วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น

ในวิกิพีเดีย ความโดดเด่น เป็นการตัดสินว่าหัวเรื่องใดควรมีบทความแยกต่างหาก สารสนเทศบนวิกิพีเดียต้องสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ หากไม่สามารถหาแหล่งข้อมูลบุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือซึ่งกล่าวถึงหัวเรื่องได้แล้ว หัวเรื่องนั้นก็ไม่ควรมีบทความต่างหาก มโนทัศน์ความโดดเด่นของวิกิพีเดียใช้มาตรฐานนี้เพื่อเลี่ยงการสร้างบทความโดยไม่เลือก (indiscriminate inclusion) หัวเรื่องบทความและรายชื่อต้องมีความโดดเด่น หรือ "ควรแก่การรู้จัก" (worthy of notice) การตัดสินว่าหัวเรื่องหนึ่ง ๆ โดดเด่นไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับชื่อเสียง ความสำคัญ หรือความนิยมอย่างเดียว ดังที่จะมีอธิบายต่อไปสันนิษฐานได้ว่าหัวเรื่องที่เป็นไปตามแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไปด้านล่างและไม่ถูกตัดออกภายใต้สิ่งที่ไม่ใช่วิกิพีเดียเขียนเป็นบทความของตัวเองได้ นอกจากนี้ เนื้อหาบางประเภทมีหลักเกณฑ์เฉพาะหัวเรื่องตามที่ปรากฏบนกล่องด้านขวามือ ก็ให้ยึดทั้งแนวปฏิบัติในหน้านี้กับแนวปฏิบัติเฉพาะหัวเรื่องควบคู่กันไป หากพิจารณาแล้ว หัวเรื่องนั้นไม่ควรมีบทความของตน ให้รวมเข้ากับหัวเรื่องอื่นแทนแนวปฏิบัตินี้เป็นเพียงกรอบพิจารณาว่าหัวเรื่องใดเหมาะแก่การแยกเป็นบทความหรือรายชื่อใหม่ ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมเนื้อหาของบทความหรือรายชื่อ สำหรับนโยบายวิกิพีเดียด้านเนื้อหานั้น ได้แก่มุมมองที่เป็นกลาง การพิสูจน์ยืนยันได้ งดงานค้นคว้าต้นฉบับ อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย และชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา