วันจันทร์ทมิฬ
วันจันทร์ทมิฬ

วันจันทร์ทมิฬ

ในทางการเงิน วันจันทร์ทมิฬ (อังกฤษ: Black Monday) หมายถึง วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2530 ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกตกลงอย่างมาก คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในเวลาอันสั้นอย่างยิ่ง การตกลงของตลาดหลักทรัพย์เริ่มต้นในฮ่องกง แล้วค่อยลุกลามไปทางตะวันตกถึงทวีปยุโรป และส่งผลต่อสหรัฐอเมริกาหลังตลาดอื่นปรับตัวลดลงอย่างมากแล้ว ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJIA) ปรับตัวลดลงถึง 508 จุด ไปปิดที่ 1738.74 จุด คิดเป็นร้อยละ 22.61[1]จนถึงปลายเดือนตุลาคมปีนั้น ตลาดหลักทรัพย์ในฮ่องกงตกลงร้อยละ 45.5, ออสเตรเลียร้อยละ 41.8, สเปนร้อยละ 31, สหราชอาณาจักรร้อยละ 26.45, สหรัฐอเมริการ้อยละ 22.68 และแคนาดาร้อยละ 22.5 ตลาดหลักทรัพย์ของนิวซีแลนด์ได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ โดยลดลงถึงร้อยละ 60 นับจากสถิติสูงสุดในปีเดียวกัน และใช้เวลาอีกหลายปีในการฟื้นตัว[2] การลดลงในวันจันทร์ทมิฬนี้นับเป็นการลดลงมากที่สุดในวันเดียวเมื่อเทียบเป็นร้อยละของดาวโจนส์หลังการลดลงของตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง 33 คนจากหลายประเทศ เดินทางมาพบปะกันในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน และร่วมกับทำนายว่า "ในอีกไม่กี่ปีถัดไปอาจเป็นครั้งที่ประสบปัญหามากที่สุดนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1930"[3] อย่างไรก็ดี DJIA ปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2530 โดยดัชนีเปิดในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2530 ที่ 1,897 จุด และเปิดในวันที่ 31 ธันวาคม ที่ 1,939 จุด DJIA ไม่แตะระดับปิดตัวในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ที่ 2,722 จุด กระทั่งอีกเกือบสองปีถัดมาในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ วันจันทร์ทมิฬดังกล่าวยังเรียกว่าเป็น "วันอังคารทมิฬ" เนื่องจากความแตกต่างของเขตเวลานอกจากนี้แล้ววันจันทร์ทมิฬ หมายถึงเหตุการณ์ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2540 หรือ the october 27 mini crash ที่ตลาดหุ้นตกต่ำทั่วโลกอันเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540