หน้าที่ ของ ลำเส้นใยประสาทไขสันหลัง-ทาลามัส

ข้อมูลที่ส่งผ่าน STT จัดว่าเป็นแบบ affective sensation (ความรู้สึกประกอบด้วยอารมณ์)ซึ่งหมายความว่า ความรู้สึกจะประกอบด้วยแรงกดดัน/แรงจูงใจให้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งยกตัวอย่างเช่น ความคันจะประกอบด้วยความรู้สึกต้องการเกา และสิ่งเร้าที่ทำให้เจ็บจะทำให้ผงะถอยจากสิ่งเร้านั้น[ต้องการอ้างอิง]

มีการระบุระบบย่อย ๆ 2 ระบบ

  • ระบบตรง (direct เพื่อการรับรู้ความเจ็บปวดเหนือจิตสำนึก)
  • ระบบอ้อม (indirect เพื่อสร้างอารมณ์และความตื่นตัวที่ประกอบกับความรู้สึกเจ็บปวด) วิถีประสาทในระบบอ้อมรวมทั้ง
    • Spino-Reticulo-Thalamo-Cortical โดยเป็นส่วนของ ascending reticular arousal system (ARAS) เพื่อสร้างความตื่นตัว
    • Spino-Mesencephalic-Limbic เพื่อสร้างอารมณ์

Anterolateral system

ในระบบประสาท anterolateral system เป็นวิถีประสาทที่วิ่งขึ้นไปยังสมองและส่งข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บปวด[1]อุณหภูมิ สัมผัสหยาบ จากประสาทส่วนนอกไปยังสมองซึ่งมีวิถีประสาทหลัก ๆ 3 วิถี

วิถีประสาทหลัก ๆ ของ Anterolateral system
ชื่อ เป้าหมาย หน้าที่
spinothalamic tract (แบ่งเป็นส่วนข้าง [lateral] และส่วนหน้า [anterior]) ทาลามัส สำคัญต่อการกำหนดตำแหน่งในร่างกายซึ่งร้อนหรือเจ็บ
spinoreticular tract reticular formation ทำให้ตื่นตัวและคอยระมัดระวัง (alertness) โดยตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ทำให้เจ็บ
spinotectal tract เทคตัม เพื่อหันตาและศีรษะไปทางสิ่งเร้า

ใกล้เคียง

ลำเส้นใยประสาทไขสันหลัง-ทาลามัส ลำเส้นใยประสาทตา ลำเส้นใยประสาท ลำเส้นใยประสาทนอกพีระมิด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก ลำไส้เล็กอักเสบจากเชื้อโรตาไวรัส ลำไส้เล็กส่วนต้น ลำไส้ ลำไส้อักเสบชนิดเนื้อตาย