ประวัติ ของ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์_มหาวิทยาลัยรังสิต

ในระยะแรกเปิดสอนหลักสูตรเภสัชศาตรบัญฑิต เป็นหลักสูตร 5 ปี โดยนักศึกษาจะศึกษาเพื่อการเป็นเภสัชกรในช่วง 4 ปีแรกของหลักสูตร และศึกษากระบวนวิชาทางเลือก ให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทาง ตลอดจนฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในทางเลือกในชั้นปีที่ 5 และได้มีการปรับปรุงหลักสูตรอีกหลายครั้ง คือ หลักสูตรเภสัชศาสตร์ปีการศึกษา 2542 ประกอบด้วย 232 หน่วยกิต (ไตรภาค), 2544 ประกอบด้วย 186 หน่วยกิต (ทวิภาค), 2546, 2547 และ 2548 ตามลำดับ[1] และในปีการศึกษา 2545 วิทยาลัยเภสัชศาสตร์เคยได้รับอนุมัติให้เปิดหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ขึ้นอีก 1 หลักสูตร (ปัจจุบันหลักสูตรนี้ปิดไปแล้ว และได้เปิดหลักสูตรบัณฑิตศึกษาอีกครั้งในปีการศึกษา 2555)

สภาเภสัชกรรมได้เริ่มมีบทบาทในการควบคุมการผลิตเภสัชกรมากขึ้น โดยได้กำหนดให้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป เฉพาะหลักสูตรเภสัชศาสตร์ที่เปิดสอน 6 ปี เท่านั้นที่จะได้รับการอนุมัติจากสภาเภสัชกรรมให้สอบใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้ ทำให้คณะฯ ต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตจากเดิมที่เป็นหลักสูตร 5 ปี ให้เป็นหลักสูตร 6 ปี ในปีการศึกษา 2552 คือหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2552 (Doctor of Pharmacy Program)[1] และมีการปรับปรุงหลักสูตร 6 ปีอีกหลายครั้ง

วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ยกฐานะจากคณะเภสัชศาสตร์เป็นวิทยาลัยเภสัชศาสตร์ เมื่อ มิถุนายน พ.ศ. 2561[2]

ได้ผลิตเภสัชกรรุ่นแรกออกไปในปี 2535 จำนวน 41 คน จนถึงปัจจุบันได้ผลิตเภสัชกรไปแล้วรวม 24 รุ่น มีจำนวนทั้งสิ้น 2,926 คน[1]

ใกล้เคียง