วาฬหัวทุยเล็ก
วาฬหัวทุยเล็ก

วาฬหัวทุยเล็ก

วาฬหัวทุยเล็ก หรือ วาฬสเปิร์มเล็ก (อังกฤษ: pygmy sperm whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Kogia breviceps) เป็นวาฬขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์วาฬหัวทุยเล็ก (Kogiidae)วาฬหัวทุยเล็กมีลักษณะทั่วไปคล้ายวาฬหัวทุย (Physeter macrocephalus) แต่ตัวมีขนาดเล็กกว่ามาก ครีบหลังเป็นกระโดงขนาดเล็กเมื่อเทียบกับความยาวลำตัวแล้วน้อยกว่าร้อยละ 5 ส่วนหลังสีน้ำเงินดำหัวกลม ส่วนท้องสีขาวบางครั้งอมชมพูช่อง หายใจอยู่ด้านบนเยื้องทางซ้ายนิดหน่อย ขากรรไกรล่างเล็กแคบมีลักษณะคล้ายปากฉลาม คือ เป็นรูปสามเหลี่ยม ฟันลักษณะแหลมโค้งจำนวน 12–16 คู่ บนขากรรไกรล่างส่วนขากรรไกรบนจะไม่เห็นฟันงอกออกมา แต่จะมีร่องรับพอดีกับฟันล่างเวลาหุบปาก ส่วนหัวด้านข้างมีแนวสีเข้มเป็นรูปโค้งคล้ายแก้มปิดเหงือกของปลา เรียกแนวนี้ว่า "เหงือกปลอม" (false gill) ซึ่งมีเฉพาะวาฬในวงศ์นี้เท่านั้น[3]วาฬหัวทุยเล็กขนาดโตเต็มที่ยาวได้ 3.4 เมตร น้ำหนักมากถึง 400 กิโลกรัม ลูกแรกเกิดยาวประมาณ 1.2 เมตร ตั้งท้องประมาณ 11 เดือน พบในทะเลเปิดและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในประเทศไทยพบมีรายงานเพียง 5 จังหวัด คือ จังหวัดชุมพร, พังงา, ภูเก็ต, ระยอง และสงขลา จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย[3][4]ในอดีตเคยเป็นที่ถกเถียงกันว่าวาฬหัวทุยเล็กเป็นชนิดเดียวกันกับวาฬหัวทุยหรือไม่ จนกระทั่งใน ค.ศ. 1966 สถาบันสมิธโซเนียนแห่งสหรัฐได้ข้อยุติว่าเป็นคนละชนิดกัน ชื่อวิทยาศาสตร์ของวาฬหัวทุยเล็กได้รับการตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1838 โดยอ็องรี มารี ดูว์ครอแต เดอ แบล็งวีล (Henri Marie Ducrotay de Blainville) นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส[5]