สาเหตุ ของ วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป

หนี้สาธารณะในหน่วยดอลล่าร์สหรัฐและร้อยละต่อจีดีพี
(พ.ศ. 2553) ของบางประเทศยุโรป

วิกฤตหนี้สาธารณะยุโรปได้เป็นผลมาจากปัจจัยซับซ้อนหลายปัจจัยประกอบกัน รวมทั้งโลกาภิวัฒน์ของการเงิน ภาวะการปล่อยสินเชื่อที่ง่ายระหว่างช่วง พ.ศ. 2545-2551 ซึ่งกระตุ้นการปฏิบัติให้กู้ยืมและกู้ยืมความเสี่ยงสูง การค้าระหว่างประเทศไม่สมดุล ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้แตกนับแต่นั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าใน พ.ศ. 2551 และหลังจากนั้น ทางเลือกนโยบายการเงินซึ่งเกี่ยวข้องกับรายได้และรายจ่ายของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จ่ายเพื่อสิทธิสูง และวิธีการที่ประเทศต่าง ๆ ใช้เพื่อให้เงินช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมการธนาคารที่ประสบปัญหาและผู้ถือพันธบัตรเอกชน ภาระหนี้เอกชนที่แบกรับหรือการสูญเสียความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม (socializing)[32][33]

การบรรยายหนึ่งอธิบายสาเหตุของวิกฤตการณ์ว่า เริ่มต้นจากการเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญของเงินออมซึ่งสามารถนำไปลงทุนได้ระหว่างช่วง พ.ศ. 2543-2550 เมื่อแหล่งตราสารหนี้ของโลกเพิ่มขึ้นจากอย่างน้อย 36 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐใน พ.ศ. 2543 เป็น 70 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐเมื่อถึง พ.ศ. 2550 "แหล่งเงินยักษ์" นี้เพิ่มขึ้นในฐานะเงินออมจากชาติกำลังพัฒนาอัตราเติบโตสูง ซึ่งเข้าสู่ตลาดทุนโลก นักลงทุนผู้มองหาผลตอบแทนที่สูงกว่าที่ให้โดยพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐจึงแสวงหาทางเลือกใหม่ทั่วโลก[34] การล่อใจที่เสนอโดยเงินออมที่มีให้พร้อมเช่นนั้นชนะนโยบายและกลไกการควบคุมจำกัดในประเทศแล้วประเทศเล่า เมื่อนักลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลกแสวงหาผลตอบแทน และได้เกิดฟองสบู่ฟองแล้วฟองเล่าทั่วโลก เมื่อฟองสบู่เหล่านี้แตกก็ได้ทำให้ราคาสินทรัพย์ (เช่น การเคหะและอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์) ลดลง หนี้สินซึ่งยังติดค้างต่อนักลงทุนทั่วโลกยังอยู่ที่ราคาเต็ม จึงก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลและระบบการธนาคารของประเทศต่าง ๆ[33]

การที่ประเทศยุโรปเข้ามาพัวพันกับวิกฤตการณ์การกู้ยืมและลงทุนเงินนั้นมีหลายวิธีแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ธนาคารของไอร์แลนด์ให้กู้ยืมเงินแก่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และได้ก่อฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ขนาดมหึมา เมื่อฟองสบู่แตก รัฐบาลและผู้เสียภาษีของไอร์แลนด์จึงต้องแบกรับหนี้สินของเอกชน ในกรีซ รัฐบาลเพิ่มการผูกมัดกับข้ารัฐการในรูปของการจ่ายเงินเกินพอและผลประโยชน์บำนาญอย่างยิ่ง ระบบการธนาคารของไอซ์แลนด์เติบโตอย่างมาก ก่อให้เกิดหนี้สินต่อนักลงทุนทั่วโลก ("หนี้สินภายนอก") หลายเท่าของจีดีพี[33]

