ประวัติความเป็นมา ของ วิธีเฮเลนโดรอน

Doron เริ่มพัฒนาวิธีการนี้เมื่อเธอศึกษาบทเรียนไวโอลินสำหรับลูกของเธอ ทำให้ โดรอน สนใจกับทฤษฎีการสอนไวโอลินของ Dr.Suzuki เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นทฤษฎีการเรียนดนตรีที่สัมพันธ์กับการเรียนภาษา

ดร. ซูซูกิ ตระหนักว่าเด็กทุกคนบนโลกสามารถพูดภาษาแม่ของตนเองได้อย่างง่ายๆ เขาจึงประยุกต์หลักนี้เข้ามาใช้ในการสอนดนตรี ดร. ซูซูกิ เรียกวิธีการนี้ว่า วิธีภาษาแม่ "the mother-tongue approach"[3] ในฐานะนักภาษาศาสตร์และนักการศึกษา โดรอนก็เข้าใจถึงความสำคัญในการสอนภาษาอังกฤษ ด้วยหลักการเดียวกันกับ ดร.ซูซูกิ ที่จะเน้นเกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้ปกครองที่ต้องคอยกระตุ้น ให้กำลังใจและเสริมแรง เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ฟังเสียงไวโอลินซ้ำจนสามารถเรียนรู้ได้เองในที่สุด ซึ่งโดรอนก็ได้นำหลักการเดียวกันนี้มาใช้เช่นกัน[4] นอกจากนี้การสอนของ Glenn Doman ที่รู้จักกันในนามของ วิธี Doman และสถาบันของเขา ที่เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของศักยภาพมนุษย์ ได้มีอิทธิพลต่อโดรอน ในการสรั้างวิธีเฮเลนโดรอน นี้ขึ้นมาด้วย วิธี Doman นำมาปรับใช้กับธีวิธีเฮเลนโดรอนในด้านที่เกี่ยวข้องกับการเร่งการพัฒนาการของเด็ก[5] และการเพิ่มพูนความเฉลียวฉลาดของทารก[6]

ในปี 1985 โดรอน ต่อเติมและปรับปรุงการสอนภาษาอังกฤษของเธอ โดยใช้เทปที่ทำขึ้นเอง บทกลอน และนิทาน สอนให้กับเด็กจากประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ วิธีเฮเลนโดรอนนี้ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการจำลองสภาพแวดล้อมของการใช้ภาษาอังกฤษ และ เลียนแบบกระบวนการทางธรรมชาติของการเรียนรู้ภาษาแม่ วิธีการนี้ได้ถูกนำไปใช้กับเด็กแพร่หลายทั่วโลก รวมถึง ประเทศไทย[7]

ใกล้เคียง

วิธีเดลฟาย วิธีเหลือเศษสูงสุด วิธีเว็บสเตอร์/แซ็งต์-ลากูว์ วิธีเลขสี่มุม วิธีเฮเลนโดรอน วิธีการของเพทริค วิธีกงดอร์แซ วิธีตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบ วิธีการเข้าถึงหลายช่องทาง วิธีการครอส-เอนโทรปี