วัชราจารยะ
วัชราจารยะ

วัชราจารยะ

วัชราจารยะ หรือ พัชราจารยะ (อักษรโรมัน: Vajracharya, Bajracharya) เป็นปุโรหิตในคติศาสนาพุทธแบบเนวารซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของนิกายวัชรยาน ถือกำเนิดขึ้นหลังการเสื่อมโทรมของกฎเกณฑ์ที่พระสงฆ์ที่ถือพรหมจรรย์ และการก่อกำเนิดขึ้นของนิกายวัชรยาน[1] ชาวเนวารจะเรียกบรรพชิตนี้ว่า คุรุ-ชุ (Guru-ju) หรือ คุ-ภาชุ (Gu-bhāju) ที่ย่อจากมาจากคำว่า คุรุภาชุ (Guru Bhāju) ซึ่งคำว่า "คุรุ" เป็นคำสันสกฤตแปลว่า ครูหรือผู้สั่งสอน ทั้งนี้วัชราจารยะหรือพัชราจารยะถือเป็นวรรณะสูงสุดของชาวเนวารที่นับถือศาสนาพุทธ[2]ก่อนจะเป็นคุรุชุขั้นสูง คนวรรณะวัชราจารยะจะต้องผ่านพิธีกรรมหลายประการ หนุ่มวัชราจารยะจะต้องผ่านพิธีกรรมเบื้องต้นที่เรียกว่า "พัชรวิเศขะ" (Bajravishekha)[3] ต้องปลงผม บิณฑบาตอย่างน้อยเจ็ดวันในสถานที่ต่าง ๆ ตามอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในหนังสือ กำเนิดใหม่พุทธศาสนา : นิกายเถรวาทในเนปาลช่วงศตวรรษที่ 20 (Rebuilding Buddhism: The Theravada Movement in Twentieth-century Nepal) พบความสัมพันธ์ด้านวินัยสงฆ์ระหว่างชายสกุลวัชราจารยะกับสกุลศากยะ"ต่างจากวัชราจารยะ ชายศากยะจะไม่เป็นปุโรหิตสำหรับใคร ๆ แต่ผู้ชายวัชราจารยะจะเป็นสมาชิกในอารามศาสนาพุทธแบบเนวารที่เรียกอย่างสมเกียรติว่า 'วิหาร' และถูกเรียกขานว่า 'พหะ' (baha) หรือ 'พหี' (bahi) ตราบเท่าที่ชายศากยะและวัชราจารยะยังมีบทบาทในอาราม พวกเขาเป็นนักบวช แต่ในทางปฏิบัติแล้วพวกเขาสมรสและเป็นนักบวชแค่บางเวลาเท่านั้น"[4]ทั้งนี้นักวิชาการพุทธศาสนาสมัยใหม่ในเนปาลเป็นวัชราจารยะ[5]