สิ่งสำคัญภายในวัด ของ วัดมหาธาตุ_(จังหวัดยโสธร)

หรือ พระแก้วหยดน้ำค้าง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิศิลปะสมัยเชียงแสน ในอดีตนั้นเคยประดิษฐานอยู่คู่กับพระแก้วมรกตในหอพระแก้วเมืองเชียงใหม่เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2011 และประทับอยู่เป็นสิริมงคลนานถึง 78 ปี หลังพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จมาครองนครหลวงพระบาง จึงมีความเห็นว่าสมควรอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระแก้วขาวไปไว้ที่ราชธานีล้านช้าง เพื่อให้ห่างไกลจากเงื้อมมือพม่าข้าศึก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระแก้วมรกตประทับอยู่ร่วมกันอีกครั้ง ต่อมาได้มีผู้ลักพาพระแก้วขาวออกจากนครหลวงพระบางไปซ่อนไว้ที่เขาส้มป่อย และมีนายพราน 2 พี่น้อง ชื่อ พรานทึงและพรานเทือง ไปพบว่าจมอยู่ใต้สระน้ำจึงนำขึ้นมา ความเลื่องลือไปถึงเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ จึงให้ท้าวเพียผู้ใหญ่ไปสืบเอาพระแก้วขาวมา ขณะอัญเชิญมาถึงตำบลแห่งหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำเซโดนได้พากันพักแรมหนึ่งคืน พอรุ่งเช้าปรากฏว่าพระแก้วขาวหายไปจึง ให้คนเที่ยวค้นหา มีผู้ไปพบอยู่ที่บ้าน พรานทึงดังเดิม ท้าวเพียได้ทำพิธีขอขมาคารวะพระแก้วขาว โดยขออัญเชิญไปยังนครจำปาศักดิ์ได้สะดวกอย่าได้ลักหนีไปอีกเลย แต่ในระหว่างทางเกิดพายุทำให้พระแก้วขาวตกลงไปในน้ำหาอย่างไรก็ไม่พบ เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ทรงกระทำพิธีกรรมบวงสรวงเทพารักษ์ ตั้งสัตยาธิษฐานขอให้ได้พระแก้วขาวกลับคืนมาเป็นสิริมงคล เมื่อสัมฤทธิผลจึงจัดงานฉลองสมโภชเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ต่อมาเมื่อเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ลำดับที่ 3 ได้ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันอังคาร ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแมตรีศก จุลศักราช 1173 (พ.ศ. 2354) ครองเมืองนครจำปาศักดิ์ได้ 21 ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยากลาโหมราชเสนา เป็นข้าหลวงแทนพระองค์ ไปพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช และจัดการราชการบ้านเมืองนครจำปาศักดิ์ เมื่อทำการปลงศพของเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชเสร็จแล้ว พระยากลาโหมราชเสนาพร้อมด้วยแสนท้าวพระยาในเมือง จึงก่อเจดีย์บรรจุอัฐิของท่านไว้ที่วัดเหนือ (ปัจจุบันคือวัดหอพระแก้ว) ในเมืองเก่าคันเกิง เรียกกันทั่วไปว่าในเวลานั้น "ธาตุหลวงเฒ่า" [4] ปัจจุบันไม่มีใครรู้จักและเรียก ภายหลังเสร็จการพระราชทานเพลิงศพของเจ้าพระวิไชยวรราชสุริยวงศ์ขัตติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) และการจัดการราชการบ้านเมืองในนครจำปาศักดิ์แล้ว พระยากลาโหมราชเสนาจึงได้อัญเชิญพระแก้วขาวลงมายังกรุงเทพมหานคร เมือ่ปี พ.ศ. 2355 และเมื่อครั้งเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกกองทัพไปตีนครเวียงจันทน์ เจ้าอุปราชฝ่ายบุต ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ องค์ที่ 3 พร้อมเจ้าสุวอธรรมา (บุญมา) ได้ร่วมทำการรบด้วย โดยมีอัญญาพระครูหลักคำ (กุ) ผู้มีภูมิความรู้ถนัดในทางโหราศาสตร์ เป็นผู้ให้ฤกษ์และทำพิธีตัดไม้ข่มนาม ซึ่งเป็นพิธีปฐมกรรม อันเป็นการให้ขวัญและกำลังใจแก่ทหาร จึงทำให้การรบในครั้งนั้นประสบชัยชนะ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จึงทรงมีรับสั่งให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี นำเจ้าอุปราชฝ่ายบุต และอัญญาพระครูหลักคำ (กุ) เข้าเฝ้าโดยด่วนที่กรุงเทพมหานคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าอุปราชฝ่ายบุตเป็นพระสุนทรราชวงศา มหาขัตติยชาติ ประเทศราชชวาเวียง ดำรงรักษ์ภักดียศฦๅไกร ศรีพิไชยสงคราม เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร ลำดับที่ 3 (พ.ศ. 2366-2400) พร้อมพระราชทานพระพุทธรูปบูชาสำคัญคือ พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ หรือ พระแก้วหยดน้ำค้าง อันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองยโสธรในปัจจุบัน , พระราชทานเชลยศึกจากนครเวียงจันทน์ จำนวน 500 ครอบครัว และพระราชทานปืนใหญ่ไว้สำหรับเมืองยศสุนทร 1 กระบอก อันมีชื่อว่า "ปืนนางป้อง" ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ที่ศาลหลักเมืองยโสธรมาจนถึงปัจจุบัน

หรือพระธาตุยโสธร ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถ เป็นพระธาตุเก่าแก่ที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน ร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1218 ผู้ก่อสร้างคือ เจตตานุวิน และ จินดาชานุ ชาวเวียงจันทน์ กับ เอียงเวธา ชาวขอม เมื่อสร้างเสร็จจึงอัญเชิญพระอัฐิของ พระอานนท์ มาบรรจุไว้ ซึ่งพระอัฐิของพระอานนท์ที่นำมาบรรจุใน พระธาตุอานนท์ นั้น ถูกบรรจุไว้ในผอบ ชั้นนอกเป็นหีบเงิน 3 ชั้น ชั้นถัดไปเป็นหีบทอง 7 ชั้น ถัดจากนั้นเป็นหีบแก้วไพฑูรย์ 2 ชั้น (รวมเป็นหีบ 12 ชั้น) แล้วมีผ้ากะจ๋าคำ(ผ้าลายทอง) ห่อไว้อีก 500 ชั้น ถัดเข้าไปเป็นผ้าสีขาวอ่อนนุ่มเหมือนสำลีห่อพระอัฐิธาตุอยู่ โดยมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการสร้าง พระธาตุอานนท์ ต่อ ๆ กันมาว่า เจตตานุวิน และ จินดาชานุ ชาวเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน หลังจากออกบวชทำความเพียรได้ 3 ปี 25 วัน ทั้งคู่ก็เห็นว่าชาวเมืองเวียงจันทน์ต่างนับถือ พากันไปกราบไหว้ ดอนปู่บาว จึงคิดนำของศักดิ์สิทธิ์มาไว้ที่ ดอนปู่บาว เพื่อความเป็นสิริมงคลยิ่ง ๆ ขึ้น ดังนั้น จึงออกธุดงค์โดยใช้เวลาประมาณ 2 ปี 10 เดือน 11 วัน เดินทางมาถึงเมืองเทวทหะ แคว้นโกลิยะ ปกครองโดย ท้าวพระยา ซึ่งขณะนั้นชาวเมืองกำลังก่อสร้างเจดีย์องค์หนึ่งอยู่ ครั้นก่อสร้างเสร็จ ท้าวพระยา จึงเข้าไปอัญเชิญพระอัฐิธาตุ ซึ่งต้องไขประตูเข้าไป 3 ชั้น จึงจะพบหีบพระอัฐิธาตุ เจตตานุวิน และ จินดาชานุ จึงสอบถามชาวเมืองได้จนได้ความว่าเป็นพระอัฐิธาตุของ พระอานนท์ พระเถระคนสำคัญของพระพุทธเจ้า ซึ่งเล่ากันว่า พระอานนท์ นิพพานบนอากาศกลางแม่น้ำโรหิณี (กั้นระหว่าง กรุงกบิลพัสดุ์ กับ กรุงเทวทหะ) พระองค์ได้อธิษฐานร่างกายให้แตกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งตกลงทางกรุงกบิลพัสดุ์ ส่วนที่สองตกลงทางกรุงเทวทหะ เจตตานุวิน ได้ฟังดังนั้นจึงจัดเครื่องสักการะบูชา แล้วอธิษฐานจิตขอเห็นอภินิหาร ซึ่งก็บังเกิดมีลมพัดห่อผ้าอัฐิธาตุ (ห่อผ้ากะจ๋าคำ) ลอยขึ้นสู่อากาศเป็นอัศจรรย์ เจตตานุวิน จึงอธิษฐานจิตให้ห่อผ้าพระอัฐิธาตุลอยลงมา ห่อผ้าก็ลอยลงมาเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก ต่อมา เจตตานุวิน และ จินดาชานุ จึงอ้อนวอนขอแบ่งพระอัฐิธาตุจาก ท้าวพระยา อยู่หลายวัน จน ท้าวพระยา ใจอ่อนยอมแบ่งผงธุลีประมาณเต็ มเปลือกไข่นกกระเรียน กับอัฐิธาตุ 1 องค์ ประมาณเท่าดอกสังวาลย์ (คล้ายดอกลีลาวดี) ให้ เจตตานุวิน และ จินดาชานุ จึงเดินทางกลับเมืองเวียงจันทน์ และเตรียมจัดสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระอัฐิธาตุที่ ดอนปู่ปาว แต่ชาวเมืองเวียงจันทน์ไม่ยินยอม ด้วยหาว่าผิดผีบ้านผีเมือง ทั้งยังขับไล่ออกจากเมือง เจตตานุวิน และ จินดาชานุ จึงหนีมาอยู่กับเจ้าเมืองขอม ชื่อว่า เอียงเวธา ครั้นผ่านไป 3 ปี จึงชักชวนให้ เอียงเวธา เป็นผู้นำสร้างเจดีย์ ซึ่ง เอียงเวธา ได้เลือกสถานที่สร้างเจดีย์ที่ ดงผีสิง (จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน) ป่าทึบขนาดใหญ่ ไกลจากบ้านคนประมาณ 1.2 กิโลเมตร ใช้เวลาสร้างเจดีย์ 8 เดือน 25 วัน จึงแล้วเสร็จ สำหรับลักษณะของพระธาตุอานนท์ เจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยมหรือทรงพรหมสี่หน้า ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 81 เมตร ก่ออิฐถือปูนเอวฐานคอดเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ มีซุ้ม 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ยอดธาตุมียอดปลีเล็กแซมทั้ง 4 ด้าน ยอดกลางทรงสี่เหลี่ยมสอบ มี 2 ชั้น รูปแบบการก่อสร้างคล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อยฐาน ทุก ๆ ปีในช่วงเดือนมีนาคมทางวัดจะจัดให้มีงานสมโภชพระธาตุอานนท์ขึ้นเป็นประจำ โดยจัดในวันขึ้น 13 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ เดือน 3 ตามฮีตคลองของชาวอีสาน คือเดือนมีนาคม ในคืนแรกจะจัดพิธีสมโภชองค์ พระธาตุอานนท์ ผู้ที่มาร่วมงานแต่งกายด้วยชุดขาว ทำพิธีตลอดคืน ส่วนในคืนที่สองและคืนที่สามมีมหรสพรื่นเริงสมโภชตลอดคืน

  • พระพุทธวรนาถมหาธาตุยโสธร พระประธานในพระอุโบสถ
  • กู่เจ้านครบรรจุอัฐิของเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช
กู่เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) เจ้าผู้ครองนครจำปาสัก พระองค์ที่ 3

เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช มีพระนามเดิมว่า เจ้าฝ่ายหน้า หรือ เจ้าหน้า (ตามเอกสารของราชการไทย) สมภพเมื่อปี พ.ศ. 2269 ที่นครเวียงจันทน์ เป็นพระโอรสของเจ้าพระวรราชปิตา (เจ้าพระตา) แห่งนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลำภู) กับพระนางบุศดี ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าปางคำแห่งเมืองเชียงรุ้ง และเป็นพระอนุชาของพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีองค์แรก

และต่อมาได้อพยพหนีราชภัยจากพระเจ้าสิริบุญสาร แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ มาพร้อมกันกับกลุ่มของเจ้าพระวอและเจ้าคำผง หลังสิ้นสงครามกับนครเวียงจันทน์ ใน พ.ศ. 2318 แล้ว พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็นพระปทุมราชวงศา ได้พาไพร่พลของตนเองจากเวียงดอนกองไปตั้งเมืองอุบลที่บ้านห้วยแจระแม

ต่อมาราวปี พ.ศ. 2329 เจ้าฝ่ายหน้าพร้อมกับเจ้านางอูสา แลเจ้าคำสิงห์ผู้เป็นหลาน นำไพร่พลส่วนหนึ่งไปตั้งมั่นเป็นกองนอกอยู่ที่บ้านสิงห์ท่า (ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองยศสุนทรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 หรือคือ จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน)

