ปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุ ของ วัดพระรูป_(จังหวัดสุพรรณบุรี)

พระพุทธบาทไม้ ศิลปะอู่ทอง มีขนาดกว้างประมาณ 60 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เมตร 80 เซนติเมตร สันนิษฐานได้ว่าถูกนำมาจากที่อื่น ด้านหน้าทำเป็นลวดลายมงคล 108 ในกรอบทรงกลมกลางฝ่าพระบาท และท้าวจตุโลกบาล ด้านหลังสลักเป็นรูปตอนมารผจญ ยังมีซากเจดีย์ที่ยังไม่ได้รับการขุดแต่งและบูรณะในบริเวณวัดอีกหลายองค์ ซากศาลาแบบเก๋งจีน และวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ ศิลปะอู่ทอง ซึ่งแต่เดิมเป็นวิหารขนาดเล็กพอดีกับองค์พระ แต่ปัจจุบันมีการซ่อมขยายวิหารให้มีขนาดใหญ่ขึ้น[2] พระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า เณรแก้ว ซึ่งมีพระพักตร์กลมยาวคล้ายผลมะตูม ผินพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าสร้างในราว พ.ศ. 1800–1893 และถือว่าเป็นพระนอนที่มีพระพักตร์งามที่สุดในประเทศไทย[3]

ใกล้เคียง

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดพระธรรมกาย วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร