การอัปโหลดภาพ ของ วิกิพีเดีย:นโยบายการใช้ภาพ

รูปแบบ

  • ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ แผนที่ภูมิศาสตร์การเมือง ธง และภาพอื่นๆที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ควรอัปโหลดในรูปแบบ SVG โดยเป็นรูปเวกเตอร์ ภาพที่มีลักษณะเป็นพื้นที่สีแบบง่ายๆ ขนาดใหญ่ต่อเนื่องกัน ควรจะใช้รูปแบบ PNG
  • ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ แผนที่ภูมิศาสตร์การเมือง ธง และภาพอื่นๆที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ที่ใช้เป็นการใช้งานโดยชอบธรรม ควรใช้รูปแบบ PNG
  • ภาพถ่ายและภาพที่มีความลึกของสีแบบภาพถ่าย ควรใช้รูปแบบ JPEG
  • ภาพเคลื่อนไหวที่ใช้ในบรรทัด ควรใช้รูปแบบ GIF
  • เสียงเพลงและวีดิทัศน์ ควรใช้รูปแบบ Ogg/Theora
  • ภาพหน้าจอ ควรใช้รูปแบบ PNG หรือ JPEG ขึ้นอยู่กับลักษณะของภาพนั้น ๆ

ขนาดของไฟล์ที่อัปโหลด

ไฟล์ที่อัปโหลดจะต้องมีขนาดไม่เกิน 20 เมกะไบต์ ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิที่วิกิพีเดียใช้สามารถปรับขนาดภาพโดยอัตโนมัติได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องปรับขนาดของภาพด้วยตัวคุณเอง การอัปโหลดภาพที่มีความละเอียดสูงทำให้สามารถนำสื่อของวิกิพีเดียไปใช้ได้กว้างขึ้น เช่น นำไปใช้ในการตีพิมพ์

สำหรับงานลายเส้น โดยเฉพาะที่คุณวาดเอง อาจจะดีกว่าถ้าคุณปรับขนาดของภาพด้วยตัวคุณเองและใช้ในบทความ เนื่องจากว่าการปรับขนาดอัตโนมัติอาจสร้างภาพที่มีขนาด (จำนวนไบต์) สูงกว่าหรือมีคุณภาพแย่ลง กรณีนี้ไฟล์ภาพ SVG อาจเป็นประโยชน์

ชื่อไฟล์

การตั้งชื่อไฟล์นั้นอาจตั้งด้วยอักษรไทย หรืออักษรละติน (อักษรภาษาอังกฤษ) แต่การใช้อักษรไทยหรืออักขระพิเศษต่าง ๆ อาจส่งผลต่อผู้ใช้บางคนในการดาวน์โหลดภาพ อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการใช้งานได้ง่าย

การตั้งชื่อไฟล์ควรมีความหมายเฉพาะตัวที่บรรยายภาพนั้นในระดับหนึ่ง ไม่ควรตั้งชื่อยาวเกินไป ไม่ควรตั้งชื่อไฟล์ที่ไม่สื่อความหมายของภาพ อาทิ ลำดับเลขของภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล สัญลักษณ์/ตัวเลข/ตัวอักษรที่ไม่มีความหมายใด ๆ รวมถึงชื่อที่สะกดผิด (กรณีหลังสามารถแจ้งผู้ดูแลให้เปลี่ยนเป็นชื่อที่เหมาะสมได้) ข้อควรระวังคือ อักษรละตินตัวเล็กและใหญ่นั้นมีผลทำให้ชื่อต่างกัน เช่น Thailand.PNG นั้นต่างกับ Thailand.png แนะนำว่าคุณควรตั้งส่วนของชนิดไฟล์ด้วยอักษรตัวเล็กทั้งหมด นอกจากนี้เครื่องหมายอันเดอร์สกอร์ (_) และเว้นวรรค ( ) ที่ปรากฏในชื่อไฟล์มีความหมายเหมือนกัน เมื่อนำภาพไปใส่บทความสามารถใช้แทนกันได้

