ความต้องการระบบ ของ วินโดวส์_11

ความต้องการระบบของวินโดวส์ 11 มีส่วนคล้ายกับวินโดวส์ 10 แต่วินโดวส์ 11 จะรองรับสถาปัตยกรรมแบบ 64 บิต เท่านั้น อันได้แก่สถาปัตยกรรม เอกซ์86-64 หรือ เออาร์เอ็ม 64 และได้ตัดการสนับสนุนสถาปัตยกรรม 32 บิต อันได้แก่สถาปัตยกรรม ไอเอ-32 และ เออาร์เอ็มวี 7 ออกไป ไม่รองรับโปรแกรมไบออสแบบดั้งเดิม และกำหนดว่าต้องใช้ UEFI ควบคู่กับซีเคียวบูต และ TPM 2.0[30][31][32][33] ในทำนองเดียวกัน ระบบปฏิบัติการเรียกแรมและหน่วยความจำมากขึ้น นั่นคือต้องมีแรมขั้นต่ำ 4 กิกะไบต์ และพื้นที่จัดเก็บข้อมูล 64 กิกะไบต์ และ S mode จะรองรับเฉพาะเวอร์ชันโฮมเท่านั้น ไม่รองรับในเวอร์ชันอื่น ๆ อีกต่อไป[34] โดยในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ไมโครซอฟท์ได้เปิดเผยว่าหน่วยประมวลผลที่รองรับการใช้งานร่วมกับวินโดวส์ 11 จะประกอบไปด้วย อินเทล คอร์ เจนเนอเรชั่นที่ 8 (คอฟฟี่เลค แคนนอนเลค และวิสกี้เลค) ขึ้นไป, เอเอ็มดี เซนพลัส (ยกเว้น ไรเซน เจนเนอเรชันที่ 1), และควอลคอมม์ สแน็ปดรากอน 850 ขึ้นไป[35] ทั้งนี้ ไมโครซอฟท์ อยู่ระหว่างการพิจารณาให้วินโดวส์ 11 รองรับหน่วยประมวลผล อินเทล คาบี้ เลค และเอเอ็มดี เซน ซึ่งใช้มาตรฐาน TPM เวอร์ชัน 1.2 ด้วยเช่นกัน หลังจากที่ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้ว่าการตัดการรองรับซีพียูสองรุ่นนี้ออกไป จะทำให้อายุขัยคอมพิวเตอร์ในรอบ 3 ปีสั้นลง

การรองรับ TPM 2.0 มีขึ้นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของระบบ ป้องกันการโจมตีในระดับเฟิร์มแวร์และฮาร์ดแวร์ รวมถึงการโจมตีจากช่องโหว่ซีโร่เดย์เป็นต้น รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยให้กับการยืนยันตนทางชีวภาพผ่านวินโดวส์ ฮัลโหล การเข้ารหัสฮาร์ดดิสก์และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลด้วยบิตล็อกเกอร์ และเพื่อเพิ่มความมั่นใจในความเป็นส่วนตัวของข้อมูลซึ่งเป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาวินโดวส์ 11 ตั้งแต่ต้น โดย TPM ที่รองรับมีทั้งแบบชิปติดตั้งแยกบนเมนบอร์ดสำหรับเครื่องที่ไม่รองรับตั้งแต่ต้น และแบบที่ผนวกมากับหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่ ๆ ที่สามารถเปิดใช้งานได้ผ่านโปรแกรม UEFI โดยตรง ทั้งนี้ไมโครซอฟท์ยังอนุญาตให้ผู้ผลิตสามารถออกคอมพิวเตอร์รันวินโดวส์ 11 โดยไม่ต้องติดตั้งหรือเปิดใช้งาน TPM ตั้งแต่โรงงานได้ตามปกติ แต่ตัวเครื่องจะต้องได้รับการอนุมัติจากไมโครซอฟท์ก่อนเสมอ

อนึ่ง ไมโครซอฟท์อนุญาตให้ติดตั้ง วินโดวส์ 11 เวอร์ชันอินไซเดอร์ บนคอมพิวเตอร์ที่ไม่รองรับ TPM 2.0 โปรแกรม UEFI รวมถึงซีเคียวบูตเพื่อใช้ในการทดสอบได้ แต่เมื่อถึงเวอร์ชันจริงคอมพิวเตอร์รุ่นดังกล่าวจะไม่สามารถรับอัปเดตรุ่นทดลองอินไซเดอร์ใหม่ ๆ หรือเปลี่ยนเป็นรุ่นเสถียรได้อีกต่อไป

แหล่งที่มา

WikiPedia: วินโดวส์_11 http://www.microsoft.com/en-us/windows/windows-11-... https://tieba.baidu.com/p/7405731991 https://www.digitaltrends.com/computing/11-windows... https://github.com/Microsoft/Windows-Driver-Framew... https://github.com/dotnet/winforms https://gizmodo.com/windows-11-leaks-indicate-a-dr... https://docs.microsoft.com/en-us/windows-hardware/... https://docs.microsoft.com/en-us/windows/compatibi... https://docs.microsoft.com/en-us/windows/whats-new... https://www.microsoft.com/Licensing/servicecenter/...