วิกฤตการเงิน_ค.ศ._1907
วิกฤตการเงิน_ค.ศ._1907

วิกฤตการเงิน_ค.ศ._1907

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งวิกฤตการเงินปี 1907 (อังกฤษ: Panic of 1907) หรือวิกฤตนิกเกอร์บอกเกอร์ เป็นวิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐที่เกิดขึ้นในช่วงสามสัปดาห์เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม เมื่อตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กลดลงเกือบ 50% ของมูลค่าสูงสุดในปีก่อนหน้า เกิดความตื่นตระหนกเนื่องจากขณะนั้นอยู่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย และมีการแห่ถอนเงินจากธนาคารและบริษัททรัสต์ต่าง ๆ สุดท้ายวิกฤตการเงินปี 1907 ลามไปทั่วประเทศเมื่อธนาคารและธุรกิจระดับรัฐและท้องถิ่นจำนวนมากล้มละลาย สาเหตุหลักของการแห่ถอนเงิน ได้แก่ ธนาคารในนครนิวยอร์กจำนวนหนึ่งลดสภาพคล่องของตลาดและผู้ฝากเสียความเชื่อมั่น ซึ่งแย่ลงเมื่อมีการพนันโดยไม่มีการวางระเบียบในตลาดมืดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย[1] วิกฤตครั้งนี้มีชนวนจากเหตุที่บริษัทยูไนเต็ดคอปเปอร์พยายามควบคุมราคาหุ้นในเดือนตุลาคม 1907 แต่ล้มเหลว เมื่อความพยายามล้มเหลว ธนาคารซึ่งให้ยืมเงินเพื่อดำเนินแผนควบคุมราคานี้ก็ถูกผู้ฝากแห่ถอนเงินออกเป็นจำนวนมาก ที่ภายหลังแพร่ไปธนาคารและบริษัททรัสต์ในเครือเช่นกัน จนทำให้ในสัปดาห์ต่อมานิกเกอร์บอกเกอร์ทรัสต์ ซึ่งเป็นบริษัททรัสต์ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของนครนิวยอร์กล้ม การล่มสลายของนิกเกอร์บอกเกอร์ทำให้ความหวาดกลัวกระจายไปทั่วบริษัททรัสต์ในนครเพราะธนาคารภูมิภาคต่าง ๆ พากันถอนเงินสดสำรองออกจากธนาคารในนครนิวยอร์ก ความตื่นตระหนกกระจายต่อไปทั่วประเทศเมื่อคนจำนวนมากพากันถอนเงินฝากออกจากธนาคารภูมิภาคของตนด้วยความตระหนกดังกล่าวอาจทวีความรุนแรงกว่านี้ถ้าไม่ได้นักการเงิน เจ. พี. มอร์แกน เข้าแทรกแซง เขาใช้เงินส่วนตัวจำนวนมากเข้าอุ้มระบบธนาคาร และเกลี้ยกล่อมให้นายธนาคารอื่น ๆ ในนครนิวยอร์กให้ทำเช่นเดียวกัน เหตุการณ์นี้เน้นความสำคัญของระบบการคลังอิสระของประเทศซึ่งจัดการปริมาณเงินของประเทศ แต่ไม่สามารถอัดฉีดสภาพคล่องกลับเข้าตลาดได้ ในเดือนพฤศจิกายน โรคระบาดทางการเงินส่วนใหญ่สงบลงแล้ว แต่ยังเกิดวิกฤตขนาดกว่าขึ้น สืบเนื่องจากบริษัทนายหน้าขนาดใหญ่ที่ใช้หุ้นของบริษัทเทนเนสซีโคล, ไอออนแอนด์เรลโรด (TC&I) เป็นหลักทรัพย์ประกัน การล้มของราคาหุ้นของ TC&I ถูกปัดป้องเมื่อบริษัทยูเอสสตีลของมอร์แกนเข้าซื้อกิจการฉุกเฉิน ซึ่งประธานาธิบดีทีโอดอร์ รูสเวลต์ผู้ต่อต้านการผูกขาดยอมรับ ปีต่อมา เนลสัน ดับเบิลยู. อัลดริช สมาชิกวุฒิสภา ก่อตั้งและเป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนวิกฤตและ

ใกล้เคียง

วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975 วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907 วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิกฤตการเงิน_ค.ศ._1907 http://books.google.com/?id=7hkYAAAAMAAJ http://books.google.com/?id=R3koAAAAYAAJ http://www.saffo.com/pdfs/HIghTech_Quake2.pdf http://people.ischool.berkeley.edu/~bigyale/fin_me... http://digital.library.pitt.edu/cgi-bin/chronology... http://www.archive.org/download/sixtyfirstsecon00c... //doi.org/10.1016%2Fj.jmoneco.2005.05.015 //doi.org/10.1017%2FS0022050700011414 //doi.org/10.1017%2FS0022050700021756 //doi.org/10.1017%2FS0022050700033957