โตนเลสาบ
โตนเลสาบ

โตนเลสาบ

ทะเลสาบเขมร หรือ โตนเลสาบ (เขมร: បឹងទន្លេសាប บึงทนฺเลสาบ) เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ ประมาณ 7,500 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ประมาณ 7 เท่า ความลึกโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 10 เมตร และเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ทำให้โตนเลสาบขยายตัวออกกว้างมากถึง 6 เท่า[1] ทะเลสาบเขมรเกิดจากแม่น้ำโขง ซึ่งแม่น้ำโขงไหลผ่านมีความยาวถึง 500 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดของกัมพูชา ได้แก่ กำปงธม กำปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ เป็นทะเลสาบที่มีปลาน้ำจืดชุกชุมมากแห่งหนึ่งประมาณ 300 ชนิด จึงมีชาวกัมพูชาเป็นจำนวนมากที่ประกอบอาชีพประมงในบริเวณทะเลสาบแห่งนี้ทะเลสาบเขมรยังเป็นที่ที่ค้นพบหนึ่งในราชกกุธภัณฑ์ พระแสงขรรค์ชัยศรี อีกด้วย

โตนเลสาบ

พื้นน้ำ 2,700 km2 (1,000 sq mi) (ขั้นต่ำ)
16,000 km2 (6,200 sq mi) (ขั้นต่ำ)
แหล่งน้ำไหลเข้า แม่น้ำโตนเลสาบ, แม่น้ำเสียบเรียบ
พิกัดภูมิศาสตร์ 12°53′N 104°04′E / 12.883°N 104.067°E / 12.883; 104.067
ช่วงยาวที่สุด 250 km (160 mi) (ขั้นต่ำ)
ความลึกโดยเฉลี่ย 1 m (3.3 ft) (ขั้นต่ำ)
นิคม เมืองเสียมราฐ, เมืองพระตะบอง
แหล่งน้ำไหลออก แม่น้ำโตนเลสาบ
ช่วงกว้างที่สุด 100 km (62 mi) (ขั้นต่ำ)
ความสูงจากระดับน้ำทะเล 0.5 เมตร
ที่ตั้ง ตอนล่างของลุ่มแม่น้ำโขง
ชนิด ที่ราบลุ่มแม่น้ำ
ปริมาณน้ำ 80 km3 (19 cu mi) (ขั้นต่ำ)
ความลึกสูงสุด 10 m (33 ft)
ประเทศในลุ่มน้ำ กัมพูชา