ลิโกรอิน

90–140 °C (194–284 °F) ลิโกรอิน (อังกฤษ: ligroin) เป็นส่วนปิโตรเลียมที่ประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอน C7 และ C8 เป็นส่วนใหญ่ มีจุดเดือดระหว่าง 90–140 °ซ บางครั้งลิโกรอินเรียกว่าแนฟทาหนัก (heavy naphtha)[1][2] ใช้เป็นตัวทำละลายในห้องปฏิบัติการ บางครั้งผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชื่อลิโกรอินมีจุดเดือด 60‒80 °ซ และเรียกว่าแนฟทาเบา (light naphtha)[3] ลิโกรอินมีเลขทะเบียน CAS 8032-32-4 ร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นโดยเฉพาะที่มีจุดเดือดต่ำ เช่น ปิโตรเลียมสปิริต ปิโตรเลียมอีเทอร์ และปิโตรเลียมเบนซิน[3]ชื่อ ligroin (ligroine หรือ ligroïne) ปรากฏครั้งแรกในค.ศ. 1866[note 1] ลิโกรอินเป็นเชื้อเพลิงที่แบร์ทา เบ็นทซ์ใช้เติมเบ็นทซ์พาเท็นท์-โมทอร์วาเกิน รถยนต์คันแรกที่ประดิษฐ์โดยคาร์ล เบ็นทซ์ สามีของเธอ ขณะเดินทางไกลระหว่างเมืองมันไฮม์กับฟอทซ์ไฮม์ในค.ศ. 1888[4] ร้านขายยาในเมืองวีสล็อคที่เบ็นทซ์ซื้อลิโกรอินถือเป็นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงแห่งแรก[5] เครื่องยนต์ดีเซลเครื่องแรกทำงานโดยใช้ลิโกรอินเป็นเชื้อเพลิงได้[6]