตัวขึ้น ทำให้ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่เริ่มช้าที่สุดเป็นอันดับที่หก นับตั้งแต่ฤดูกาล 2559 สองวันต่อมาระบบดังกล่าวทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนลูกแรกของฤดูกาล ได้รับชื่อว่า หว่องฟ้ง จากนั้นได้ทวีกำลังแรงขึ้นอีกเป็นพายุไต้ฝุ่น และได้พัดเข้าถล่มในภาคกลางของประเทศฟิลิปปินส์ในวันที่ 14 พฤษภาคม และนับเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่พัดขึ้นฝั่งในเมืองซานโปลิการ์โป ซามารตะวันออก และได้เคลื่อนตัวข้ามและขึ้นฝั่งมากกว่า 4 เกาะจากนั้นจึงพัดเข้าเกาะลูซอน

หลังจากหว่องฟ้งผ่านไปแล้ว นับเป็นเวลาอีกเกือบเดือนที่ไม่มีกิจกรรมพายุหมุนเขตร้อน จนในวันที่ 10 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกใหม่ก่อตัวขึ้นบริเวณชายฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ โดยพายุดีเปรสชันดังกล่าวได้พัดเข้าประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเข้าสู่ทะเลฟิลิปปินตะวันตก พายุดังกล่าวได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ชื่อว่า นูรี โดยพายุโซนร้อนนูรีไปสลายตัวบริเวณเหนือแผ่นดินประเทศจีน หลังจากนั้น แอ่งก็กลับมาสงบเงียบอีกครั้ง และนับเป็นครั้งแรกเลยที่ไม่มีพายุก่อตัวขึ้นในเดือนกรกฎาคม นับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติที่เชื่อถือได้มาก ต่อมากิจกรรมของแอ่งแปซิฟิกตะวันตกเพิ่มขึ้นมาบ้างจากการก่อตัวของพายุโซนร้อนซินลากู และการก่อตัวของพายุฮากูปิตเป็นพายุไต้ฝุ่น ซึ่งทำให้ช่วงเดือนที่ไม่มีพายุไต้ฝุ่นมาเป็นเวลากว่า 2 เดือนสิ้นสุดลง โดยพายุฮากูปิตส่งผลกระทบต่อประเทศจีน สร้างความเสียหายไว้ทั้งสิ้น 441 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากนั้นพายุฮากูปิตได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนและส่งผลกระทบต่อประเทศเกาหลีเหนือและรัสเซีย ไม่กี่วันต่อมา พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกใหม่ก่อตัวขึ้น จากนั้นทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนชังมี ซึ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของชังมีนั้นยังมีหย่อมความกดอากาศกำลังแรงอีกลูก ที่ภายหลังได้ก่อตัวเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงเมขลา ซึ่งพัดเข้าสู่ประเทศจีนต่อมา ไม่กี่วันต่อมา มีพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ จากนั้นได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงฮีโกส นับเป็นพายุโซนร้อนลำดับที่ 7 ของฤดูกาล ไม่นานก่อนที่ฮีโกสจะสลายตัวไป มีพายุใหม่อีกลูกก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนบาหวี่ทางชายฝั่งประเทศไต้หวัน ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม พายุไต้ฝุ่นไมสักก่อตัวขึ้นพร้อม ๆ กับพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เฉิน ซึ่งส่งผลกระทบกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศญี่ปุ่นตามลำดับ

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2563 http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.nmc.cn/publish/typhoon/warning.html http://www.nmc.cn/publish/weatherperday/index.htm http://thoughtleadership.aon.com/documents/2020111... http://thoughtleadership.aonbenfield.com//Document... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200... http://www.sisa-news.com/news/article.html?no=1330... http://www.tropicalstormrisk.com/docs/TSRNWPForeca... http://www.tropicalstormrisk.com/docs/TSRNWPForeca...