วัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของ วัฒนธรรมทางการเมือง

ในสังคมการเมืองที่เลือกเอาประชาธิปไตยมาเป็นรูปแบบในการปกครองสังคมการเมืองนั้น ซามูเอล ฮันทิงตันมองว่าสิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยนั้นซึมลึกไปสู่สมาชิกในสังคมการเมือง การศึกษาวิชาการพัฒนาการเมืองหากกล่าวในอีกภาษาหนึ่งจึงเป็นเรื่องของการศึกษาเพื่อการพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยในจิตสำนึกของสมาชิกของสังคมการเมือง และในขณะเดียวกันหากการพัฒนาการเมืองคือการสร้างสถาบันเพื่อสร้างการกล่อมเกลาทางสังคมและการเมืองให้สมาชิกในสังคมมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยแล้ว ซึ่งในภาวะความทันสมัยทางการเมือง (Political Modernization) จะสัมพันธ์กับการตื่นตัวและมีส่วนร่วมทางการเมือง ในกรณีดังกล่าวหากความต้องการที่จะแสดงออกถึงวัฒนธรรมการเมืองของสมาชิกในสังคมการเมืองมีสูง สังคมการเมืองก็ต้องเตรียมพร้อมยอมรับ เพราะหากมิเช่นนั้นสังคมการเมืองจะกลายเป็นผู้บีบเค้นสมาชิกในสังคมการเมืองเสียเอง และสุดท้ายจะนำไปสู่ลักษณะทางการเมืองที่ ฮันทิงตันเรียกว่า “ความผุผังทางการเมือง (political decay)” ในท้ายที่สุด[5]

จากคำกล่าวของฮันทิงตันจึงกล่าวในอีกภาษาหนึ่งได้ว่า “การตื่นตัว” และ “การมีส่วนร่วม” คือวัฒนธรรมทางการเมืองที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตย[6]