สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ของ วัดเทพธิดารามวรวิหาร

ลักษณะสถาปัตยกรรม เป็นศิลปะในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน เนื่องจากในช่วงน้นมีการติดต่อค้าขายกับจีน อิทธิพลของจีนจึงเข้ามามีบทบาท รูปแบบสถาปัตยกรรมจึงเป็นอาคารแบบไม่มีช่อฟ้า ใบระกา แบบวัดในช่วงสมัยอื่น มีเครื่อง ประดับพระอารามที่เป็นตุ๊กตาจีนสลักหิน มีทั้งรูปคนและสัตว์ ตุ๊กตารูปคนบางตัวมีลักษณะท่าทางและการแต่งกายแบบจีน บางตัวแต่งกายแบบไทย ลักษณะพิเศษที่วัดแห่งนี้คือมีรูปสลักผู้หญิงในลักษณะต่าง ๆ เป็นส่วนมาก

หอไตรเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ใต้ถุนสูง กว้าง 6.50 เมตร สูง 10 เมตร ปิดทอง ล่องชาด มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันปิดทองประดับกระจกสี มีงานศิลปะลายรดน้ำที่มีอยู่ทุกบานประตู และหน้าต่าง หอไตรมีไว้สำหรับเก็บรักษาพระคัมภีร์ใบลาน จารึกพระไตรปิฎกและคัมภีร์อื่น ๆ มีตู้พระไตรปิฎกทรงโบราณ กว้าง 1.75 เมตร ยาว 1.70 เมตร สูง 2 เมตร ขาตู้เป็นลักษณะเท้าสิงห์

ในพระวิหาร มีรูปหล่อลงรักปิดทอง หมู่ภิกษุณี จำนวน 52 องค์ นั่ง 49 องค์ ยืน 3 องค์ อยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ หลากหลายท่า มีทั้งท่านั่งปฏิบัติธรรม ฟังธรรม ฉันหมาก สูบยา ยืนไหว้ นั่งพนมมือ

ภายในพระอุโบสถมีหลวงพ่อขาวประดิษฐานบนบุษบก เป็นพระประธานปางมารวิชัย สลักด้วยศิลาขาวบริสุทธิ์ หน้าตักกว้าง 15 นิ้ว สูง 21 นิ้ว รัชกาลที่ 9 ทรงถวายพระนามว่า พระพุทธเทววิลาส[1]

ใกล้เคียง

วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร วัดเทพพุทธาราม วัดเทพธิดารามวรวิหาร วัดเทวสุนทร (สุนทริการาม) วัดเทพพล วัดเทพนิมิตร (จังหวัดปัตตานี) วัดเทียนโห่ว วัดเทพลีลา วัดเทวสังฆาราม