การติดต่อระหว่างกันในระบบการเงินโลกหมายความว่า หากประเทศหนึ่งผิดนัดชำระหนี้สาธารณะหรือเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ย่อมทำให้หนี้เอกชนภายนอกบางส่วนอยู่ในความเสี่ยง ระบบการธนาคารของประเทศเจ้าหนี้ก็เผชิญความสูญเสีย ตัวอย่างเช่น ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ผู้ขอกู้ชาวอิตาลีเป็นหนี้ธนาคารฝรั่งเศสถึง 366,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (สุทธิ) หากอิตาลีไม่อาจจัดหาเงินทุนให้ได้ ระบบการธนาคารและเศรษฐกิจฝรั่งเศสอาจตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างมาก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเจ้าหนี้ฝรั่งเศส เป็นต้น ซึ่งกรณีดังกล่าวเรียกว่า "การแพร่ระบาดทางการเงิน"[35][36] อีกปัจจัยหนึ่งของการติดต่อระหว่างกัน คือ มโนทัศน์การคุ้มครองหนี้ สถาบันซึ่งเข้าสู่สัญญาเรียกว่า สวอปการผิดนัดชำระหนี้ (CDS) ซึ่งส่งผลให้ต้องจ่ายเงินหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ขึ้นต่อตราสารหนี้โดยเจาะจง (รวมทั้งพันธบัตรที่รัฐบาลออก) แต่ ด้วยสามารถซื้อสวอปการผิดนัดชำระหนี้ได้หลายอันบนความปลอดภัยเดียวกัน จึงไม่เป็นที่แน่ชัดว่าความเสี่ยงใดที่ระบบการธนาคารแต่ละประเทศจำต้องสวอปการผิดนัดชำระหนี้[37]

นักการเมืองบางคน ที่โดดเด่นคือ อังเกลา แมร์เคิล ย้ำถือว่าความรับผิดชอบต่อวิกฤตการณ์เป็นของเฮดจ์ฟันด์ และนักวิเคราะห์คนอื่นว่า "สถาบันที่จ่ายเงินช่วยเหลือด้วยพันธบัตรสาธารณะ กำลังแสวงหาประโยชน์จากวิกฤตการณ์งบประมาณในกรีซและที่อื่น"[38][39][40][41][42] แม้สถาบันการเงินบางแห่งจะได้รับกำไรชัดเจนจากหนี้สาธารณะกรีซที่พอกพูนขึ้นในระยะสั้น[43] แต่ในระยะยาวได้นำไปสู่วิกฤตการณ์ดังกล่าว

ระดับหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น

หนี้สาธารณะของยูโรโซน เยอรมนีและประเทศที่ได้รับผลกระทบเทียบกับจีดีพีของกลุ่มการขาดดุลงบประมาณภาครัฐของยูโรโซนเทียบกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร

พ.ศ. 2535 สมาชิกสหภาพยุโรปลงนามสนธิสัญญามาสทริชท์ ซึ่งภายใต้สนธิสัญญานั้น ประเทศทั้งหลายสัญญาว่าจะจำกัดการใช้จ่ายแบบขาดดุลและระดับหนี้ อย่างไรก็ดี รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปจำนวนหนึ่ง รวมทั้งกรีซและอิตาลี สามารถหลีกเลี่ยงกฎเหล่านี้และพรางการขาดดุลและระดับหนี้ของตนได้ ผ่านการใช้โครงสร้างเงินตราอันซับซ้อนและความเสี่ยงด้านเครดิต[44][45] โครงสร้างนี้ได้รับการออกแบบโดยธนาคารลงทุนสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อเสียง ผู้ได้รับค่าตอบแทนมากมายสำหรับบริการ ส่วนธนาคารลงทุนเองนั้นมีความเสี่ยงด้านสินเชื่อเพียงเล็กน้อย จากการคุ้มครองทางกฎหมายพิเศษสำหรับคู่สัญญาตราสารอนุพันธ์ (derivatives counterparty)[44] การปฏิรูปการเงินภายในสหรัฐอเมริกานับแต่วิกฤตการณ์การเงิน เพียงแต่ช่วยเสริมการคุ้มครองพิเศษต่อตราสารอนุพันธ์ รวมทั้งการเข้าถึงการรับประกันของรัฐได้มากขึ้น ขณะที่ลดการเปิดเผยต่อตลาดการเงินที่กว้างกว่า[46]

