วันพิทักษ์ปิตุภูมิ
วันพิทักษ์ปิตุภูมิ

วันพิทักษ์ปิตุภูมิ

วันพิทักษ์ปิตุภูมิ (รัสเซีย: День защитника Отечества (Den' zashchitnika Otechestva); คาซัค: Отан қорғаушы күні; ทาจิก: Рӯзи артиши миллӣ; คีร์กีซ: Мекенди коргоочулардын күнү; เบลารุส: Дзень абаронцы Айчыны) เป็นวันหยุดราชการในประเทศรัสเซีย, เบลารุส, คีร์กีซสถาน, คาซัคสถาน, และ ทาจิกิสถาน โดยมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ยกเว้นประเทศคาซัคสถานที่จะฉลองในวันที่ 7 พฤษภาคมวันพิทักษ์ปิตุภูมิฉลองกันครั้งแรกในปี 1919 วันหยุดถูกกำหนดในปี 1918 ในช่วงสงครามกลางเมืองรัสเซีย ตามเอกสารฉบับร่างหมู่ของกองทัพแดง ที่ควบคุมนครเปโตรกราด และ มอสโก (ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์)[1] ในเดือน มกราคม 1919 ก็ได้มีประกาศวันหยุดอย่างเป็นทางการเพื่อระลึกถึงการสถาปนากองทัพแดง (ก่อตั้งวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 1918)[1] โดยในปี 1919 ได้ใช้วันจันทร์ 17 กุมภาพันธ์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นวันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์[1] นับแต่นั้นมา[1] โดยที่ชื่อเดิมที่รู้จักคือ "วันกองทัพแดง" (รัสเซีย: День Красной Армии)[1] และในปี 1923 จึงใช้ชื่ออย่างเป็นทางการคือ วันกองทัพแดงและกองทัพเรือ[1]ในปี 1949 ชื่อวันถูกเปลี่ยนชื่อวันกองทัพโซเวียตและกองทัพเรือ (รัสเซีย: День Советской Армии и Военно-Морского флота (Dyen' Sovyetskoy Armii i Voyenno-Morskogo flota))[1] จนเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 ชื่อวันที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเรื่มใช้ในปี 2002 โดยประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน โดยประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ (ในรัสเซีย)[2]

วันพิทักษ์ปิตุภูมิ

วันที่ 23 กุมภาพันธ์
ความถี่ รายปี