ปี พ.ศ. 2334 เกิดเหตุกบฏอ้ายเชียงแก้วที่อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ทางฝ่ายนครจำปาศักดิ์ไม่สามารถรับมือได้ เนื่องจากพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ในเวลานั้น ถึงแก่พิราลัยกะทันหันหลังจากได้รับทราบข่าวศึก (ก่อนหน้านั้นพระเจ้าองค์หลวงฯ เองก็ประชวรเรื้อรังมานานแล้ว) เจ้าหน้าได้ร่วมมือกับพระประทุมราชวงศา (เจ้าคำผง) เจ้าผู้ครองเมืองอุบล ผู้เป็นพี่ชาย ยกทัพไปปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วจนราบคาบ และเจ้าฝ่ายหน้าได้จับตัวอ้ายเชียงแก้วประหารชีวิตที่แก่งตะนะ (อยู่ในแม่น้ำมูล ระหว่างอำเภอพิบูลมังสาหารกับอำเภอสิรินธรในปัจจุบัน) ก่อนหน้าที่กองทัพเมืองนครราชสีมาจะยกมาถึงตามรับสั่งจากกรุงเทพฯ ด้วยความดีความชอบในครั้งนี้ ทำให้เจ้าหน้าได้รับการแต่งตั้งเป็น "เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช"[3] เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ พระองค์ที่ 3

เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชถึงแก่พิราลัย เมื่อวันอังคาร ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแมตรีศก จุลศักราช 1173 (พ.ศ. 2354) สิริรวมพระชนม์ 85 ปี ครองนครจำปาศักดิ์ ได้ 21 ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยากลาโหมราชเสนา เป็นข้าหลวงแทนพระองค์ นำหีบศิลาหน้ามาพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษ์ขัติยราช อันเป็นเกียรติยศสูงสุดที่พระมหากษัตริย์สยามพระทานแก่เจ้าประเทศราช และจัดการราชการบ้านเมืองนครจำปาศักดิ์ เมื่อทำการปลงศพของเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชเสร็จแล้ว พระยากลาโหมราชเสนาพร้อมด้วยแสนท้าวพระยาในเมือง จึงก่อเจดีย์บรรจุอัฐิของท่านไว้ที่วัดเหนือ (ปัจจุบันคือวัดหอพระแก้ว) ในเมืองเก่าคันเกิง เรียกกันทั่วไปในเวลานั้นว่า "ธาตุหลวงเฒ่า" [4] ปัจจุบันไม่มีใครรู้จักและเรียกเช่นนี้

ต่อมาในปีเดียวกันนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านู หลานพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เจ้านครจำปาศักดิ์องค์ก่อน เป็นเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์สืบต่อไป จึงทำให้เจ้าราชวงศ์เมืองโขง (เจ้าคำสิงห์) เจ้าฝ่ายบุต และไพร่พลส่วนหนึ่งไม่เป็นที่พอใจที่จะทำราชการกับเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์องค์ใหม่ จึงได้พาญาติวงศ์ และไพร่พลอพยพมาอยู่ที่บ้านสิงท่าดังเดิม พร้อมนำอัฐิเจ้าพระวิไชยวรราชสุริยวงศ์ขัตติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) ก่อขึ้นเป็นเจดีย์ข้างองค์พระธาตุอานนท์ที่วัดมหาธาตุ และนำอัฐิมาบรรจุไว้ เพราะเกรงว่าเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์องค์ใหม่ จะไม่เคารพอัฐิพระองค์

  • หอไตร

สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2373 โดยพระครูหลักคำ (กุ) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ รูปที่ 3 ตัวอาคารหอไตรสร้างด้วยไม้ตั้งอยู่กลางสระน้ำทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุอานนท์ เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลาน พร้อมพระไตรปิฏก และตำราต่างๆ ซึ่งพระครูหลักคำ (กุ) เป็นผู้นำมาจากนครเวียงจันทน์ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะแบบหอไตรภาคอีสานทั่วไป มีทางเดินโดยรอบติดกันใต้ชายคา บริเวณนี้เป็นที่เก็บรักษาตู้พระธรรม หีบพระธรรม เสลี่ยงชั้นวางคัมภีร์ซึ่งนำมาจากเวียงจันทน์ ซุ้มประตูและบานประตูไม้สลักลวดลายเครือเถาลงรักปิดทองอย่างสวยงาม การตกแต่งฝาผนังมีลวดลาย ซึ่งเป็นลักษณะผสมแบบภาคกลางสันนิษฐานว่า หอไตรน่าจะสร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 4-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ใกล้เคียง

วัดมหาธาตุ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร วัดมหาธาตุ (อำเภอเมืองยโสธร) วัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดราชบุรี) วัดมหาธาตุ (จังหวัดสุโขทัย) วัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดเพชรบุรี) วัดมหาวนาราม วัดมหาบุศย์ วัดมหาชัย (จังหวัดมหาสารคาม)