นักการเมืองสหภาพยุโรปในบรัสเซลส์เพิกเฉยและรับรองกรีซว่ามีเศรษฐกิจปกติ แม้ในความเป็นจริงทางเศรษฐศาสตร์จะชี้ว่าสกุลเงินยูโรกำลังอยู่ในอันตราย นักลงทุนสันนิษฐานว่า พวกเขาให้กู้ยืมแก่รัฐบาลเยอรมนีที่เข้มแข็ง ขณะที่ซื้อพันธบัตรยูโรจากรัฐบาลกรีซที่อ่อนแอกว่าอย่างเป็นนัย ความเป็นอริทางประวัติศาสตร์ต่อตุรกีทำให้กรีซเพิ่มงบประมาณด้านการป้องกันประเทศจนสูง และเร่งให้เกิดการขาดดุลภาคสาธารณะ โดยได้รับเงินทุนจากธนาคารเยอรมนีและฝรั่งเศสเป็นหลัก[47]

หนี้สาธารณะเป็น % ต่อจีดีพี
(พ.ศ. 2553)

"นักเศรษฐศาสตร์ที่ถูกทำให้กลัว" หลายคนได้ประณามความเชื่อที่ได้รับความนิยมในสื่อว่า ระดับหนี้ประเทศยุโรปที่เพิ่มสูงขึ้นเกิดขึ้นจากการใช้จ่ายภาครัฐเกินตัว ตามข้อมูลการวิเคราะห์ของพวกเขา ระดับหนี้ที่เพิ่มขึ้นเป็นเพราะ การจ่ายเงินช่วยเหลือก้อนใหญ่ให้แก่ภาคการเงินรหว่างวิกฤตการณ์การเงินปลายคริสต์ทศวรรษ 2000 และการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกช้าหลังจากนั้น การขาดดุลการเงินเฉลี่ยในพื้นที่ยูโรใน พ.ศ. 2550 อยู่ที่ 0.6% ก่อนที่จะเพิ่มเป็น 7% ระหว่างวิกฤตการณ์การเงิน ในช่วงเดียวกัน หนี้สาธารณะเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 66% เป็น 84% ของจีดีพี ผู้แต่งหนังสือยังเน้นว่าการขาดดุลการเงินในพื้นที่ยูโรนั้น เสถียรหรือแม้กระทั่งหดลงนับแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990[48] นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน พอล ครุกแมน ว่า กรีซที่เป็นประเทศเดียวที่ขาดความรับผิดชอบทางการเงินเป็นหัวใจของวิกฤตการณ์[49]

ไม่ว่าทางใด ระดับหนี้ที่สูงเพียงอย่างเดียวไม่อาจอธิบายวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้ ตามข้อมูล ดิอีโคโนมิสท์อินเทลลิเจนซ์ยูนิต ฐานะของพื้นที่ยูโรดู "ไม่เลวรายลงและในบางแง่มุม ค่อนข้างดีกว่าฐานะของสหรัฐอเมริกาหรือสหราชอาณาจักร" การขาดดุลงบประมาณสำหรับพื้นที่ยูโรทั้งหมด (ดูกราฟ) ต่ำกว่ามากและอัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีของรัฐบาลพื้นที่ยุโรปที่ 86% ใน พ.ศ. 2553 เป็นระดับเดียวกับอัตราของสหรัฐอเมริกา ยิ่งไปกว่านั้น ความเป็นหนี้ของภาคเอกชนทั่วพื้นที่ยูโรต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจแองโกล-แซกซอน (ประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ) ที่พุ่งขึ้น[50]

ความไม่สมดุลทางการค้า

ดุลบัญชีเดินสะพัดเทียบกับจีดีพี
(พ.ศ. 2553)

นักวิจารณ์อย่างนักหนังสือพิมพ์ ไฟแนนเชียลไทมส์ มาร์ติน วูลฟ์ ได้ประเมินว่ารากเหง้าของวิกฤตเติบโตมาจากความไม่สมดุลทางการค้า เขาสังเกตในช่วงก่อนวิกฤตการณ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ถึง 2550 ว่า เยอรมนีมีหนี้สาธารณะและการขาดดุลการเงินเทียบกับจีดีพี ดีกว่ามากเมื่อเทียบกับสมาชิกยูโรโซนที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ในช่วงเดียวกัน ประเทศเหล่านี้ (โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลีและสเปน) มีดุลการชำระเงินเลวกว่ามาก[51] ขณะที่การค้าส่วนเกินของเยอรมนีเพิ่มขึ้นเป็น % ต่อจีดีพีหลัง พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา แต่การขาดดุลของอิตาลี ฝรั่งเศสและสเปนล้วนเลวลง

ล่าสุด ฐานะการค้าของกรีซเริ่มดีขึ้น[52] ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 การนำเข้าลดลง 12% ขณะที่การส่งออกเติบโต 15% (40% แก่ประเทศนอกกลุ่มอียูเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553)[52]

ความไม่ยืดหยุ่นของนโยบายการเงิน

เพราะสมาชิกภาพของยูโรโซนสถาปนานโยบายการเงินเดียว รัฐสมาชิกแต่ละรัฐจึงไม่อาจดำเนินการได้โดยลำพัง ที่ขัดแย้งกัน สถานการณ์นี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าที่เศรษฐกิจนอกยูโรโซนที่เล็กกว่าเผชิญ เช่น สหราชอาณาจักร ซึ่งสามารถ "พิมพ์เงิน" เพื่อจ่ายเจ้าหนี้และบรรเทาความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งทางเลือกดังกล่าวไม่อาจกระทำได้ในกรณีรัฐอย่างฝรั่งเศส โดย "การพิมพ์เงิน" หน่วยเงินของประเทศนั้นจะมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับคู่ค้า (ยูโรโซน) ทำให้การส่งออกถูกลง ซึ่งโดยหลักการแล้วทำให้ดุลการค้าดีขึ้น เพิ่มจีดีพีและมีรายได้จากภาษีอากรสูงขึ้นเมื่อวัดในรูปตัวเงิน[53] ยิ่งไปกว่านั้น ในทางกลับกัน สินทรัพย์ที่ถือในสกุลเงินซึ่งได้ลดค่าลงทำให้ผู้ถือประสบความสูญเสีย ตัวอย่างเช่นเมื่อถึงปลาย พ.ศ. 2554 หลังอัตราการแลกเปลี่ยนตกลง 25% และเงินเฟ้อสูงขึ้น 5% นักลงทุนยูโรโซนในสเตอร์ลิง ซึ่งติดกับอัตราแลกเปลี่ยนยูโร ได้รับมูลค่าการจ่ายเงินหนี้นี้คืนลดลงประมาณ 30%[54]

การสูญเสียความเชื่อมั่น

ราคาสวอปการผิดนัดชำระหนี้ของบางประเทศยุโรปตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 ถึงกันยายน พ.ศ. 2554 แกนตั้งเป็นอัตราหมื่นละ (basis point) ซึ่งระดับ 1,000 หมายถึง ต้องใช้เงิน 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ คุ้มครองหนี้ 10 ล้านดอลล่าร์สหรัฐเป็นเวลาห้าปี

ก่อนหน้าการลุกลามของวิกฤตการณ์ ทั้งผู้วางระเบียบและธนาคารต่างสันนิษฐานว่า หนี้สาธารณะจากยูโรโซนนั้นปลอดภัย ธนาคารมีการถือครองพันธบัตรจากเศรษฐกิจอ่อนแอกว่าอยู่มาก เช่น กรีซ ซึ่งเสนอค่าธรรมเนียมพิเศษเล็ก ๆ และดูเหมือนยังมีสภาพดีอยู่เท่า ๆ กัน

