การจำแนก ของ วงศ์เหี้ย

ปัจจุบันเหลือเพียงสกุลเดียว คือ Varanus (/วา-รา-นัส/-แบ่งออกได้เป็นสกุลย่อย ๆ อีก) พบแล้วกว่า 70 ชนิด พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย ไปจรดถึงโอเชียเนีย โดยมีขนาดใหญ่ที่สุด คือ มังกรโคโมโด (V. komodoensis) ที่ขึ้นชื่อเรื่องความดุร้าย และขนาดที่เมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 2-3 เมตร น้ำหนักกว่า 90 กิโลกรัม ซึ่งพบเฉพาะบนอุทยานแห่งชาติโคโมโด ในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น

สำหรับในประเทศไทย พบทั้งสิ้น 4 ชนิด ได้แก่[5]

  • ตะกวด (V. bengalensis) มีขนาดรองลงมา ไม่ชอบลงน้ำ
  • ตุ๊ดตู่ (V. dumerilii) มีขนาดเล็กที่สุด
  • เห่าช้าง (V. rudicollis) มีเกล็ดที่บริเวณหลังคอตะปุ่มตะป่ำ
  • เหี้ย (V. salvator) มีขนาดใหญ่ที่สุดและพบได้มากที่สุด ดำน้ำและว่ายน้ำได้เก่ง

นอกจากนี้แล้ว ในอดีตยังเคยพบว่ามีอีกชนิดหนึ่ง คือ ตะกวดเหลือง (V. flavescens) แต่ปัจจุบันไม่มีการพบมานานแล้ว ซึ่งพบมากในแถบอนุทวีปอินเดีย

สำหรับชนิดที่พบได้ในต่างประเทศ อาทิ

นอกจากนี้แล้ว ยังมีอยู่ชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เมกะลาเนีย (V. priscus) ที่มีความยาวกว่า 7.5 เมตร หนักถึงกว่า 2,000 กิโลกรัม เคยพบในทวีปออสเตรเลีย แต่ทว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปลายยุคน้ำแข็งราว 45,000-50,000 ปีก่อน[7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: วงศ์เหี้ย http://dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=3... http://www.kroobannok.com/blog/15161 http://www.cartage.org.lb/en/themes/sciences/paleo... http://www.komchadluek.net/detail/20090705/19404/%... http://www.monitor-lizards.net/ //doi.org/10.1017%2FS0016756810000580 //doi.org/10.1371%2Fjournal.pone.0041767 //doi.org/10.4202%2Fapp.2012.0025 http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?New... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Varani...