อาคารและเสนาสนะ ของ วัดพระยืน_(จังหวัดลำพูน)

วิหาร เห็นเจดีย์ด้านหลัง

เจดีย์ศิลปะพุกาม คล้ายกับเจดีย์วัดสัพพัญญูในเมืองพุกาม สร้างยกพื้นลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ มีบันไดเดินขึ้นสู่ลานประทักษิณชั้นบนที่ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว และมีเจดีย์บริวารองค์เล็กอยู่ทั้ง 4 มุม ส่วนเรือนธาตุเป็นองค์ 4 เหลี่ยม มีซุ้มจรนำทั้ง 4 ด้าน ภายในประดิษฐานองค์พระพุทธรูปยืนสีทอง เหนือขึ้นไปเป็นมาลัยเถา 4 เหลี่ยม ซ้อน 3 ชั้น ยอดเป็นฉัตรสีทองอร่าม บันไดทางขึ้นลานประทักษิณด้านหนึ่ง มีการสร้างรูปปูนปั้นนูนต่ำรูปเสือประดับไว้

อาคารหลังเล็ก ๆใต้ร่มไม้เป็น หลักศิลาจารึกวัดพระยืน (หลักที่ 62) เป็นหินชนวนรูปใบเสมา ระบุปีชัดเจนว่าเป็นจุลศักราช 732 (พ.ศ. 1913) ใกล้ ๆ มีศาลาบาตร หรือ ศาลาเก้าห้อง ในอดีตใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

วิหารที่แต่เดิมสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ก่อนจะทำการบูรณะครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2537 ภายในประดิษฐานพระประธานเก่าแก่รุ่นราวคราวเดียวกับการก่อสร้างวิหาร ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นผลงานวาดใหม่ฝีมือช่างท้องถิ่นเรื่องราวพุทธประวัติ องค์พระประธานมีพระยืนองค์เล็ก ๆ ประดิษฐานอยู่ อุโบสถตรงบันไดทางเข้ามีตัวมอม ประดิษฐานองค์พระประธาน คือ พระศักยมุนีศรีสุมนะ หรือ หลวงพ่อใหญ่

วัดยังมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นทางด้านหลังวัดที่ก่อตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2547 จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้เก่าแก่ต่าง ๆ อาทิ ตู้พระธรรม หีบพระธรรม เครื่องเขิน ถ้วยชาม สัตตภัณฑ์ ขันโตก ผ้าพระบฏ เป็นต้น[4]

ใกล้เคียง

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดพระธรรมกาย วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร