ปูชณียสถานและถาวรวัตถุ ของ วัดมัชฌันติการาม

  • พระอุโบสถในอดีต
  • พระอุโบสถในปัจจุบัน
  • เจดีย์ในอดีต
  • เจดีย์ในปัจจุบัน
  • ศาลาการเปรียญ
  • โรงเรียนพระปริยัติธรรม
  • รูปเหมือนหลวงปู่อ่อน
  • วิหารหลวงปู่อ่อน
  • ซุ้มประตูในอดีต
  • หอระฆังในอดีต
  • หอระฆังในปัจจุบัน

พระอุโบสถ

เป็นพระอุโบสถเก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างวัด มาแล้วเสร็จและผูกพัทธสีมาให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยในปี พ.ศ. 2418 รูปแบบพระอุโบสถเดิมไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เป็นทรงปั้นหยา แต่เนื่องจากได้รับการบูรณะหลายครั้ง จึงมีรูปแบบอย่างที่เห็นในปัจจุบัน โดยมีความยาว 22.50 เมตร กว้าง 9.80 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันตกอันมีคลองบางเขนใหม่เป็นทิศเบื้องหน้า หลังคามุงกระเบื้องโบราณ มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันถือปูน มีตรีมูรติอยู่บนพานอันเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์จักรี ภายใต้มงกุฎคราบ มีฉัตร 5 ชั้น ประดับทั้ง 2 ข้าง [2]

เจดีย์องค์ใหญ่

เป็นเจดีย์ที่สร้างมาพร้อมพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำสีทอง สูง 17 เมตร ภายในมีพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสาวกขึ้นประดิษฐานอยู่ ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เจดีย์แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของชาติจากกรมศิลปากร[2]

ศาลาการเปรียญ

เป็นศาลา 2 ชั้น ผูกเหล็กหล่อปูนใช้เป็นที่ทำบุญในวันพระและวันสำคัญทางพุทธศาสนา ซึ่งแต่เดิมเป็นศาลาการเปรียญไม้ 2 ชั้น โดยข้างบนใช้ประกอบพิธีส่วนชั้นล่างปล่อยโล่ง ได้รับการรื้อและสร้างใหม่ในสมัย พระครูวิจิตรธรรมสาร (ไขย จนฺทสาโร) เจ้าอาวาสรูปที่ 7 ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันเป็นรูปลายไทย มีรูปปั้นเป้นกงล้อ ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553 ได้ทำการบูรณะศาลาการเปรียญให้สูงขึ้น แล้วทำการเทพื้นล่างใหม่ พร้อมทั้งประดับตกแต่งติดไฟ พัดลม ปัจจุบัน จะมีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาจัดขึ้นทีชั้นล่างของศาลาการเปรียญ แห่งนี้[2]

โรงเรียนพระปริยัติธรรม

โรงเรียนพระปริยัติธรรม เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นห้องประชุมและเป็นที่จัดงานการกุศลต่างๆ ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ประกิบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ทำบุญในวันพระ สืบเนื่องมาจากมีการบูรณปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญหลังเก่า ชั้นที่ 2 เป็นห้องเรียนและสำนักงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรมและบาลี ซึ่งจะจัดให้มีการเรียนการสอนในช่วงเข้าพรรษาของทุกปี ชั้นที่ 3 เป็นห้องสมุด พร้อมห้องอบรมวิบัสสนากรรมฐาน หน้าบันทั้ง 3 ด้าน เป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ [2]

วิหารหลวงปู่อ่อน

เป็นวิหารที่ประดิษฐานรูปเหมือนปูนปั้นของพระครูธรรมสารวิจิตร (อ่อน ญาณเตโช) โดยคณะศิษย์สร้างถวายในปี พ.ศ. 2515 เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่ทางซ้ายของพระอุโบสถ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนของ พระครูวิจิตรธรรมสาร (ไขย จนฺทสาโร) และพระครูใบฎีกาพันธ์ อาจาโร ในปัจจุบันนี้วิหารหลวงปู่อ่อนได้สร้างขึ้นใหม่เป็นวิหารจัตุรมุข มียอดฟ้าใบระกา ปูพื้นด้วยกระเบื้องแผ่นใหญ่ ประตูหน้าต่างเป็นไม้ มีโรงจอดเรือของหลวงปู่อ่อนอยู่ด้านหลังของวิหาร ติดโคมไฟทั้งข้างใน และรอบวิหาร ปัจจุบันวิหารหลวงปู่อ่อนตั้งอยู่ข้างท่าน้ำทางด้านซ้าย ติดกับต้นโพธิ์ใหญ่ และติดประตูทางเข้าวัด [2]

ซุ้มประตูวัด

เป็นซุ้มประตูที่ตั้งอยู่บริเวณปากซอยวงศ์สว่าง 11 ถนนวงศ์สว่าง เป็นซุ้มประตูวัดแห่งเดียวในเขตบางซื่อ ที่นำตราคณะธรรมยุติกนิกายมาประดิษฐานบนซุ้ม ทำด้วยหินอ่อนขัดทั้งซุ้ม ต่อมาทรุดโทรมลงมากทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้เป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์ให้ใหม่จนแล้วเสร็จ[2]

หอระฆัง

เป็นหอระฆังใช้เป็นที่แขวนระฆังเพื่อตีบอกสัญญาณในวันพระและวันสำคัญอื่น ๆ เดิมเป็นหอที่สร้างขึ้นด้วยการก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง ชั้น 1 ใช้เป็นที่แขวนกลอง ชั้น 2 ซึ่งหอระฆังดังกล่าวได้ถูกรื้อถอนไป ต่อมาได้สร้างหอระฆัง 3 ชั้น หน้าศาลการเปรียญ แต่ก็ได้รื้อไป ปัจจุบันได้สร้างหอระฆัง 3 ชั้น ขึ้นใหม่แต่ตำแหน่งใกล้เคียงกันกับหอระฆัง 2 ชั้น ในอดีต[2]

ใกล้เคียง

วัดมัชฌันติการาม วัดมังกรกมลาวาส วัดมัชฌิมาวาส (จังหวัดสงขลา) วัดมัชฌิมาวาส (จังหวัดอุดรธานี) วัดมัชฌิมาราม (ประเทศมาเลเซีย) วัดมัชฌิมาราม (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) วัดมัชฌิมาวาส (จังหวัดปัตตานี) วัดมัชฌิมาวาส มาวัดกันมั้ย วัยมันส์พันธุ์ฮีโร่