การเป็นนักวิทยุสมัครเล่นและใบอนุญาต ของ วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย

สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย จะต้องผ่านการอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นจาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง_กิจการโทรทัศน์_และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก่อนจึงจะสามารถใช้งานความถี่วิทยุของนักวิทยุสมัครเล่นได้ ซึ่งนักวิทยุสมัครเล่นของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  1. ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
  2. ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง
  3. ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง

ซึ่งในแต่ระดับขั้นนั้นมีสิทธิที่จะใช้งานความถี่วิทยุสมัครเล่นและกำลังส่งที่แตกต่างกัน สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงนั้น มีการถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (HS1A) เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น และในปี พ.ศ 2559 สำนักงาน กสทช ได้เปิดให้มีสารสอบเพื่อรับใบประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงในวันที่ 18 มิถนายน 2559 มีผู้สอบผ่านจำนวน 155 คน

สิทธิต่างๆ ของนักวิทยุสมัครเล่นประเทศไทย

เมื่อสอบผ่านหรือได้รับประกาศนียบัตรรับรองการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นแล้ว จะมีสิทธิการใช้งานความถี่ที่กำหนดให้ใช้เฉพาะนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น ซึ่งมีหลายย่านความถี่ตามข้อกำหนดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และใช้กำลังส่งได้สูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดแต่ละลำดับชั้นของใบอนุญาต สำหรับประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและกำกับดูแลกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2557 สิทธิต่างๆ เป็นดังตาราง

ใบอนุญาตความถี่กำลังส่งสูงสุด
นักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น

28.000 - 29.700 MHz

ไม่เกิน 100 วัตต์
144.000 - 147.000 MHzไม่เกิน 60 วัตต์
435.000 - 438.000 MHz *เฉพาะภาครับเท่านั้น
นักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง135.7 – 137.8 kHz1 วัตต์
1.800 - 1.825 MHz

1.8.25 - 2.000 MHz *

3.500 - 3.540 MHz

3.540 - 3.600 MHz *

7.000 - 7.200 MHz

10.100 - 10.150 MHz

14.000 - 14.350 MHz

18.068 - 18.168 MHz

21.000 - 21.450 MHz

24.890 - 24.990 MHz

28.000 - 29.700 MHz

50.000 - 54.000 MHz **

144.000 - 147.000 MHz

430.000 - 440.000 MHz *

1,240 – 1,300 MHz *

2,300 – 2,450 MHz ***

ไม่เกิน 200 วัตต์

24 – 24.05 GHz

47 – 47.2 GHz

77.5 – 78 GHz

134 – 136 GHz

248 – 250 GHz

ไม่เกิน 10 วัตต์
นักวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง135.7 – 137.8 kHz1 วัตต์
1.800 - 1.825 MHz

1.8.25 - 2.000 MHz *

3.500 - 3.540 MHz

3.540 - 3.600 MHz *

7.000 - 7.200 MHz

10.100 - 10.150 MHz

14.000 - 14.350 MHz

18.068 - 18.168 MHz

21.000 - 21.450 MHz

24.890 - 24.990 MHz

28.000 - 29.700 MHz

50.000 - 54.000 MHz **

144.000 - 147.000 MHz

430.000 - 440.000 MHz *

1,240 – 1,300 MHz *

1,000 วัตต์
2,300 – 2,450 MHz ***

3,400 – 3,500 MHz *

5,650 – 5,850 MHz *

10.00 – 10.50 GHz *

100 วัตต์
24.00 – 24.05 GHz

24.05 – 24.25 GHz *

47.00 – 47.20 GHz

76.00 – 77.50 GHz *

77.50 – 78.00 GHz

78.00 – 79.00 GHz *

79.00 – 81.00 GHz *

122.25 – 123.00 GHz *

134.00 – 136.00 GHz

136.00 – 141.00 GHz *

241.00 – 248.00 GHz *

248.00 – 250.00 GHz

10 วัตต์

หมายเหตุ

* กิจการรอง ไม่ได้รับการคุ้มครองการรบกวน ถ้าเกิดการรบกวนกับกิจการหลัก ให้หยุดใช้ความถี่ทันที

** ร่างตารางความถี่แห่งชาติ 2560 เชิงอรรถประเทศไทย T-P9

*** ร่างตารางความถี่แห่งชาติ 2560 เชิงอรรถประเทศไทย T-IMT

ใกล้เคียง

วิทยุ วิทยุเสียงอเมริกา วิทยุสมัครเล่น วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟ วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย วิทยุติดตามตัว วิทยุการบินแห่งประเทศไทย วิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย วิทยุครอบครัวข่าว วิทยุเสียงเกาหลี