ภาษาย่อย

ศัพท์ ภาษาย่อย[1] (อังกฤษ: dialect) มีที่ใช้แตกต่างกันสองลักษณะเพื่อกล่าวถึงปรากฏการณ์ทางภาษาศาสตร์ที่แตกต่างกันสองประเภท ดังนี้คุณลักษณะที่แยกภาษาย่อยต่าง ๆ ออกจากกันสามารถพบได้ในคลังศัพท์ (วงศัพท์) และไวยากรณ์ เช่นเดียวกับในการออกเสียง (สัทวิทยา ซึ่งรวมถึงสัทสัมพันธ์) ในกรณีที่สามารถสังเกตความต่างที่เด่นชัดได้ในการออกเสียงเพียงอย่างเดียวหรือเป็นส่วนใหญ่ อาจใช้ศัพท์ สำเนียง ซึ่งมีความเจาะจงมากกว่าแทนศัพท์ ภาษาย่อย วิธภาษาประเภทอื่น ๆ ได้แก่ ภาษาเฉพาะวงการ (ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปในแง่คลังศัพท์), สแลง, ภาษาชนบท (patois), ภาษาผสมแก้ขัด และสแลงเฉพาะกลุ่ม (argot) ส่วนรูปแบบการพูดรูปแบบหนึ่ง ๆ ที่แต่ละบุคคลใช้ เรียกว่า เอกัตภาษณ์ (idiolect)