ช่วงต้น ของ วัฒนธรรมหลงชาน

การขุดสำรวจในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 ในเทศมณฑลชาน ทางตะวันตกของมณฑลเหอหนาน ระบุว่าระยะ เหมียวตี่โกวช่วงหลัง (Miaodigou II) (3000 ถึง 2600 BC) เป็นการเปลี่ยนผ่านจากวัฒนธรรมหย่างเฉาก่อนหน้า สู่วัฒนธรรมหลงชานในมณฑลเหอหนาน นักโบราณคดีส่วนน้อยเสนอว่าระยะช่วงปลายของวัฒนธรรม Dawenkou ในมณฑลซานตงควรกำหนดให้เป็นวัฒนธรรมหย่างเฉาแทน แต่ส่วนใหญ่อธิบายว่าเป็นช่วงแรกของวัฒนธรรมหลงชาน นักวิชาการบางคนยืนยันว่าวัฒนธรรม Dawenkou ตอนปลายควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นช่วงเริ่มต้นของวัฒนธรรมหลงชาน

ในพื้นที่ระยะเหมียวตี่โกวช่วงหลังพบในมณฑลเหอหนานตอนกลางและตะวันตกมณฑลซานซีตอนใต้และหุบเขาแม่น้ำเว่ยในส่านซี [6] [9] เครื่องมือและเครื่องปั้นดินเผาที่พบในพื้นที่เหล่านี้ได้รับการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญจากวัฒนธรรมหย่างเฉาก่อนหน้านี้ การกสิกรรมทวีความเข้มข้นขึ้น(ของการใช้แรงงานและผลิตผล) และการบริโภคเนื้อสัตว์ (หมู สุนัข แกะ และ วัว) เพิ่มขึ้นอย่างมาก [9] ความคล้ายคลึงกันในรูปแบบเครื่องปั้นดินเผาของ วัฒนธรรมหย่างเฉาระยะเหมียวตี่โกวช่วงหลัง กับ วัฒนธรรม Dawenkou ช่วงปลาย ในมณฑลเหอหนานทางตะวันออก และ วัฒนธรรม Qujialing ตอนปลาย ในทางใต้ของมณฑลเหอหนาน บ่งบอกถึงการติดต่อทางการค้าระหว่างภูมิภาค [6] นอกจากนี้ยังมีการขยายจากแหล่งโบราณคดี Dawenkou ตอนกลางและตอนปลาย (3500-2600 ปีก่อนคริสตกาล) ไปยังมณฑลเหอหนานตอนกลางและตอนเหนือของมณฑลอานฮุยซึ่งตรงกับยุคของขยายทางทะเลสูงสุด [4]