วิธภาษา

ในทางภาษาศาสตร์สังคม วิธภาษา (อังกฤษ: variety) หรือบางครั้งเรียกว่า ภาษณ์ (lect) คือรูปแบบเจาะจงรูปแบบหนึ่ง ๆ ของภาษาหรือกลุ่มภาษาซึ่งแตกต่างจากรูปแบบอื่นด้วยปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้ใช้ เช่น ที่อยู่อาศัย ลักษณะทางสังคม หรือวัตถุประสงค์ในการใช้ วิธภาษาอาจหมายรวมถึงภาษา (language), ภาษาย่อย (dialect), ทำเนียบภาษา (register), วัจนลีลา (style) หรือรูปแบบอื่น ๆ ของภาษารวมทั้งวิธภาษามาตรฐาน[1] การใช้ศัพท์ วิธภาษา เพื่ออ้างถึงรูปแบบที่แตกต่างกันนั้นเป็นการเลี่ยงการใช้ศัพท์ ภาษา (ซึ่งหลายคนเชื่อมโยงกับภาษามาตรฐานเพียงอย่างเดียว) และศัพท์ ภาษาย่อย (ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับวิธภาษาไม่มาตรฐานซึ่งถูกมองว่ามีเกียรติภูมิหรือ "ถูกต้อง" น้อยกว่าวิธภาษามาตรฐาน)[2] นักภาษาศาสตร์กล่าวถึงทั้งวิธภาษามาตรฐานและวิธภาษาไม่มาตรฐาน (หรือท้องถิ่น)[3] ส่วนศัพท์ ภาษณ์ ใช้เลี่ยงปัญหาความคลุมเครือในการตัดสินว่าวิธภาษาสองวิธภาษาเป็นคนละภาษากันหรือเป็นภาษาย่อยของภาษาเดียวการแปรในระดับคลังศัพท์ เช่น สแลง (slang) หรือสแลงเฉพาะกลุ่ม (argot) มักได้รับการวิเคราะห์โดยเชื่อมโยงกับวัจนลีลาหรือระดับความเป็นทางการ (ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าทำเนียบภาษา) โดยเฉพาะ แต่บางครั้งก็มีผู้นำมาอภิปรายในฐานะวิธภาษาเช่นกัน[1]