ทฤษฎีและแนวคิดปฏิวัติ ของ วาซิล_เลฟสกี

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1860 เลฟสกีพัฒนาทฤษฎีปฏิวัติที่มองขบวนการปลดปล่อยบัลแกเรียว่าเป็นอาวุธจลาจลของบัลแกเรียในจักรวรรดิออตโตมัน โดยการจลาจลจะต้องมีการเตรียมการควบคุมและประสานงานภายในโดยองค์การปฏิวัติกลาง ซึ่งจะรวมถึงคณะกรรมการการปฏิวัติท้องถิ่นในทุกภาคส่วนของบัลแกเรียและดำเนินงานโดยปราศจากการแทรกแซงของต่างประเทศ ทฤษฏีของเลฟสกีเป็นผลมาจากความล้มเหลวที่เกิดขึ้นซ้ำซากในการนำแนวคิดของรารอฟสกีไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้อาวุธเหมือนต่างประเทศ (чети, cheti) เพื่อกระตุ้นการปฏิวัติทั่วไป[1] ความคิดของเลฟสกีเกี่ยวกับการปฏิวัติอิสระทั้งหมดไม่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนทั้งหมดเช่นกัน ที่จริงแล้วเขาเป็นเพียงนักปฏิวัติชาวบัลแกเรียที่โดดเด่นเพียงคนเดียวที่สนับสนุนการปฏิวัตินี้[2]

รูปนูนของวาซิล เลฟสกีที่สถานทูตบัลแกเรียในปารีส

เลฟสกีได้วางแผนให้บัลแกเรียเป็นสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย[3] และบางครั้งก็พบจุดร่วมกับประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองของฝรั่งเศส[4] และยังสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดเสรีนิยมของการปฏิวัติฝรั่งเศสและสังคมตะวันตกร่วมสมัย[5][6] โดยกล่าวว่า "เราจะเป็นอิสระในเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ในดินแดนที่ชาวบัลแกเรียอาศัยอยู่ ได้แก่ บัลแกเรีย เทรซ และมาซิโดเนีย ผู้คนที่มีเชื้อสายใดก็ตามที่อาศัยอยู่ในสวรรค์ของเราแห่งนี้ พวกเขาจะมีสิทธิเท่าเทียมกับชาวบัลแกเรียในทุกด้าน เราจะมีธงที่แสดงถึงความเป็นสาธารณรัฐที่บริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ ถึงเวลาแล้วที่จะกระทำเพื่อให้บรรลุสิ่งที่พี่น้องชาวฝรั่งเศสของเราแสวงหา..." นอกจากนี้เลฟสกียังกล่าวว่าทุกศาสนาในบัลแกเรียที่มีเสรีภาพจะต้องได้รับการอุปถัมภ์อย่างเท่าเทียมกัน[7]

เลฟสกีเตรียมพร้อมที่จะเสียสละชีวิตของเขาเพื่อการปฏิวัติบัลแกเรีย โดยกล่าวว่า "ถ้าข้าชนะ ข้าจะชนะให้กับทุกคน แต่ถ้าข้าแพ้ ข้าก็จะแพ้ให้กับตัวข้าเองคนเดียวเท่านั้น"[8] นอกจากนี้เขายังสนับสนุนให้มีการใช้จ่ายภายในภาครัฐอย่างโปร่งใสและจะไม่ยอมให้มีการทุจริตเกิดขึ้นโดยเด็ดขาด[9]

แหล่งที่มา

WikiPedia: วาซิล_เลฟสกี http://web.orbitel.bg/willow/levski/3-2.htm http://zemia-news.bg/issues/zemia-20080718-136.pdf http://haskovo-online.com/content/view/22/4/lang,e... http://www.segabg.com/online/article.asp?issueid=2... http://ziezi.net/belezhnik/index.html http://www.vlevskimuseum-bg.org //www.worldcat.org/issn/0324-1645 https://web.archive.org/web/20080925182849/http://... https://web.archive.org/web/20081017150843/http://... https://web.archive.org/web/20081030082205/http://...