การเรียนการสอนในประเทศไทย ของ วิศวกรรมเคมี

มีการเรียนการสอนครั้งแรกโดยภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากวิสัยทัศน์ของ ศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ ที่เห็นว่าอุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมีจะเป็นอุตสาหกรรมที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาประเทศ ถึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งภาควิชาเคมีเทคนิคขึ้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ซึ่งนับได้ว่าเป็นภาควิชาแรกที่จัดการเรียนการสอนสาขาวิศวกรรมเคมีในประเทศไทย โดยส่งอาจารย์ไปเรียนต่อในระดับปริญญาโทและเอกสาขาวิศวกรรมเคมีที่สหรัฐอเมริกา และร่างหลักสูตรมาจากหลักสูตรต้นแบบของอเมริกาโดยใช้ชื่อหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาเคมีวิศวกรรม (Bachelor of Science in Chemical Engineering)

โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2516 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเคมี เปิดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมเคมีเป็นแห่งที่สองในประเทศไทยโดยใช้ชื่อหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) เป็นแห่งแรก ซึ่งต่อมา ในปีพ.ศ. 2517 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงได้ก่อตั้งภาควิชาวิศวกรรมเคมี เปิดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมเคมีเป็นแห่งที่สามของประเทศไทย และเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้หลักสูตรของญี่ปุ่น และต่อมาในปีพ.ศ. 2518 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้จัดการเรียนการสอนสาขาวิศวกรรมเคมีเป็นแห่งที่สี่ของประเทศไทย

สำหรับหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิศวกรรมเคมี แห่งแรกในประเทศไทย เปิดสอนโดย ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนในปี พ.ศ. 2519และ หลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมเคมี แห่งแรกในประเทศไทย เปิดสอนโดย ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนในปี พ.ศ. 2532

สาขาวิชาสำคัญด้านเทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์ประยุกต์
สารสนเทศ และ การสื่อสาร
อุตสาหกรรม
การทหาร
คหกรรมศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์
สุขภาพ และ ความปลอดภัย
การขนส่ง
บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล

ใกล้เคียง

วิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ วิศวกรรมการบินและอวกาศ วิศวกรรมกำลังไฟฟ้า วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์