การเปลี่ยนรูปของกำมะถัน ของ วัฏจักรกำมะถัน

  • sulfur oxidation เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของแบคทีเรียกลุ่มที่ออกซิไดส์กำมะถัน เช่น Thiobacillus, Metallogenium
    • Thiobacillus เป็นแบคทีเรียแกรมลบ ไม่สร้างสปอร์ รูปร่างเป็นแท่ง ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ด้วยแฟลกเจลลา จะออกซิไดส์กำมะถันจาก SH- จนเป็นซัลเฟต
    • Sulfolobus acidocaldarious เป็นแบบคทีเรียทนอุณหภูมิสูงและทนกรด สามารถออกซิไดส์ กำมะถัน ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ และ Fe2+ได้ พบในน้ำพุร้อนที่เป็นกรดทั่วโลก
    • Beggiatoa เป็นแบคทีเรียที่มีฟิลาเมนต์และมีก้อนกำมะถันภายในเซลล์ พบในบริเวณรากพืชที่เจิญในน้ำท่วมขัง เช่นนาข้าว แบคที่เรียกลุ่มนี้จะเปลี่ยนก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ที่เป็นพิษต่อพืชไปเป็นธาตุกำมะถัน
    • แบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงโดยใช้ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ มี 2 กลุ่มคือแบคทีเรียสีม่วงและแบคทีเรียสีเขียว แบคทีเรียสีเขียวพบในบริเวณที่มีความเข้มข้นของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ สูง (4-8 mM) ในขณะที่แบคทีเรียสีม่วงพบในบริเวณที่มีก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ปานกลาง ส่วนแบคทีเรียที่ไม่มีสีม่วงพบในบริเวณที่มีความเข้มข้นของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ต่ำ แบคทีเรียเหล่านี้จะทำงานร่วมกับแบคทีเรียที่รีดิวซ์กำมะถันในธรรมชาติ เจริญในสภาวะไร้ออกซิเจนเท่านั้น
  • sulfur reduction จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ใช้ซัลเฟตเป็นแหล่งของกำมะถันสำหรับการเติบโต การรีดิวซ์กำมะถันแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือการนำกำมะถันไปเป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต เช่น -SH ในโปรตีน และการเปลี่ยนซัลเฟตไปอยู่ในรูปก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ตัวอย่างเช่นแบคทีเรีย Desulfovibrio และ Desulfotomaculum
  • Mineralization เป็นการเปลี่ยนรูปกำมะถันในสารประกอบอินทรีย์ให้อยู่ในรูปอนินทรีย์ ปริมาณการเกิด Mineralization ของกำมะถันขึ้นกับอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนกับกำมะถัน เมื่ออัตราส่วนนี้น้อยกว่า 200 จะปล่อยกำมะถันเข้าสู่ดินในรูปซัลเฟต แต่ถ้ามากกว่า 400 จะมีการนำซัลเฟตออกจากดินด้วยกระบวนการตรึง
  • Volatilization คือการระเหยของกำมะถัน สารประกอบอินทรีย์ของกำมะถันที่ระเหยได้รวมทั้งก๊าซที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ เกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่เติบโตในสภาวะไร้ออกซิเจน