ภูมิศาสตร์ ของ ลากูนาเดบัย

ลากูนาเดบัย เป็นแหล่งน้ำจืดตื้นขนาดใหญ่ใจกลางเกาะลูซอน มีพื้นที่รวมประมาณ 911 ตารางกิโลเมตร (352 ตารางไมล์) และแนวชายฝั่ง 220 กิโลเมตร (140 ไมล์)[2] ถือเป็นแหล่งน้ำบนบกที่ใหญ่เป็นอันดับสามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากโตนเลสาบในประเทศกัมพูชา และทะเลสาบโตบาในเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ลากูนาเดบัยล้อมรอบด้วยจังหวัดลากูนาทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงใต้ จังหวัดรีซัลทางทิศเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ และเมโทรมะนิลาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลสาบมีความลึกเฉลี่ย 2.8 เมตร (9 ฟุต 2 นิ้ว) และน้ำส่วนเกินจะถูกระบายออกทางแม่น้ำปาซิก[3][4]

ทะเลสาบได้รับน้ำจากลุ่มน้ำขนาด 45,000 ตารางกิโลเมตร (17,000 ตารางไมล์) และแม่น้ำสาขาใหญ่ 21 แห่ง ในจำนวนนี้คือ แม่น้ำปักซันจันซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้กับทะเลสาบ 35%, แม่น้ำซานตาครูซซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้กับทะเลสาบ 15% และแม่น้ำอื่น ๆ[2][5]

ส่วนตรงกลางของลากูนาเดบัยระหว่างภูเขาเซมบราโนและเกาะตาลิมคือแอ่งภูเขาไฟลากูนาที่เชื่อกันว่าเกิดจากการปะทุของภูเขาไฟครั้งใหญ่สองครั้ง เมื่อประมาณ 1 ล้านถึง 27,000–29,000 ปีก่อน ประวัติศาสตร์ภูเขาไฟสามารถเห็นได้จากการมีอยู่ของมาร์รอบพื้นที่[6][7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลากูนาเดบัย http://www.volcano.si.edu/world/volcano.cfm?vnum=2... http://rcse.edu.shiga-u.ac.jp/gov-pro/plan/2008lis... http://www.adb.org/documents/events/2006/NARBO/sec... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.denr.gov.ph https://web.archive.org/web/20061207022132/http://... https://web.archive.org/web/20180323222359/http://... https://www.openstreetmap.org/relation/79348 https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Laguna...