คุณสามารถตั้งชื่อไฟล์เหมือนกับภาพที่มีอยู่แล้วได้ หากคุณต้องการใช้ภาพที่อัปโหลดใหม่แทนภาพเดิม เช่น ภาพเดิมที่มีคุณภาพดีขึ้น หรือภาพที่มีแสดงสิ่งที่ต้องการสื่อชัดเจนขึ้น การอัปโหลดทับภาพเดิมจะทำให้ผู้ใช้คนอื่นสามารถเปรียบเทียบสองภาพได้ง่าย ไม่ต้องเปลี่ยนภาพในบทความ และไม่ต้องลบภาพเก่าทิ้ง อย่างไรก็ตาม ภาพที่มีรูปแบบไฟล์ต่างกันไม่สามารถทับกันได้

สารสนเทศที่ต้องมี

  • ป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ของไฟล์
  • คำอธิบาย: หัวข้อของภาพ ควรอธิบายว่าภาพเชื่อมโยงกับบทความที่จะใช้อย่างไร และสารสนเทศเพื่อการระบุอื่นซึ่งไม่ครอบคลุมตามจุดนำด้านล่าง ตัวอย่างเช่น ภาพบุคคลที่ถ่ายในงานสาธารณะมักระบุงานและวันที่จัดงานนั้น (ต่างจากคำบรรยายใต้ภาพ (caption) หรือข้อความทางเลือก (alt-text) และอาจละเอียดกว่าสองอย่างนี้)
  • แหล่งที่มา: ผู้ทรงลิขสิทธิ์ของภาพหรือยูอาร์แอลของหน้าเว็บที่มาของภาพ
    • สำหรับภาพที่มาจากอินเทอร์เน็ต ยูอาร์แอลของหน้าเอชทีเอ็มแอลที่มีภาพจะดีกว่ายูอาร์แอลสำหรับภาพอย่างเดียว
    • สำหรับภาพที่มาจากหนังสือ ระบุเลขหน้าและสารสนเทศบรรณานุกรมเต็ม (ผู้ประพันธ์ ชื่อหนังสือ เลข ISBN เลขหน้า วันที่ลิขสิทธิ์ สารสนเทศผู้พิมพ์ ฯลฯ) จะดีที่สุด
    • สำหรับภาพที่สร้างเอง ให้ระบุ "ภาพถ่ายเอง" หรือ "ภาพสร้างเอง" (นอกเหนือจากป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ที่เหมาะสม เช่น {{self}} หรือ {{PD-self}})
  • ผู้ประพันธ์: ผู้สร้างเดิมของภาพ (โดยเฉพาะถ้าเป็นคนละคนกับผู้ทรงลิขสิทธิ์) หากอัปโหลดภาพโดยการอนุญาตให้ผู้สร้าง ควรให้สารสนเทศติดต่อด้วย
  • การอนุญาต: ผู้ใด หรือกฎหมายหรือนโยบายใดอนุญาตให้โพสต์บนวิกิพีเดียด้วยป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ภาพที่เลือก
  • วันที่สร้างภาพ (ถ้ามี) ให้ระบุวันเดือนปีให้ครบดีกว่าระบุแต่ปี
  • สถานที่ที่สร้างภาพ (ถ้าใช้ได้และหาได้) สามารถระบุเป็นลองติจูดและละติจูดที่มาจากจีพีเอส
  • รุ่นอื่นของไฟล์นี้บนวิกิพีเดีย เช่น ตัดส่วนภาพ (crop) หรือไม่ตัดส่วนภาพ รีทัช (retouch) หรือไม่รีทัช
  • เหตุผลการใช้ (จำเป็นเฉพาะภาพไม่เสรี) ต้องการเหตุผลไม่เสรีแยกสำหรับการใช้ภาพแต่ละครั้งในวิกิพีเดียภาษาไทย รายละเอียดสิ่งที่จำเป็นของเหตุผลไม่เสรีอธิบายในรายละเอียดในหน้าเนื้อหาไม่เสรี

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา