ประวัติ ของ วรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แต่เดิม เรื่องแต่งต่างๆ มักมาจากการดำรงชีวิต หรือการเอาชีวิตรอดของผู้คน เรื่องแต่งต่างๆเดิมยังไม่มีแบบแผนที่แน่นอน เมื่อสังคมเริ่มมีความเจริญก้าวหน้า กิจกรรมการเสพวรรณกรรมจึงเริ่มต้นขึ้น ทั้งในรูปแบบของนิทาน, นิทานพื้นบ้าน หรือเพลงพื้นบ้านต่างๆ

ต่อมา ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เริ่มรับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดียและจีน เนื่องด้วยอยู่ในภูมิภาคที่อยู่ระหว่างสองอารยธรรมดังกล่าว จึงได้นำวรรณคดีหลายเรื่องราวมาดัดแปลง ทั้งจากเรื่องที่เขียนในภาษาบาลี, ภาษาสันสกฤต และภาษาจีน โดยอาจนำเรื่องที่เป็นที่รู้จักของจีนและอินเดียมาแปล หรือปรับใหม่ โดยพระมหากษัตริย์, ขุนนาง หรือพระสงฆ์ ในสมัยนั้น

ปัจจุบันได้มีการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาว่าด้วยเรื่องวรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระดับอุดมศึกษาหลายแห่ง ตลอดจนมีการจัดหมวดหมู่ในห้องสมุดต่างๆ โดยใช้การจัดอยู่ในหมวด 895.9 ตามระบบทศนิยมของดิวอี้[2]