ลักษณะของเมือง ของ วอชิงตัน_ดี.ซี.

ดูเพิ่มได้ที่ รายชื่อถนนและทางหลวงในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.; รายชื่อเขตในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.; รายชื่อตึกที่มีความสูงที่สุดในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ผังเมืองวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งออกแบบโดยปีแอร์ ชารล์ส ลา เอนแฟนท์ สถาปนิกผู้ออกแบบผังเมือง โดยผังเมืองนี้ได้มีการแก้ไข เมื่อ พ.ศ. 2335 โดยแอนดรูว์ เอลลิคอร์ท

วอชิงตัน ดี.ซี. เป็นเมืองที่ได้วางแผนการก่อสร้างไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2334 โดยประธานาธิบดี จอร์จ วอชิงตัน ได้มอบหมายให้ปีแอร์ ชารล์ส ลา เอนแฟนท์ ซึ่งเป็นสถาปนิกและนักวางผังเมืองชาวฝรั่งเศส ทำการออกแบบเมืองหลวงแห่งใหม่ โดยได้รับความช่วยเหลือจากอเล็กซานเดอร์ ราล์สตัน นักสำรวจรังวัดชาวสกอตแลนด์ในการจัดวางผังเมือง[8] โดยผังเมืองของเอนแฟนท์ที่ได้ออกแบบไว้ มีความโดดเด่น คือ ถนนที่แผ่กระจายออกมาจากแนวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำให้มีภูมิทัศน์ที่มีพื้นที่เปิดโล่ง[9] ซึ่งผังเมืองของเขากลายเป็นต้นแบบในการออกแบบผังเมืองอื่น ๆ ในภายหลัง เช่น กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส, กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์, คาร์ลสรูเออ ประเทศเยอรมนี, และมิลาน ประเทศอิตาลี เป็นต้น[10] การออกแบบของลา เอนแฟนท์ยังแสดงให้เห็นว่าถนนใหญ่ได้เรียงรายไปด้วยสวนยาวประมาณ 1 ไมล์ (1.6 กม.) และยาว 400 ฟุต (120 เมตร) ในพื้นที่ที่เป็นลานคนเมือง ซึ่งต่อมาในเดื่อนมีนาคม พ.ศ. 2335 ประธานาธิบดีวอชิงตันได้ให้ลา เอนแฟนท์พ้นจากการเป็นสถาปนิกออกแบบผังเมือง เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกับคณะกรรมาธิการสามคนที่ได้รับการแต่งตั้งเพื่อกำกับดูแลการก่อสร้างเมืองหลวง และได้มอบหมายให้นายแอนดรูว์ เอลลิคอร์ท ผู้ซึ่งเคยร่วมงานในการออกแบบและสำรวจผังเมืองกับลา เอนแฟนท์ ดำเนินการออกแบบผังเมืองต่อ แม้ว่า เอนแฟนทจะทำการปรับปรุงแก้ไขผังเมืองบางส่วน แต่ยัคงการวางแนวของถนน และภาพรวมของผังเมืองส่วนใหญ่ที่ลา เอนแฟนท์ได้ออกแบบไว้คงเดิม[2]

อาคารอพาร์ทเมนท์คาริโอ ซึ่งมีความสูง 12 ชั้น ซึ่งได้ทำการก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2437 ได้กระตุ้นข้อจำกัดด้านความสูงของอาคารในเขตปกครองพิเศษ

ในช่วงต้นทศวรรษ 1900 การก่อสร้างอาคารในเมืองหลวงตามผังเมืองที่ลา เอนแฟนท์ ที่ได้วางไว้ ได้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เนื่องด้วยการสร้างอาคารแบบสุ่มรวม รวมไปถึงการสร้างสถานีรถไฟบนลานคนเมือง รัฐสภาจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อความสวยงามของวอชิงตันโดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อผังเมืองแมคมิแลน โดยมีการจัดสวนบริเวณอาคารรัฐสภาและลานคนเมือง และรื้อถอนชุมชนแออัดรวมถึงการจัดอุทยานเมืองใหม่ ซึ่งการปรับปรุงเมืองตามผังเมืองแมคมิแลน ได้สำเร็จใน พ.ศ. 2444 ซึ่งได้ออกแบบโดยลา เอนแฟนท์ และผังเมืองฉบับนี้ก็ได้ถูกเก็บรักษาอย่างดีจนถึงปัจจุบัน[11]

รัฐบัญญัติความสูงของอาคาร พ.ศ. 2453 กำหนดให้อาคารสามารถสูงกว่าความกว้างของถนนได้ไม่เกิน 20 ฟุต (6.1 เมตร)[12] แม้จะมีความเชื่อว่า สหรัฐอเมริกาไม่จำกัดความสูงของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง เช่น อนุสาวรีย์วอชิงตัน ที่มีความสูงถึง 559 ฟุต (6.1 เมตร)[13] ซึ่งยังคงเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสูงที่สุดในวอชิงตันเป็นอันดับที่ 2 ซึ่งมีนักวิชาการหลายแขนงที่ได้วิพากษ์วิจารณ์ข้อจำกัดด้านความสูงของอาคารเป็นเหตุผลว่าเหตุใดเขตปกครองจึงมีที่อยู่อาศัยที่มีความสูงเกินกำหนดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่เกิดปัญหาการจราจรเนื่องด้วยการสร้างอาคารที่พักอาศัยสูง จากการขยายเมือง[12]

วอชิงตัน มีอาณาเขตเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 16 กิโลเมตร โดยใจกลางของสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์วอชิงตัน ที่อยู่ระหว่างทำเนียบขาวและอาคารรัฐสภาสหรัฐ และได้ทำการแบ่งส่วนของเมืองเป็นสี่ส่วน ซึ่งแต่ละเขตจะมีเนื้อที่ไม่เท่ากัน ได้แก่ เขตนอร์ธเวสท์วอชิงตัน เขตนอร์ธอีสท์วอชิงตัน เขตเซาธ์อีสท์วอชิงตัน เขตเซาธ์เวสท์วอชิงตัน โดยมีแกนทั้งสี่ทิศอยู่ที่อาคารรัฐสภาสหรัฐ[14] ถนนทั้งหมดของเมืองจะตั้งอยู่ในรูปแบบตารางที่มีถนนตะวันออก-ตะวันตกที่มีชื่อเป็นตัวอักษร (เช่น C Street SW) ถนนทางตอนเหนือ-ใต้ที่มีตัวเลข (เช่นถนน 4th Street NW) และถนนในแนวทแยงซึ่งหลายแห่งตั้งชื่อตามรัฐต่างๆ (ดูเพิ่มได้ที่ รายชื่อถนนที่เป็นชื่อรัฐต่างๆ ในวอชิงตัน ดี.ซี.) [14]

สถาปัตยกรรม

ทำเนียบขาว เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมที่สถาบันสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งสหรัฐ ยกย่องว่าเป็นสถาปัตยกรรมยอดนิยมของสหรัฐเป็นอันดับที่ 2

สถาปัตยกรรมในกรุงวอชิงตัน ได้ติดอันดับถึง 6 ใน 10 ที่สถาบันสถาปนิกอเมริกันยกย่องว่าเป็นสถาปัตยกรรมยอดนิยมของสหรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2550[15] อันประกอบไปด้วย ทำเนียบขาว มหาวิหารแห่งชาติวอชิงตัน อนุสรณ์สถานเจฟเฟอร์สัน อาคารรัฐสภาสหรัฐ อนุสรณ์สถานลินคอล์น และ อนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเวียดนาม ในรูปแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก, จอร์เจีย, กอทิก และ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ รวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ซึ่งสร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส เช่น อาคารที่ทำการฝ่ายบริหารเก่า[16]

ทั้งนี้ บริเวณชานเมืองของวอชิงตัน มีสถาปัตยกรรมที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งในรูปแบบควีนแอนน์ แบบริชาร์ดโซเนียน แบบจอร์เจียน แบบวิจิตรศิลป์ แบบวิคตอเรีย เป็นต้น โดยเฉพาะรูปแบบวิคตอเรีย ที่พบเห็นมากในบริเวณที่พักอาศัย ภายหลังจากเหตุการณ์สงครามกลางเมือง[17] ซึ่งบริเวณจอร์จทาวน์ เป็นหนึ่งในบริเวณที่มีบ้านหินเก่าที่สร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2308 ทำให้กลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าที่สุดในจอร์จทาวน์[18] อาคารมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ซึ่งได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2332 มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่เป็นแบบโรมาเนสก์ผสมกับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก[16] อาคารโรนัลด์เรแกน เป็นอาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวอชิงตัน ด้วยเนื้อที่ 3.1 ล้านตารางฟุต (288,000 ตารางเมตร)[19]

แหล่งที่มา

WikiPedia: วอชิงตัน_ดี.ซี. http://archive.altweeklies.com/aan/Company?oid=oid... http://money.cnn.com/magazines/fortune/fortune500/... http://www.thisisinsider.com/most-visited-us-citie... http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/artic... http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/artic... http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/artic... http://factfinder.census.gov/servlet/SAFFPopulatio... http://www.census.gov/popest/metro/tables/2007/CBS... http://www.dc.gov/ http://www.nws.noaa.gov/climate/xmacis.php?wfo=lwx