วรรณกรรมประจำชาติ ของ วรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในศตวรรษที่ 19 อิทธิพลจากตะวันตกเริ่มแผ่ขยายมายังภูมิภาคต่างๆ แทนที่วัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมจากระบอบจักรวรรดินิยม ส่งผลให้เริ่มมีการรณรงค์วรรณคดีที่มีค่านี้ มิให้สูญสลายไปตามกาลเวลาในหลายประเทศ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้แก่คนรุ่นหลังต่อไป ดังเช่น:

วรรณกรรมเวียดนาม

วรรณกรรมเวียดนาม ได้รับอิทธิพลทั้งทางวัฒนธรรมและภาษาจีน เคยมีการใช้อักษรจื๋อโนมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 และต่อมา ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการใช้อักษรโรมันแทนที่อักษรจีนในภาษาเวียดนาม

วรรณคดีไทย

วรรณคดีไทย, พม่า และกัมพูชา ต่างได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนานิกายเถรวาท รวมถึงอิทธิพลจากประเทศอินเดีย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ได้มีการประดิษฐ์ตัวอักษรและนำมาใช้ในงานวรรณกรรม โดยจากช่วงอดีตถึงปัจจุบัน องค์พระมหากษัตริย์, ราชวงศ์ และเจ้านายของไทย ต่างได้สร้างสรรค์ผลงานด้านวรรณศิลป์ไว้เป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกัน ประชาชนส่วนมากก็มีโอกาสรับรู้ถึงงานวรรณกรรมอย่างแพร่หลาย รวมถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ได้เริ่มมีผลงานที่สำคัญจากประเทศจีน ที่เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น และเริ่มมีการจัดแปลในรูปแบบบทร้อยแก้วในเวลาต่อมา