การจัดตั้งชมรมวิทยุอาสาสมัคร ของ วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย

ต่อมามีการจัดตั้ง "ชมรมวิทยุอาสาสมัคร" ในปี พ.ศ. 2524 ขึ้น โดย พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น และได้มีการจัดให้มีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 ซึ่งในครั้งนั้นมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานเป็น "VR" (ย่อมาจาก Volunteer Radio : นักวิทยุอาสาสมัคร) โดยเริ่มจาก VR001 ไปเรื่อยๆ มีผู้สมัครสอบประมาณ 500 คน และสอบผ่าน 311 คน[ต้องการอ้างอิง] ผู้ที่สอบได้จะเรียกตัวเองว่า นักวิทยุอาสาสมัคร

แต่เป็นที่ทราบกันดีว่านักวิทยุอาสาสมัครได้ใช้ความถี่วิทยุสมัครเล่น ช่วยเหลือสังคม และงานต่างๆ ของทางราชการตลอดมา ซึ่งก็เป็นครั้งแรกที่ประชาชนทั่วไปได้มีสิทธิใช้งานความถี่วิทยุ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้า การเมือง และศาสนา ซึ่งหลังจากนั้นคณะกรรมการชมรม ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบของสมาคม ภายใต้ชื่อ "สมาคมวิทยุอาสาสมัคร" มีชื่อภาษาอังฤษว่า "Voluntary Radio Association (VRA)" ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมนักวิทยุอาสาสมัคร ช่วยเหลือสังคมและสาธารณประโยชน์แลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคนิคระหว่างสมาชิกและพัฒนาวิชาการด้านวิทยุคมนาคม โดยการปฏิบัติการติดต่อสื่อสารของสมาชิกทั้งหมดไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือศาสนา และไม่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับการเมือง

ใกล้เคียง

วิทยุ วิทยุเสียงอเมริกา วิทยุสมัครเล่น วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟ วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย วิทยุติดตามตัว วิทยุการบินแห่งประเทศไทย วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย วิทยุครอบครัวข่าว วิทยุเสียงเกาหลี