ประเทศไทย ของ วัคซีนโควิด-19_ของโมเดอร์นา

ไทม์ไลน์ของวัคซีนโมเดอร์นาในประเทศไทย (2021)
วันที่ รายละเอียด
ปลายเดือน ก.พ. องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ติดต่อกับโมเดอร์นาสหรัฐโดยตรง เพื่อสั่งจองวัคซีน 5 ล้านโดสให้ได้กลางเดือน มิ.ย. โดยบริษัทได้ตอบว่า ส่งได้เร็วสุดในไตรมาสแรกของปี 2022[138]
ต้นเดือน เม.ย. อภ. ถามถึงผู้แทนจำหน่ายในประเทศ บริษัทระบุว่ากำลังเจรจากับบริษัทซิลลิคฟาร์มาเท่านั้น[138]
15 พ.ค. บริษัทซิลลิคฯ แถลงว่า จะจัดซื้อวัคซีนผ่านตัวแทนภาครัฐเท่านั้นโดยเป็นข้อกำหนดของผู้ผลิตวัคซีนในสถานการณ์ฉุกเฉิน[138]
30 มิ.ย. องค์การเภสัชกรรมจะขายวัคซีนให้ รพ. เอกชนโดสละ 1,100 บาท (ประมาณ 33 ดอลลาร์สหรัฐ)[upper-roman 1]
1 ก.ค. สมาคมโรงพยาบาลเอกชนกำหนดราคาให้บริการวัคซีนของ รพ. เอกชนอยู่ที่ 1,650 บาทต่อเข็ม (ประมาณ 49 ดอลลาร์สหรัฐ) หรือ 3,300 บาทต่อสองเข็ม ในอัตราเดียวกันทุกโรงพยาบาล[upper-roman 2]
2 ก.ค. ร่างสัญญาจัดหาสินค้าได้ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุด[140]
16-21 ก.ค. อภ. ทยอยลงนามซื้อขายวัคซีนกับ รพ. เอกชนโดย รพ. ต้องชำระค่าวัคซีนเต็มจำนวน[28]

สภากาชาดไทยเปิดให้ อบจ. จองวัคซีนเพื่อนำไปฉีดให้แก่กลุ่มประชาชนเปราะบาง 5 กลุ่มฟรี[28]

22 ก.ค. สภากาชาดไทยเซ็นสัญญาจัดซื้อวัคซีน 1 ล้านโดสผ่าน อภ. เพื่อนำฉีดให้แก่ประชาชนฟรี[141][142]
23 ก.ค. อภ. เซ็นสัญญาซื้อขายกับบริษัทซิลลิคฯ เพื่อวัคซีน 5 ล้านโดส[26]
ไตรมาส 4 (2021) -
ไตรมาส 1 (2022)
คาดว่า จะได้รับวัคซีน[27]
  1. รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าขนส่ง และค่าประกันภัยรายบุคคล[25]
  2. ราคาสุทธิรวมค่าวัคซีน ค่าบริการ และค่าประกันวัคซีนทั้งหมดแล้ว[139]

ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2021 คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนนี้ในประเทศไทย[22][23]รัฐบาลเบื้องต้นมุ่งหมายให้ใช้วัคซีนนี้เป็นวัคซีนทางเลือกซึ่งรัฐเองไม่ได้ฉีดให้แก่ประชาชนโดย รพ. เอกชนสามารถสั่งซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อนำไปกระจายฉีดให้แก่ประชาชน[24]รพ. เอกชนคาดว่า จะสามารถนำเข้าวัคซีนได้ภายในเดือนตุลาคม[143][144]สื่อรายงานว่า ต้นทุนของวัคซีนที่นำเข้าผ่าน อภ. จะอยู่ที่ 37-38 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,160-1,192 บาท) โดย รพ. จะให้บริการฉีดวัคซีน 2 โดสในราคาประมาณ 3,000-4,000 บาทซึ่งรวมค่าประกันผลข้างเคียง[145]

ในวันที่ 15 กรกฎาคม สภากาชาดไทยประกาศว่า จะจัดซื้อวัคซีน 1 ล้านโดสผ่าน อภ. เพื่อนำฉีดให้แก่ประชาชนฟรีสภากาชาดจะเปิดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ต่าง ๆ ส่งยอดจองวัคซีนโดย อบจ. ต้องสนับสนุนค่าวัคซีนโดสละ 1,300 บาท (ประมาณ 39 ดอลลาร์สหรัฐ) และสภากาชาดจัดทะยอยส่งวัคซีนให้เริ่มในเดือนตุลาคมส่วน อบจ. ต้องนำวัคซีนไปฉีดให้แก่บุคคลต่าง ๆ 5 กลุ่มฟรีรวมทั้ง[28]

  1. คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง หญิงตั้งครรภ์
  2. ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป
  3. บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลในถิ่นทุรกันดาร
  4. ผู้ที่ทำงานในศูนย์เด็กเล็ก ครู รร. อนุบาล ครู/อาจารย์
  5. บุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานสัมผัสประชาชน

ในวันที่ 23 กค. ต่อมา อภ. ลงนามสัญญาซื้อขายกับบริษัทซิลลิคฟาร์มาเพื่อนำเข้าวัคซีน 5 ล้านโดส ข่าวระบุว่า เพราะบริษัทโมเดอร์นามีข้อกำหนดว่าจะขายวัคซีนให้แก่หน่วยงานของรัฐเท่านั้น ดังนั้น อภ. จึงต้องเป็นผู้เซ็นสัญญา วัคซีนจะนำเข้าระหว่างไตรมาสที่ 4 ปี 2021 จนถึงไตรมาสที่ 1 ปีต่อไปโดยเป็นวัคซีนทางเลือก การเซ็นสัญญานี้เกิดหลังจากที่ รพ. เอกชนต่าง ๆ และสภากาชาดไทยได้ชำระเงินค่าวัคซีนอย่างครบถ้วนให้แก่ อภ. แล้วโดย อภ. ก็จะชำระเงินจำนวนนี้ให้แก่บริษัทซิลลิคฯ ต่อไป ในวัคซีนจำนวนนี้ 3.9 ล้านโดสจะส่งให้ รพ. เอกชน 277 แห่งทั่วประเทศ อีก 1.1 ล้านโดสที่เหลือจะส่งให้สภากาชาดไทย รพ. รามาธิบดี และ รพ. ศิริราช ประชาชนที่จองวัคซีนกับ รพ. เอกชนจะเสียค่าใช้จ่าย 1,500-1,700 บาทต่อเข็ม หรือ 3,000-3,400 บาสสำหรับสองโดส ส่วนของที่สภากาชาดไทยเป็นผู้จัดสรรนั้น ประชาชนจะได้รับวัคซีนฟรี[27]

ใกล้เคียง

วัคซีนโควิด-19 วัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทค วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนเชื้อลดฤทธิ์ วัคซีน วัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นา วัคซีนอาร์เอ็นเอ วัคซีนโควิด-19 สปุตนิกวี วัคซีนโควิด-19 BBIBP-CorV ของซิโนฟาร์ม วัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน