คุณสมบัติ ของ วินโดวส์_11

ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้และการออกแบบ

บิลด์รุ่นพัฒนาของวินโดวส์ 11 ที่หลุดออกมานั้นแสดงให้เห็นว่ามีการอัปเดตส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ให้เป็นไปตามแนวทางระบบฟลูเอนต์ดีไซน์ของไมโครซอฟท์ โดยมีลักษณะโปร่งแสง เงา และขอบโค้งให้พบได้อยู่ทั่วไปในระบบ[24] มีการออกแบบเมนูเริ่มต้นใหม่ ซึ่งเลิกการใช้งานลักษณะแถบด้านขวาไป และทาสก์บาร์ยังถูกปรับให้มีลักษณะทันสมัยและอยู่ตรงกลางเป็นค่าเริ่มต้นด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้สามารถเลือกปรับให้ทาสก์บาร์ชิดซ้ายดังเดิมได้[17][25] คุณสมบัติทาสก์วิวที่ถูกเพิ่มเข้ามาในวินโดวส์ 10 ได้รับการออกแบบแบบรีเฟรช การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ในระบบ ได้แก่ ไอคอนระบบใหม่ แอนิเมชัน เสียง และวิดเจ็ต[26][27] โดยส่วนมากของส่วนต่อประสานและเมนูเริ่มต้นนั้นได้รับแรงบัลดาลใจอย่างมามาจากวินโดวส์ 10 เอ็กซ์ที่เพิ่งถูกยกเลิกไป[25]

วินโดวส์ 11 นั้นยังมีฟอนต์ใหม่ด้วย นั่นคือ Segoe UI Variable ซึ่งเป็นฟอนต์ที่ถูกออกแบบให้มีสเกลที่ดีขึ้นและรองรับกับหน้าจอที่มี DPI สูงในยุคใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ฟอนต์ Segoe UI เดิมไม่รองรับ[28]

วิดเจ็ต

วินโดวส์ 11 มีแถบวิดเจ็ตที่สามารถเข้าถึงได้โดยการคลิกที่ปุ่มวิดเจ็ตที่อยู่บนทาส์กบาร์ ตัววิดเจ็ตจะแสดงข่าวสาร กีฬา สภาพอากาศ และหุ้นจากเอ็มเอสเอ็น ในรุ่นนักพัฒนาที่หลุดออกมานั้น ไม่สามารถลากวิดเจ็ตหรือจัดเรียงวิดเจ็ตใหม่ได้ และการเข้าถึงแถบวิดเจ็ตนั้นจำเป็นต้องลงชื่อเข้าใช้คอมพิวเตอร์ด้วยบัญชีของไมโครซอฟท์ ซึ่งคุณสมบัตินี้มาแทนที่เมนูข่าวสารและความสนใจบนทากส์บาร์ ซึ่งปรากฏในวินโดวส์ 10 รุ่นล่าสุด[29][25]

วินโดวส์ ซับซิสเท็ม ฟอร์ แอนดรอยด์

วินโดวส์ 11 จะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งแอปพลิเคชันแอนดรอยด์ลงในระบบได้โดยตรง โดยรองรับแอปพลิเคชันจาก แอมะซอน แอปสโตร์ผ่านไมโครซอฟท์ สโตร์ ตัวติดตั้งแอปพลิเคชันบนวินโดวส์จากแอมะซอน แอปสโตร์ และการติดตั้งแอปพลิเคชันโดยตรงบนวินโดวส์ 11 ด้วยไฟล์แพ็คเกจของแอนดรอยด์ คุณสมบัตินี้จะทำงานบนแอนดรอยด์ซับซิสเท็ม ซึ่งถูกพัฒนาต่อยอดขึ้นมาจาก ลินุกซ์ซับซิสเท็ม ที่ใช้งานอยู่เดิมในวินโดวส์ 10 ร่วมกับการใช้งานแอนดรอยด์ โอเพนซอร์ส โปรเจ็กต์ หรือ AOSP จนเกิดเป็นสภาพแวดล้อมของแอนดรอยด์ในวินโดวส์ 11 โดยตรง

ราคาการอัปเกรด

การอัปเกรดแบบอัตโนมัติจะอนุญาตให้คอมพิวเตอร์ที่มีอายุไม่เกิน 4 ปี และใช้วินโดวส์ 10 รุ่น 21H1 ได้สิทธิ์อัปเกรดไปวินโดวส์ 11 โดยอัตโนมัติผ่านอัปเดตในช่วงเดือนมกราคม 2022 แต่หากคอมพิวเตอร์ไม่สามารถอัปเกรดได้ ก็สามารถอัปเกรดได้ด้วยตนเองภายใต้ใบอนุญาตแบบดิจิทัลเดิมที่ใช้งานร่วมกับวินโดวส์ 10 แต่อาจจะได้ความสามารถไม่เต็มที่เท่าคอมพิวเตอร์ที่สามารถรันวินโดวส์ 11 ได้สมบูรณ์

ทั้งนี้การอัปเกรดจะเป็นการอัปเกรดแบบใช้รุ่นไหนรุ่นนั้น เช่นหากใช้ วินโดวส์ 10 โฮม จะได้รับอัปเกรดเป็น วินโดวส์ 11 โฮม หรือหากใช้ วินโดวส์ 10 โปร ก็จะได้รับอัปเดตเป็น วินโดวส์ 11 โปร เช่นกัน ทั้งนี้ เอส โหมด จะมีให้ใช้งานในเวอร์ชันโฮมเท่านั้น นั่นคือหากอัปเกรดจาก วินโดวส์ 10 เอส จะถูกอัปเกรดให้เป็น วินโดวส์ 10 โฮมเอส แต่หากใช้งาน วินโดวส์ 10 โปรเอส จะไม่สามารถอัปเกรดได้นอกจากต้องออกจาก เอส โหมด กลับเป็น วินโดวส์ 10 โปร ก่อนถึงจะสามารถอัปเกรดได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: วินโดวส์_11 http://www.microsoft.com/en-us/windows/windows-11-... https://tieba.baidu.com/p/7405731991 https://www.digitaltrends.com/computing/11-windows... https://github.com/Microsoft/Windows-Driver-Framew... https://github.com/dotnet/winforms https://gizmodo.com/windows-11-leaks-indicate-a-dr... https://docs.microsoft.com/en-us/windows-hardware/... https://docs.microsoft.com/en-us/windows/compatibi... https://docs.microsoft.com/en-us/windows/whats-new... https://www.microsoft.com/Licensing/servicecenter/...