หากเมื่อวิกฤตการณ์ลุกลามขึ้น ก็เป็นที่ประจักษ์ว่าพันธบัตรกรีซ และอาจรวมถึงพันธบัตรประเทศอื่นด้วย ให้ความเสี่ยงสูงกว่ามาก การรู้เห็นการขาดแคลนข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของหนี้สาธารณะยุโรปเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนของธนาคารที่มีรายได้มากจากการจัดจำหน่ายพันธบัตร[55] การสูญเสียความเชื่อมั่นนั้นสังเกตได้จากราคาสวอปการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความคาดหวังของตลาดเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือด้านการเงินของประเทศ (ดูกราฟ)

ยิ่งไปกว่านั้น นักลงทุนมีความสงสัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของผู้วางนโยบาย ที่จะยับยั้งวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว เพราะหลายประเทศซึ่งใช้เงินสกุลยูโรมีทางเลือกนโยบายการเงินน้อยกว่ามาก (เช่น ประเทศเหล่านี้ไม่สามารถพิมพ์เงินในสกุลของตนเพื่อจ่ายผู้ถือหนี้ได้) ทางแก้บางอย่างต้องอาศัยความร่วมมือหลายประเทศ และธนาคารกลางยุโรปมีอาณัติควบคุมเงินเฟ้อแต่ไม่มีอาณัติการจ้างงาน ซึ่งขัดกับธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งมีอาณัติทั้งสอง ตามข้อมูลของ ดิอีโคโนมิสต์ วิกฤตการณ์นี้ "เป็นวิกฤติการเมืองมากพอ ๆ กับทางเศรษฐกิจ" และเป็นผลของข้อเท็จจริงที่ว่าพื้นที่ยูโรไม่ได้รับการสนับสนุนจากสินส่วนสถาบัน (และพันธบัตรลูกหนี้ร่วมคู่) ของรัฐ[50]

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เอสแอนด์พีกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของประเทศระยะยาวแก่ 15 สมาชิกยูโรโซนไว้ที่ "เฝ้ามองความน่าเชื่อถือ" (CreditWatch) โดยแสดงเจตนาลดระดับ เอสแอนด์พีเขียนเช่นนี้เนื่องจาก "ความเครียดเกี่ยวกับระบบจากห้าปัจจัยที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ 1) สภาวะการปล่อยสินเชื่อที่รัดกุมขึ้นทั่วยูโรโซน, 2) ส่วนชดเชยความเสี่ยง (risk premium) ที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดต่อประเทศยูโรโซนจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งบางประเทศที่ปัจจุบันถูกจัดให้อยู่ในระดับ "AAA", 3) ความไม่ลงรอยกันต่อเนื่องในหมู่ผู้วางนโยบายยุโรป ว่าจะรับมือกับวิกฤตความเชื่อมั่นของตลาดฉับพลันอย่างไร และ ในระยะยาว ว่าจะประกันการบรรจบกันทางเศรษฐกิจ การเงินและภาษีที่ดีกว่าในบรรดาสมาชิกยูโรโซนอย่างไร, 4) ระดับความเป็นนี้ภาครัฐและครัวเรือนที่สูงทัวพื้นที่ยูโรโซนอันกว้างใหญ่, และ 5) ความเสี่ยงการถดถอยทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นในยูโรโซนโดยรวมใน พ.ศ. 2555 ขณะนี้ เราคาดหวังว่าปริมาณการผลิตจะลดลงปีหน้าในประเทศอย่างสเปน โปรตุเกสและกรีซ แต่ปัจจุบันเรากำหนดความเป็นไปได้ 40% ที่ปริมาณการผลิตจะลดลงในยูโรโซนทั้งหมด"

ใกล้เคียง

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549 วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975 วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป http://greecesodiousdebt.anthempressblog.com/ http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601010&si... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601068&si... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601087&si... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601087&si... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601087&si... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601092&si... http://www.businessinsider.com/henry-blodget-greec... http://www.businessweek.com/news/2010-02-23/merkel... http://www.businessweek.com/news/2010-04-20/greek-...