ลูกเล่น ของ ลิเนียจโอเอส

เหมือนกับไซยาโนเจนมอดที่เป็นต้นตอ ลิเนียจโอเอสจะไม่มีซอฟต์แวร์ที่ไม่จำเป็นซึ่งผู้ผลิตโทรศัพท์หรือบริษัทโทรศัพท์มักจะติดตั้ง คือไม่มีซอฟต์แวร์ที่จัดว่าเป็น bloatware[33][19]

ชุมชน

ชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาลิเนียจโอเอสได้โดยหลายวิธีชุมชนใช้ Gerrit เพื่อทบทวนรหัสต้นฉบับสำหรับทั้งระบบปฏิบัติการและการออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน

มีวิกิที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการติดตั้ง การสนับสนุน การพัฒนา ซึ่งชุมชนช่วยทำได้ผ่าน Gerritยังมีแพลตฟอร์มช่วยพัฒนาอื่นๆ อีกเช่น Crowdin เพื่อบริหารเรื่องการแปล, GitLab เพื่อติดตามบั๊ก และหน้าสถิติ ซึ่งแสดงจำนวนการติดตั้งสำหรับผู้ใช้ที่ยินยอมให้ทำรายงานทางสถิติยังมีกลุ่มพุดคุยด้วย คือ กลุ่มไออาร์ซีที่ Libera.chat (#lineageos) และกลุ่มเรดดิต (r/lineageos)[34]

สมาชิกชุมชนได้ใช้ฟอรัม XDA Developers เริ่มแต่ตั้งต้นแม้การแจกจำหน่ายรุ่นทางการจะไม่สนับสนุนอุปกรณ์หลายชนิด แต่สมาชิกชุมชนก็ได้พัฒนา ROM รุ่นที่ไม่เป็นทางการ ทำให้ใช้ลิเนียจโอเอสกับอุปกรณ์เก่าๆ ได้รุ่นไม่เป็นทางการเหล่านี้อาจมีซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ใช้ระบบได้ดีขึ้น แม้รุ่นที่เป็นทางการอาจจะไม่มีซอฟต์แวร์เช่นนั้นแต่ก็อาจมีบั๊กหรือปัญหาความปลอดภัยซึ่งรุ่นที่เป็นทางการไม่มี[ต้องการอ้างอิง]

ในเดือนสิงหาคม 2017 โปรเจ็กต์ได้สำรวจผู้ใช้[35]คือขอความเห็นว่าควรจะปรับปรุงการพัฒนาได้อย่างไร แล้วก็ได้ตีพิมพ์ผลสำรวจนั้น[36]ต่อมาในเดือนตุลาคม ก็ระบุว่าได้ใช้ผลเพื่อปรับปรุงระบบรุ่นต่อมาในเดือนสิงหาคม 2018 ก็ได้ทำการสำรวจเช่นนั้นอีก[37]

ผลการสำรวจแรกอย่างหนึ่งก็คือ ลิเนียจโอเอสได้เริ่มสร้างบล็อกที่มีชื่อว่า "LineageOS Engineering Blog" ที่ผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการสามารถเขียนบทความเรื่องข้อมูลทางเทคนิคขั้นสูงสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ของแอนดรอยด์[38]

ลิเนียจโอเอสยังโพสต์รีวิวที่เรียกว่า "regularly irregular review"[39]ในบล็อกเพื่อแจ้งว่ากำลังพัฒนาลูกเล่นอะไร

แอป

ลิเนียจโอเอสมาพร้อมกับแอปโอเพนซอร์ซและเสรีดังนี้

  • Aperture - แอปกล้อง ซึ่งใช้คลังซอฟต์แวร์ของกูเกิลคือ CameraX เป็นแอปแทนที่แอปกล้องดั้งเดิมคือ Snap และ Camera2 เริ่มตั้งแต่รุ่น 20
  • AudioFX - แอปปรับเสียงที่มีค่าตั้งสำเร็จรูปต่างๆ เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การฟัง
  • Browser - เว็บบราวเซอร์ที่ใช้ทรัพยากรน้อย (lightweight) และใช้คลังซอฟต์แวร์ของระบบคือ WebView มีเป้าหมายให้ใช้ดีในอุปกรณ์ราคาถูก เป็นซอฟต์แวร์ที่มีอีกชื่อหนึ่งคือ Jelly
  • Calculator - เป็นเครื่องคิดเลขแบบบวกลบคูณหาร โดยยังมีฟังก์ชันที่ซับซ้อนกว่าอื่นๆ อีก
  • Calendar - ปฏิทินที่แสดงหน้าวัน หน้าสัปดาห์ เดือน ปี หรือระเบียบวาระ (Agenda) โดยสืบมาจาก Etar เริ่มตั้งแต่รุ่น 17.1
  • Clock - นาฬิกาโลก นาฬิกานับถอยหลัง นาฬิกาจับเวลา และนาฬิกาปลุก
  • Contacts - สมุดที่อยู่เบอร์โทรศัพท์และอีเมล
  • Files - เป็นตัวจัดการไฟล์ง่ายๆ ที่สามารถย้าย ก๊อป และเปลี่ยนชื่อไฟล์ในที่เก็บไฟล์ภายในหรือเอสดีการ์ด
  • FlipFlap - แอปสำหรับตั้งค่าหรือทำกิจเกี่ยวกับฝาปิดสมาร์ทโฟน โดยใช้ได้กับอุปกรณ์บางอย่างเท่านั้น
  • FM Radio - แอปฟังวิทยุเอฟเอ็ม
  • Gallery - แอปจัดระเบียบรูปภาพและวิดีโอตามเวลาหรือตามอัลบัมเพื่อให้ดูได้ง่ายๆ
  • Messaging - แอปรับส่งข้อความเอ็มเอ็มเอส/เอสเอ็มเอส
  • Music - แอปเล่นเพลงง่ายๆ โดยมีอีกชื่อหนึ่งว่า Eleven
  • Phone - แอปโทรศัพท์ มีปุ่มเบอร์โทรลัด การหาเบอร์โทรศัพท์ และตัวบล็อกเบอร์โทร์
  • Recorder - แอปอัดเสียง โดยก่อนรุ่น 18.1 ก็ยังสามารถอัดคลิปจอได้ด้วย
  • SeedVault - แอปสำรองข้อมูลอุปกรณ์ที่เข้ารหัสลับและไม่อาศัยคลาวด์ของกูเกิล
  • Trebuchet - ตัวเปิดแอป (launcher) ที่สามารถแต่งค่าต่างๆ ได้

แม้จะไม่ได้ตั้งมากับลิเนียจโอเอสเพราะปัญหาทางกฎหมาย[40]ผู้ใช้ก็ยังสามารถแฟลชแอปกูเกิลต่างๆ รวมทั้ง กูเกิล เพลย์ ด้วยไฟล์ชนิดซิป ซึ่งจะเรียกว่า gapps เมื่อกำลังติดตั้งลิเนียจโอเอส

การใช้ลิเนียจโอเอสหรือ custom ROM อื่นๆ ปกติจะมีผลข้างเคียงต่อเอพีไอที่แอปกูเกิลใช้คือ SafetyNet API[41]เพราะผู้พัฒนาแอปสามารถเลือกค่าในคอนโซลผู้พัฒนาเพื่อซ่อนแอปของตนในกูเกิลเพลย์ถ้าระบบไม่ผ่านการทดสอบของ SafetyNet หรือแอปอาจเช็คสถานะของ SafetyNet แล้วไม่ให้ใช้ลูกเล่นบางอย่าง ตัวอย่างก็คือ Netflix ซึ่งไม่ให้ใช้ในทั้งกูเกิลเพลย์ และกูเกิลเพย์ เพราะเช็คสถานะของ SafetyNet ทุกครั้งที่ใช้ดังนั้น อุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการเยี่ยงนี้จะมีแอปให้เลือกใช้น้อยกว่า ถึงกระนั้น ผู้ใช้ก็ยังสามารถติดตั้ง Magisk และมอดูลอื่นๆ เพื่อปิดบังสถานะของบูตโหลดเดอร์ แล้วติดตั้งแอปต่างๆ ได้เช่น Netflix[42]

การปรับความชอบส่วนตัว

ลิเนียจโอเอสมีลูกเล่นหลายอย่างที่แอนดรอยด์ (Android Open Source Project, AOSP) อาจไม่มีรวมทั้ง

  • การปรับปุ่มกดหน้าจอ - การตั้งตำแหน่งปุ่มกดหน้าจอ หรือการเพิ่มปุ่มกดหน้าจอแม้กับอุปกรณ์ที่มีปุ่มที่ตัวเครื่อง[43]
  • ปุ่มตั้งค่าเร็วพิเศษ เช่น ค่า "Caffeine" เพื่อป้องกันอุปกรณ์ไม่ให้นอนหลับ, การเปิดปิดข้อความแจ้ง, "Ambient Display" และ "ADB over network"
  • LiveDisplay - การปรับสี (temperature) หน้าจอตามเวลา
  • การปรับหน้าจอล็อก ซึ่งสามารถตั้งค่าต่างๆ หลายอย่าง รวมทั้งการตั้งภาพ ภาพวิ่งแสดงเสียงดนตรี และการเคาะจอสองครั้งให้เครื่องนอนหลับ
  • System Profiles - การเปิดหรือปิดค่าตั้งสามัญโดยขึ้นอยู่กับโปรไฟล์ที่เลือก (เช่น โปรไฟล์บ้าน หรือโปรไฟล์ที่ทำงาน) โปรไฟล์สามารถเปิดใช้ได้ด้วยมือหรือโดยตัวจุดชนวน (trigger) เช่น เมื่อต่อกับไวไฟระบบใดระบบหนึ่งโดยเฉพาะ หรือต่อกับอุปกรณ์บลูทูธ หรือการเลือกแท็ก NFC อันหนึ่ง
  • Custom pattern sizes - นอกจากจะใช้แป้นลากนิ้วเพื่อปลดล็อกขนาด 3x3 ของแอนดรอยด์ ยังสามารถตั้งให้เป็นขนาด 4x4, 5x5 หรือ 6x6 ได้อีกด้วย

ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว

  • PIN scramble - สำหรับผู้ใช้ที่ล็อกอุปกรณ์ด้วยรหัส PIN ปุ่มกดเลขสามารถตั้งให้เปลี่ยนตำแหน่งโดยสุ่มในแต่ละครั้งเพื่อไม่ให้คนอื่นแอบดูได้ง่ายๆ ว่าใช้รหัสอะไร
  • Privacy guard - ให้ผู้ใช้กำหนดอย่างละเอียดว่า จะให้สิทธิอะไรแก่แอปแต่ละอย่าง สำหรับสิทธิบางอย่าง อาจจะกำหนดได้ด้วยว่า ให้ขอสิทธิแต่ละครั้งที่ต้องใช้ โดยยังสามารถดูได้ด้วยว่าแอปขอสิทธิหนึ่งๆ บ่อยครั้งแค่ไหน แต่ลูกเล่นนี้ก็ได้เอาออกในรุ่น 17.1 โดยเปลี่ยนไปใช้ "permission controller" ที่เป็นลูกเล่นแฝงของ AOSP
  • Protected Apps - สามารถล็อกแอปต่างๆ อีกขั้นหนึ่งนอกเหนือจากการปลดล็อกอุปกรณ์ โดยจะทำงานร่วมกับ Trebuchet คือ ไอคอนของแอปที่ป้องกันจะไม่ปรากฏในตัวเปิดแอปโดยจะมีโฟล์เดอร์ของตนต่างหากๆ เป็น "secure folders" เพื่อให้สามารถเข้าถึงแอปที่ป้องกัน
  • สามารถตั้งเบอร์โทรบางเบอร์ให้ไม่ปรากฏในประวัติการโทรเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว[44]
  • Trust - เป็นแอปศูนย์กลางในการรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์และช่วยป้องกันความเป็นส่วนตัว[45]

ลูกเล่นสำหรับผู้พัฒนาและผู้ชำนาญ

สมาร์ทโฟน POCO X3 ที่ใช้ระบบปฏิบัติการลิเนียจโอเอส
  • LineageSDK - เป็นชุดเอพีไอสำหรับผู้พัฒนาแอป เพื่อให้แอปสามารถใช้ลูกเล่นโดยเฉพาะๆ ของระบบปฏิบัติการเช่น System Profiles, Styles และ Weather[46]
  • Lineage Recovery - แอปกู้ระบบที่สืบมาจาก AOSP
  • (เลือกได้) Root - ให้แอปทำงานโดยมีสิทธิระดับรูตได้ โดยต้องแฟลชที่ recovery ด้วยตัวเพิ่มรูตของลินเนียจโอเอส (ซึ่งใช้ได้จนถึงรุ่น 16.0[47]) หรือตัวเพิ่มรูตของ Magisk หรือ SuperSU
  • แอปอัดเสียงโทรศัพท์ โดยจะไม่มีในทุกประเทศเพราะขึ้นอยู่กับกฎหมาย

แอป Trust

แอป Trust เริ่มมีให้ใช้ตั้งแต่รุ่น 15.1 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2018[48]ในอุปกรณ์ที่สนับสนุน จะพบได้ใน Settings ใต้ตัวเลือก Security and Privacyโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้ "สามารถตรวจดูสถานะความปลอดภัย และดูคำอธิบายว่า ควรจะทำอย่างไรอุปกรณ์จึงจะปลอดภัย และข้อมูลจึงจะไม่เสียความเป็นส่วนตัว"

อนึ่ง เมื่อทำอะไรกับอุปกรณ์ก็ดี ไอคอน trust ก็จะปรากฏเพื่อให้เห็นว่า สิ่งที่กำลังทำนั้นปลอดภัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลิเนียจโอเอส https://www.gnu.org/distros/common-distros.html#Li... https://web.archive.org/web/20110424061731/http://... https://github.com/LineageOS/android_vendor_lineag... https://web.archive.org/web/20190402211151/https:/... https://github.com/LineageOS/ https://web.archive.org/web/20200130012302/https:/... https://arstechnica.com/information-technology/201... https://web.archive.org/web/20190709173459/https:/... https://gitlab.com/LineageOS https://web.archive.org/web/20200131225221/https:/...