ลักษณะทางกายภาพ ของ วัดสรศักดิ์

โบราณสถานภายในวัดสรศักดิ์ ประกอบไปด้วยเจดีย์ประธาน และวิหาร

เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงลังกาแบบหนึ่งที่นิยมสร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้วคือ เจดีย์ทรงกลมที่มีช้างล้อมรอบฐาน ตามความเชื่อที่ว่าช้างเป็นสัตว์พาหนะของพระเจ้าจักรพรรดิ์ที่คู่ควรกับการเป็นพาหนะค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนตลอด 5,000 ปี[1]:19

เดิมเจดีย์ได้หักพังลงหมดแล้ว เหลือเฉพาะส่วนฐานที่มีช้างล้อม ซึ่งตรงกับข้อความในจารึก อย่างไรก็ตาม รูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างต่อเติมขึ้นใหม่เมื่อครั้งกรมศิลปากรบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2546[2]:64

ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธานเป็นที่ตั้งของวิหาร จากฐานและตอเสาที่หลงเหลืออยู่ สันติ เล็กสุขุม สันนิษฐานว่าวิหารหลังนี้คงมีหลังคาทรงจั่วและมีเฉลียงโดยรอบ[3]:49

ศักดิ์ชัย สายสิงห์ กล่าวว่าข้อมูลจากจารึกชี้ให้เห็นถึงการสร้างวัดในสมัยนั้น น่าจะเป็นเรื่องของกษัตริย์และเจ้านาย ส่วนขุนนางที่จะสร้างวัดต้องขอพระราชานุญาตก่อน และเจดีย์ทรงระฆังที่ประดับด้วยประติมากรรมช้างล้อมรอบ น่าจะได้รับความนิยมมาถึงในช่วงเวลานี้[2]:64

  • วิหารของวัดสรศักดิ์
  • ช้างประดับภายในเจดีย์ประธาน
  • คติช้างล้อมเจดีย์เป็นคติที่มาจากลังกา
  • วัดสรศักดิ์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์

ใกล้เคียง

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วัดสระแก้วปทุมทอง วัดสร้อยทอง วัดสระแก้ว (จังหวัดอุบลราชธานี) วัดสร่างโศก (จังหวัดสมุทรปราการ) วัดสรศักดิ์ วัดสระลงเรือ วัดสระบัว (กรุงเทพมหานคร) วัดสระสี่มุม (จังหวัดนครปฐม) วัดสรรเพชญ