หลักสูตร ของ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์_มหาวิทยาลัยรังสิต

วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ทำการเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

ระดับปริญญาตรี

ในปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรจากเดิมที่ใช้เวลาศึกษา 5 ปี (เภสัชศาสตรบัณฑิต) เปลี่ยนเป็น 6 ปี (หลักสูตรการบริบาลทางเภสัชกรรม) ดังนั้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป จะมีนักศึกษา 2 หลักสูตร เมื่อผลิตนักศึกษารหัส 51 จบหลักสูตร (5 ปี) แล้ว หลักสูตรการศึกษาก็จะเหลือเพียงหลักสูตรเดียวคือ หลักสูตร 6 ปี

1) หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (Bachelor of Pharmacy Program) (หลักสูตร 5 ปี)

นักศึกษารหัส 51 จะเป็นรุ่นสุดท้ายของหลักสูตรนี้

ชื่อปริญญา

  • ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรบัณฑิต
  • ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Pharmacy
  • อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.บ.
  • อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): B.Pharm.
2) หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม (Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care) (หลักสูตร 6 ปี)

สำหรับนักศึกษารหัส 52 เป็นต้นไป

ชื่อปริญญา

  • ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรบัณฑิต (การบริบาลทางเภสัชกรรม)
  • ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Pharmacy (Pharmaceutical Care)
  • อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม)
  • อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): Pharm.D. (Pharmaceutical Care)
ในปีการศึกษา 2555 หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (Doctor of Pharmacy Program) เปิดเพิ่มอีกสาขาคือ สาขาเภสัชศาสตร์3) หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ (Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Sciences) (หลักสูตร 6 ปี)

สำหรับนักศึกษารหัส 55 เป็นต้นไป

ชื่อปริญญา

  • ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรบัณฑิต (เภสัชศาสตร์)
  • ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Pharmacy (Pharmaceutical Sciences)
  • อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.บ. (เภสัชศาสตร์)
  • อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): Pharm.D. (Pharmaceutical Sciences)

ในปีการศึกษา 2556 ได้ปรับปรุงหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (Doctor of Pharmacy Program) สาขาเภสัชศาสตร์ เป็นสาขาเภสัชอุตสาหการ

4) หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชอุตสาหการ (Doctor of Pharmacy Program in Industrial Pharmacy) (หลักสูตร 6 ปี)

สำหรับนักศึกษารหัส 56 เป็นต้นไป

ชื่อปริญญา

  • ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรบัณฑิต (เภสัชอุตสาหการ)
  • ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Pharmacy (Industrial Pharmacy)
  • อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.บ. (เภสัชอุตสาหการ)
  • อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): Pharm.D. (Industrial Pharmacy)

ระดับปริญญาโท

เปิดสอนในปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป[1]

1) หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (Master of Pharmacy Program in Pharmacy)

ชื่อปริญญา

  • ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชศาสตร์)
  • ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Pharmacy (Pharmacy)
  • อักษรย่อ (ภาษาไทย): ภ.ม. (เภสัชศาสตร์)
  • อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.Pharm. (Pharmacy)

ในปีการศึกษา 2556 ได้เปิดสอนอีกหลักสูตร คือ

2) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพฤกษเวชศาสตร์ (Master of Science Program in Phytomedicine)

(ปิดหลักสูตรแล้วตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป)[3]

ชื่อปริญญา

  • ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พฤกษเวชศาสตร์)
  • ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Science (Phytomedicine)
  • อักษรย่อ (ภาษาไทย): วท.ม. (พฤกษเวชศาสตร์)
  • อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.Sc. (Phytomed)

ในปีการศึกษา 2560 ได้เปิดสอนอีกหลักสูตร คือ

3) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ (Master of Science Program in Pharmacy)[4]

ชื่อปริญญา

  • ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชศาสตร์)
  • ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Science (Pharmacy)
  • อักษรย่อ (ภาษาไทย): วท.ม. (เภสัชศาสตร์)
  • อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.Sc. (Pharmacy)

ระดับปริญญาเอก

เปิดสอนในปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (Doctor of Philosophy Program in Pharmacy)[5]

ชื่อปริญญา

  • ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เภสัชศาสตร์)
  • ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Philosophy (Pharmacy)
  • อักษรย่อ (ภาษาไทย): ปร.ด. (เภสัชศาสตร์)
  • อักษรย่อ (ภาษาอังกฤษ): Ph.D. (Pharmacy)


ใกล้เคียง