การสร้างความเห็นพ้อง ของ วิกิพีเดีย:ความเห็นพ้อง

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: วิกิพีเดีย:การระงับข้อพิพาท

ผู้เขียนที่รักษาทัศนคติเป็นกลาง แยกแยะกับเรื่องส่วนตัวและมีอารยะปกติสามารถบรรลุความเห็นพ้องในบทความได้ผ่านกระบวนการที่อธิบายข้างต้น กระนั้น บางทีอาจพบทางตันไม่ว่าเพราะไม่สามารถหาเหตุที่สมเหตุสมผลในการระงับข้อพิพาทหรือเพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายใช้อารมณ์ หรือมุ่งมั่นกับการเอาชนะข้อโต้แย้ง ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะการระงับข้อพิพาทที่จัดการได้ยาก ร่วมกับคำอธิบายกระบวนการทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการที่อาจช่วยได้

ในหน้าคุย

ในการตัดสินความเห็นพ้อง ให้พิจารณาจากคุณภาพของการให้เหตุผล ประวัติเป็นมาของวิธีได้มาซึ่งความเห็นพ้องนั้น ข้อคัดค้านของผู้ไม่เห็นด้วย และนโยบายและแนวปฏิบัติที่มีอยู่เดิม คุณภาพของการให้เหตุผลสำคัญกว่าว่าความเห็นนั้นเป็นมุมมองข้างน้อยหรือข้างมาก การให้เหตุผล "ฉันไม่ชอบ" หรือ "ฉันชอบ" ไม่มีน้ำหนักโดยสิ้นเชิง

ให้สงวนหน้าคุยของบทความไว้สำหรับอภิปรายแหล่งข้อมูล ความสนใจของบทความและนโยบาย หากการแก้หนึ่งถูกคัดค้าน หรือน่าจะถูกคัดค้าน ผู้เขียนควรใช้หน้าคุยเพื่ออธิบายว่าเหตุใดการเพิ่ม เปลี่ยนหรือลดนั้นช่วยปรับปรุงบทความและสารานุกรมโดยรวม อาจสันนิษฐานได้ว่ามีความเห็นพ้องหากไม่มีผู้ใดคัดค้านการเปลี่ยนแปลง ผู้เขียนที่เพิกเฉยต่อการอภิปรายหน้าคุยแต่ยังแก้ไขหรือย้อนในเนื้อความที่พิพาท หรือปิดกั้นการอภิปราย ย่อมมีความผิดฐานแก้รบกวนและย่อมถูกมาตรการบังคับ และผู้อื่นสามารถแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อให้มีมาตรการต่อผู้ใช้นั้นได้

ทั้งนี้ ไม่อาจสันนิษฐานความเห็นพ้องได้เนื่องจากผู้เขียนไม่ตอบการอภิปรายหน้าคุยในกรณีที่ได้เข้าร่วมแล้วเสมอไป

เป้าหมายของการอภิปรายสร้างความเห็นพ้องคือการระงับข้อพิพาทในวิถีที่สะท้อนเป้าหมายและนโยบายของวิกิพีเดีย พร้อมกับทำให้ผู้มีส่วนร่วมไม่พอใจน้อยที่สุดเท่าที่ได้ ผู้เขียนที่มีทักษะทางสังคมดีและทักษะการเจรจาดีมีแนวโน้มประสบความสำเร็จมากกว่าผู้ไม่มีอารยะต่อผู้อื่น

โดยการชักชวนความเห็นภายนอก

ปกติเมื่อผู้เขียนสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันในประเด็นหนึ่ง ๆ ได้ และการอภิปรายหน้าคุยล้มเหลว วิกิพีเดียมีกระบวนการที่สถาปนาไว้เพื่อดึงดูดผู้เขียนภายนอกเพื่อให้ความเห็น มักมีประโยชน์เพื่อแก้ไขทางตันที่ไม่ซับซ้อนและสุจริตใจ เพราะผู้เขียนที่ไม่เกี่ยวข้องสามารถนำมาซึ่งทัศนะใหม่ ๆ และสามารถช่วยผู้เขียนที่เกี่ยวข้องให้เห็นข้อประนีประนอมที่ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วยตนเองไม่ได้ ทรัพยากรหลักมีดังนี้

ความเห็นบุคคลที่สาม (3O)บุคคลภายนอกที่เป็นกลางจะให้คำแนะนำที่ไม่ผูกมัดในข้อพิพาทนั้น สงวนไว้สำหรับกรณีที่มีคู่พิพาทสองคนกระดานประกาศประชาคม (RfC)วางประกาศที่ใช้ภาษาเป็นกลางและเป็นทางการในหน้าคุยของบทความเพื่อเชิญชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมซึ่งจะมีการรวมเข้าสู่กระดานประกาศสภากาแฟการแจ้งข้อพิพาทด้วยคำที่เป็นกลางในที่นี้อาจช่วยดึงดูดผู้เขียนเพิ่มเติมที่อาจให้ความช่วยเหลือได้

การอภิปรายดังกล่าวหลายที่จะเกี่ยวข้องกับการหยั่งเสียง (poll) ในทางใดทางหนึ่ง แต่ความเห็นพ้องจะตัดสินจากคุณภาพของการให้เหตุผล (ไม่ใช่เพียงนับเสียงข้างมากอย่างเดียว) การหยั่งเสียงควรถือเป็นการอภิปรายอย่างหนึ่งไม่ใช่การออกเสียง (vote) การให้เหตุผลที่มีคำอธิบายจุดยืนโดยใช้นโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียเป็นที่ตั้งจะได้รับน้ำหนักสูงสุด

