พยาธิสรีรวิทยา ของ ลำไส้เล็กอักเสบจากเชื้อโรตาไวรัส

ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล้กตรอนแสดงให้เห็นเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ที่ติดเชื้อโรตาไวรัส (ภาพบน) เทียบกับผนังลำไส้ปกติ (ภาพล่าง) เส้นทึบที่เห็นแสดงมาตรส่วนความยาว 500 นาโนเมตร

โรตาไวรัสนี้ทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ด้วยหลายกลไก การที่เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ถูกทำลายจะทำให้การดูดซึมสารอาหารบกพร่อง สารอาหารที่ไม่ถูกดูดซึมจึงผ่านลำไส้ออกมากลายเป็นอุจจาระร่วง สารพิษโปรตีนบนไวรัสชื่อ NSP4 จะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งคลอไรด์ผ่านไอออนแชนเนล (chloride channel) ทั้งชนิดอิงแคลเซียมไอออน (calcium ion-dependent) และชนิดอิงอายุ (age-dependent), ขัดขวางกระบวนการดูดน้ำกลับผนังลำไส้ที่อาศัยช่องทาง SGLT1 ทรานสพอร์เตอร์, ลดประสิทธิภาพของเอนไซม์ไดแซคคาไรเดสบนเยื่อขนแปรงของเซลล์ผนังลำไส้, และส่วนหนึ่งอาจเป็นจากการกระตุ้นรีเฟลกซ์การหลั่งสารน้ำของระบบประสาทส่วนลำไส้ ผ่านกลไกแบบอิงแคลเซียมไอออน[22] เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ที่ปกติจะหลั่งเอนไซม์แลคเตส เมื่อถูกทำลายจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการไม่ทนต่อน้ำตาลแลคโตสชั่วคราว ซึ่งเป็นอาการสำคัญที่โดดเด่นอย่างหนึ่งของการติดเชื้อโรตาไวรัส[23] ภาวะนี้อาจคงอยู่ได้หลายสัปดาห์ก่อนจะกลับมาเป็นปกติเมื่อเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เจริญกลับขึ้นมา[24] ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการดีขึ้นแล้วหากกินนมทั่วไปซึ่งมีน้ำตาลแลคโตสอาจมีอาการท้องร่วงได้เล็กน้อย เนื่องจากน้ำตาลแลคโตสที่รับเข้าไปหากไม่ถูกย่อยจนสมบูรณ์ด้วยเอนไซม์แลคเตสของร่างกาย จะถูกย่อยโดยแบคทีเรียผ่านกระบวนการหมัก[25]

ใกล้เคียง

ลำไส้ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก ลำไส้เล็กอักเสบจากเชื้อโรตาไวรัส ลำไส้เล็กส่วนต้น ลำไส้อักเสบชนิดเนื้อตาย ลำไส้เล็กส่วนปลาย ลำไส้เล็กส่วนกลาง ลำไส้ทะลุ ลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลำไส้เล็กอักเสบจากเชื้อโรตาไวรัส http://www.biomedcentral.com/1471-2458/7/281 http://www.diseasesdatabase.com/ddb11667.htm http://www.emedicine.com/emerg/topic401.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=008.... http://www.landesbioscience.com/journals/hv/abstra... http://www.landesbioscience.com/journals/hv/abstra... http://www.landesbioscience.com/journals/hv/abstra... http://meta.wkhealth.com/pt/pt-core/template-journ... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10532018 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11052397