การจำแนกแผน ของ วัฒนธรรมบรรษัท

มีวิธีการหลายอย่างที่นำมาใช้เพื่อจำแนกวัฒนธรรมองค์การ ดังบางวิธีการข้างล่างนี้

กีร์ท ฮอฟสตีด (Geert Hofstede)

กีร์ท ฮอฟสตีด (Geert Hofstede)[2] ได้แสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มวัฒนธรรมทั้งในระดับชาติและระดับภาคที่มีผลต่อวัฒนธรรมขององค์การ ฮอฟสตีดได้ระบุมิติ 5 ประการของวัฒนธธรมดังกล่าวไว้ในการศึกษาว่าด้วยอิทธิพลของชาติดังนี้

  • ระยะของอำนาจ (Power distance) ระดับที่สังคมคาดหวังมีความแตกต่างในระดับของอำนาจ คะแนนที่สูงแสดงให้เห็นว่ามีความคาดหวังที่บุคคลบางคนใช้อำนาจมากกว่าบุคคลอื่น คะแนนที่ต่ำสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองที่ผู้คนเห็นว่าควรมีสิทธิ์เท่าๆ กัน
  • การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน (Uncertainty avoidance) สะท้อนให้เห็นความากน้อยที่สังคมหนึ่งๆ ยอมรับความเสี่ยงและความไม่แน่นอน
  • ปัจเจกนิยมกับคติรวมหมู่ (individualism vs. collectivism) ปัจเจกนิยม (individualism) ตรงข้ามกับคติรวมหมู่ (collectivism) และโยงถึงความมากน้อยที่ผู้คนคาดหวังที่จะยอมให้ได้สำหรับตนเอง หรือจะยอมเป็นส่วนขององค์การ อย่างไรก็ดี การวิจัยเมื่อเร็วนี้ได้แสดงให้เห็นว่าความเป็นปัจเจกนิยมอาจไม่ใช่ตัวการที่ทำให้คติรวมหมู่ลดน้อยลง หรือกลับกัน งานวิจัยระบุว่าแนวคิดทั้งสองนี้ จริงๆ แล้วมีความสัมพันธ์กัน บางคนและบางวัฒนธรรมมีทั้งความเป็นทั้งปัจเจกนิยมและคติรวมหมู่สูงทั้งคู่ เช่น บางคนที่มีค่านิยมในหน้าที่สูงต่อกลุ่มของตนไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องให้อิสรภาพส่วนบุคคลและความพอเพียงของตนเองลดน้อยลง
  • ความเป็นชาย กับ ความเป็นหญิง (Masculinity vs. femininity) หมายถึงคุณค่าที่ให้แก่ค่านิยมตามประเพณีของชายหรือหญิง ตัวอย่างเช่น ค่านิยมของชายรวมถึงการแข่งขัน การยืนยันที่หนักแน่น ความทะเยอทะยานและการสะสมเพื่อความมั่งคั่งและความเป็นวัตถุนิยม
  • การมองระยะยาว กับ การมองระยะสั้น อธิบายถึง"เส้นชั้นแห่งเวลา" หรือความสำคัญที่ผูกติดไว้กับอนาคต กับ ความสำคัญที่ผูกติดกับอดีต ในสังคมที่มองระยะยาว ความมัธยัสถ์และความวิริยอุตสาหะได้รับคุณค่าที่สูงกว่า สังคมที่มองระยะสั้น ความเคารพนับถือในประเพณีนิยมและการให้ของขวัญและความชอบส่วนตัวตอบแทนระหว่างกันจะได้รับคุณค่าที่สูงกว่า ประเทศทางตะวันออกมีแนวโน้มที่จะให้คะแนนด้านนี้สูงในขณะที่ประเทศตะวันตกให้คะแนนต่ำกว่าและประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าให้คะแนนต่ำกว่ามาก จีนให้คะแนนสูงที่สุด ในขณะที่ปากีสถานให้คะแนนต่ำสุด

ดีลและเคเนดี

ดีลและเคเนดี (Deal and Kennedy)[3] ให้นิยามวัฒนธรรมองค์การไว้ว่าเป็น วิธีที่ทำให้งานแล้วเสร็จ ณ ตรงนี้ ทั้งสองคนได้วัดองค์การในแง่ของ:

  • การป้อนกลับ
  • ความเสี่ยง
  • วัฒนธรรมชายผู้เข้มแข็ง
  • วัฒนธรรมทำงานหนัก/เล่นหนัก
  • วัฒธรรมกระบวนการ

ชาลส์ แฮนดี

ชาลส์ แฮนดี (Charles Handy)[4] เป็นผู้ทำให้วิธีการมองวัฒนธรรมที่นักวิชาการบางคนเคยใช้โยงถึงโครงสร้างองค์การกับวัฒนธรรมองค์การ

  • วัฒนธรรมอำนาจ
  • วัฒนธรรมบทบาท
  • วัฒนธรรมทำงาน
  • วัฒนธรรมบุคคล

เอดกา ชีน

เอดกา ชีน (Edgar Schein),[5] ศาสตราจารย์ของคณะการจัดการสโลนของสถาบันเทคโนโลยีแมสสาชูเสตส์ (MIT Sloan School of Management) ได้นิยามวัฒนธรรมองค์การไว้ว่าเป็น "สิ่งตกค้างแห่งความสำเร็จ" ภายในองค์การ ชีนเห็นว่าวัฒนธรรมเป็นลักษณะประจำขององค์การที่ยากที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นผลิตภัณฑ์ บริการ มีความเป็นผู้ก่อตั้งและผู้นำและลักษณะประจำอื่นๆ ขององค์การที่คงทนสุด แบบจำลององค์การของชีนจุดประกายการมองวัฒนธรรมในมุมมองของผู้สังเกตการณ์ ที่อธิบายระดับของปริชานของวัฒนธรรมองค์การออกเป็น 3 ระดับ...