การแทรกแซงของผู้ดูแลระบบและชุมชน

ข้อพิพาทบางกรณีเป็นข้อพิพาทส่วนบุคคลหรือข้อพิพาททางอุดมการณ์ ไม่ใช่เพียงความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับเนื้อหาเท่านั้น และอาจต้องการการแทรกแซงของผู้ดูแลระบบหรือชุมชุนโดยรวม ผู้ดูแลระบบจะไม่วินิจฉัยเรื่องเนื้อหา แต่อาจแทรกแซงเพื่อบังคับใช้นโยบาย (เช่น นโยบายชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่) หรือเพื่อกำหนดมาตรการบังคับต่อผู้เขียนที่รบกวนกระบวนการความเห็นพ้อง บางทีการขอให้ผู้ดูแลระบบช่วยจัดการผ่านทางหน้าคุยของบทความนั้น ๆ ก็เพียงพอแล้ว เพราะผู้ดูแลระบบมักมีหน้าที่เฝ้าดูอยู่จำนวนมากจึงมีโอกาสที่ผู้ดูแลระบบอาจพบเห็นและตอบสนอง อย่างไรก็ดี ทรัพยากรอันเป็นที่ยอมรับสำหรับทำงานร่วมกับผู้เขียนที่ไม่ยอมอ่อนข้อให้กันมีดังนี้

กระดานประกาศแจ้งความของผู้ดูแลระบบ (ANI) และหน้าแจ้งผู้ดูแลระบบทั่วไป (AN)ทั้งสองเป็นกระดานประกาศสำหรับผู้ดูแลระบบ เป็นหน้าที่มีความเคลื่อนไหวสูงและควรใช้แต่น้อย ใช้ AN สำหรับปัญหาที่ต้องการให้ผู้ดูแลระบบรับทราบแต่ไม่ต้องการปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยพลัน ใช้ ANI สำหรับปัญหาเร่งด่วน อย่าใช้หากไม่จำเป็น

ข้อผิดพลาด

มักพบข้อผิดพลาดของผู้เขียนทั่วไปขณะกำลังสร้างความเห็นพ้องดังนี้

  • การอภิปรายนอกวิกิ: โดยทั่วไปเราคัดค้านการอภิปรายในเว็บไซต์อื่น เว็บฟอรัม แชต อีเมล เป็นต้น นอกโครงการ และจะไม่นำมาพิจารณาเมื่อตัดสินความเห็นพ้องในวิกิ บางกรณี การสนทนานอกวิกิอาจก่อให้เกิดข้อกังขาและความหวาดระแวง การอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียเกือบทั้งหมดควรจัดในวิกิพีเดียเพื่อให้ผู้เข้าร่วมทุกคนเห็นได้
  • การใช้หุ่นเชิด: ความพยายามใด ๆ ในการรวบรวมผู้มีส่วนร่วมในการอภิปรายของชุมชุนที่มีผลทำให้การอภิปรายนั้นมีอคติถือว่าไม่เหมาะสม แม้การเชิญชวนบุคคลเข้าร่วมการอภิปรายเพื่อให้ได้วิจารณญาณและการให้เหตุผลใหม่ ๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่การเชิญชวนเฉพาะบุคคลที่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบต่อมุมมองใดมุมมองหนึ่ง หรือการเชิญชวนบุคคลในทางที่จะทำให้ความเห็นของพวกเขาในประเด็นนั้น ๆ มีอึคิถือว่ายอมรับไม่ได้ การใช้บุคคลที่สอง ("หุ่นเชิด") เพื่อมีอิทธิพลต่อความเห็นพ้องเป็นสิ่งต้องห้ามเด็ดขาด อนุญาตให้ส่งสารที่ให้สารสนเทศและเป็นกลางต่อป้ายประกาศหรือผู้เขียนใด ๆ ในวิกิพีเดียได้ แต่การกระทำที่อาจถูกตีความอย่างสมเหตุสมผลได้ว่าพยายาม "ยัดเยียดกล่องเลือกตั้ง" หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจขัดขวางกระบวนการสร้างความเห็นพ้องถือว่าเป็นการแก้ไขที่รบกวน
  • การแก้ไขที่สร้างข้อพิพาท: การเสาะแสวงเป้าหมายทางบรรณาธิการอย่างก้าวร้าวต่อเนื่องถือว่าเป็นการรบกวน และควรเลี่ยง ผู้เขียนควรฟัง ตอบสนองและร่วมมือกันเพื่อสร้างบทความให้ดีขึ้น ผู้เขียนที่ปฏิเสธให้เกิดความเห็นพ้องใด ๆ ยกเว้นความเห็นที่ตนยืนกรานเท่านั้น และผู้ประวิงเวลาไม่มีที่สิ้นสุดเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น เสี่ยงให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการความเห็นพ้อง
  • การตระเวนถาม การตระเวนหาผู้ดูแลระบบ และการโฆษณาชักจูง: การยกประเด็นเดิม ๆ ในกระดานประกาศและหน้าคุยหลายที่ หรือแจ้งผู้ดูแลระบบหลายคน หรืออย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำ ๆ ไม่เป็นประโยชน์ต่อการหาและบรรลุความเห็นพ้อง คำที่ใช้ในป้ายประกาศและหน้าคุยจะต้องเขียนให้เป็นกลางที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องและความเห็นเพิ่มเติมที่เป็นกลาง ถ้ามีหลายประเด็น การยกแต่ละประเด็นในหน้าที่ถูกต้องอาจสมเหตุสมผล แต่ในกรณีนั้นปกติควรให้ลิงก์เพื่อแสดงว่าคุณยกปัญหานั้นขึ้นที่ใดจึงจะดีที่สุด

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา