สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์
สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์

สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์

สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ หรือ สถาปัตยกรรมโบซาร์[1] (อังกฤษ: Beaux-Arts architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูคลาสสิกแบบสถาบันที่สอนกันที่สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งกรุงปารีส (École des Beaux-Arts) ลักษณะของสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสานคำสอนที่ดำเนินมาเป็นเวลาสองร้อยห้าสิบปีภายในสถาบันต่างๆ ที่เริ่มด้วยราชสถาบันสถาปัตยกรรม ต่อมาหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศสก็ดำเนินโดนแผนกสถาปัตยกรรมของสถาบันวิจิตรศิลป์ การบริหารภายใต้การปกครองระบบโบราณด้านการแข่งขันกรองด์ปรีซ์เดอโรมสาขาสถาปัตยกรรมมีรางวัลให้แก่ผู้ได้รับในการไปศึกษาที่กรุงโรม ซึ่งก็ทำให้มีอิทธิพลต่อแนวคิดของลักษณะของสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 (ค.ศ. 1850-ค.ศ. 1870) และ ที่ 3ที่ตามมา ลักษณะของการสอนที่ทำให้เกิดสิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ดำเนินต่อมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1968[2]ลักษณะของสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์มีอิทธิพลเป็นอันมากต่อสถาปัตยกรรมอเมริกันระหว่างปี ค.ศ. 1880 ถึง ค.ศ. 1920[3] ส่วนลักษณะของสถาปัตยกรรมของประเทศในยุโรปอื่นๆ ระหว่างปี ค.ศ. 1860 ถึง ค.ศ. 1914 มีแนวโน้มที่มีลักษณะที่เป็นลักษณะประจำชาติของตนเองแทนที่มีอิทธิพลจากปารีส สถาปนิกอังกฤษของลักษณะอิมพีเรียลคลาสสิกที่เห็นได้จากงานการสร้างที่ทำการของรัฐบาลในนิวเดลีของเซอร์เอ็ดวิน ลูเต็นสก็มีลักษณะที่แยกออกไปจากสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ที่มีเหตุผลมากจากการเมืองทางด้านวัฒนธรรมของปลายคริสต์ศตวรรที่ 19

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี